ย้อนไทม์ไลน์ กำเนิดซับเวย์ (Subway) ในไทย ใครเป็นเจ้าของกันแน่!
ย้อนไทม์ไลน์ กำเนิดซับเวย์ (Subway) ในไทย ใครเป็นเจ้าของกันแน่! โพสต์เดียวสรุปจบ ก่อนมีดราม่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพ - ยกเลิกแฟรนไชส์?
จากดราม่า ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแฟรนไชส์สัญชาติอเมริกา ถูกร้องค้าร้องเรียนถึงคุณภาพของหารที่ไม่ดีเหมือนเก่า จนทาง Subway Thailand ต้องออกมาชี้แจงเรื่องราวดังกล่าว ล่าสุดผู้ใช้เฟซบุ๊ก Pan Meesook ได้ออกมาโพสต์เรื่อง ย้อนไทม์ไลน์ กำเนิดซับเวย์ (Subway) ในไทย ใครเป็นเจ้าของกันแน่!
ย้อนไทม์ไลน์ ซับเวย์ (Subway)
- ปี 2003
กำเนิดซับเวย์ (Subway) ในไทยร้านแรกสาขาสีลม โดยบริษัทฟู้ด ฟอร์เวิร์ด จำกัด โดยนาย ชวนา ธนวริทธิ์ เป็นเจ้าของ หลังจากนั้นก็มีสาขาอื่นงอกตามมา โดยระบบตอนนั้นยังเป็นการเปิด franchisee แยกของใครของมัน ขึ้นตรงกับ Subway International BV เองเลย รวมๆ มี 20 กว่าบริษัทที่เปิด
- ปี 2019
บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด ที่นายธนากร ธนวริทธิ์ เป็นเจ้าของ เริ่มเป็นผู้ถือสิทธิ์ Master Franchise Subway ไทย และก็รับเป็นตัวแทน ดูแลแฟรนไชส์ 20 กว่าเจ้า ที่เปิดมาก่อน
- ปี 2019 – 2024
อะเบาท์ แพสชั่น มี CEO นางสาวเพชรรัตน์ อุทัยสาง (อดีต CMO McDonald Thai) มาบริหาร Subway จนมีเพิ่มเป็น 150 กว่าสาขาในไทย
- 19 ก.ค. 2022
นาวสาวเพชรรัตน์ แถลงออกสื่อในฐานะ CEO ว่า ”อะเบาท์ แพสชั่น ได้รับสิทธิ 10 ปี จาก กุมภาพันธ์ 2022 - 2032 และมีแนวโน้มจะได้ต่ออีก 10 ปี หลังจากนั้น โดยมีแผนจะขยาย 70-80 สาขาต่อปี“
ข่าวจาก Bangkok post 19 ก.ค. 2022
- 29 ก.พ. 2024
บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ประกาศเป็นเจ้าของ Master Franchise Subway แต่เพียงผู้เดียว ผ่านบริษัทลูก (กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด) ที่มีบริษัทลูกอีกต่อ (โกลัค จำกัด) และมีนางสาวเพชรรัตน์ ร่วมถือหุ้นด้วย โกลัคมี PTG ถือหุ้น 70% ผ่านกาแฟพันธุ์ไทย บริษัท ไลฟ์สไตล์ฟู๊ด (ที่มีชื่อ เพชรรัตน์ อุทัยสาง เป็นกรรมการ) 25%,เพชรรัตน์ อุทัยสาง ถือหุ้นที่เหลืออีก 5%
- 19 มี.ค. 2024
อะเบาท์ แพสชั่นกรุ๊ป ประกาศออกสื่อ ยืนยันตัวเป็นผู้ถือสิทธิ์ Master Franchise Q4 2024: เริ่มมีคนบ่นถึงคุณภาพ Subway ในไทย
- 3 พ.ย. 2024
เพจ Subway Thailand ที่ตอนนี้กลายเป็นของโกลัค / PTG ประกาศว่ามี Subway 105 สาขา ที่โดนยกเลิก franchise ตั้งแต่ 26 ก.ค. 2024
Fun facts:
- PTG จ่าย 35 ล้านซื้อแฟรนไชส์ Subway เป็นการเขียนข่าว โปรโมทที่ไม่ถูกต้อง 35 ล้านบาท เป็นเพียงสัดส่วน 70% จากทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ของบริษัทโกลัค เท่านั้น ไม่ใช่มูลค่าสัญญา
- สิทธิ์ Master Franchise แรกสุดผูกอยู่กับบริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด ไม่ใช่ตัวบุคคลใดๆ คนนึงที่จะย้ายมันได้
- หน้าเว็บแถลงข่าว Subway Global ยังไม่มีการพูดถึงการเปลี่ยนสิทธิ์ ข่าวล่าสุดที่พูดถึงไทยคือต้นปี 2022 ประกาศว่าอะเบาท์แพสชั่น เป็นผู้ถือ
- เจ้าของ อะเบาท์ แพสชั่น นาย ธนากร ธนวริทธิ์ เป็นเจ้าของเดียวกับ ALL (บริษัท ออลล์ อินสไปร์) ที่เพิ่งถูกตัดสินล้มละลาย ไปเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2024 นี้
- ไม่เคยพบชื่อ เพชรรัตน์ อุทัยสาง ในรายชื่อกรรมการของ อะเบาท์แพสชั่น
- ทุกสาขา Subway ใน ปตท. (คู่แข่ง PTG) โดนยกเลิก
- 23 ต.ค. 2024 CEO Subway ใหญ่ เดินทางมาพบปะ เยี่ยมชมบริษัทโกลัค จำกัด ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของสิทธิ์ master franchise แต่เพียงผู้เดียว
ตอนนี้มองละสงสารคนที่ซื้อ Franchise จากอะเบาท์ แพสชั่น เพราะสัญญามันเป็นปี สาขาที่เปิดก็ไม่ได้เปิดพร้อมกัน ไม่มีทางหมดสัญญาพร้อมกัน 105 สาขาแน่ สิทธิ Franchise ยังอยู่เขาก็เลยกล้าเปิดต่อ ในชื่อ Subway ไง
my take : อะเบาท์ แพสชั่น จะยื้อสิทธิ์ไว้แล้วเปิดร้านต่อก็เรื่องของคุณ แต่ควรรักษาคุณภาพเดิม ที่ทำมาด้วยไม่ใช่โดนตัดซัพพลาย แล้วเนียนหาของที่ต่ำกว่าเดิมมาบริการลูกค้า ไม่รู้ว่าทางนั้นมีปัญหาอะไรกับ Subway Intl BV เขาเลยไปคุยกับเจ้าใหม่ แต่ถ้าจะยื้อไว้ ก็ให้ลูกแฟรนไชส์ทั้งหลายทำให้ดีเหมือนเดิม มีเมนู ซอสครบๆ ซะ
โกลัค,PTG ถ้าตัวเองได้ master franchise ถูกต้องแล้ว ก็ควรประกาศออกสื่อแต่เดือน ก.ค. ที่ 105 สาขาโดนตัดสิทธิ์ และโดนตัดซัพพลายแล้ว ไม่ใช่ให้ลูกค้างง ว่าทำไมคุณภาพตก ในฐานะผู้บริการแฟรนไชส์นับว่า สอบตกมากที่ยอมให้ร้านนอกสังกัดใช้ชื่อตัวเองอยู่ 3 เดือน ทั้งคู่จะตีกันยังไงก็เชิญเลย แต่ผู้บริโภคต้องมาก่อน อย่าให้ลูกค้าต้องมาซวยได้กินของไม่ดีเพราะพวกแกตีกัน