สัตวแพทย์มาเอง ชี้การวางยาสลบในหมา แมว ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ใกล้ชิด
สัตวแพทย์มาเอง! ชี้การวางยาสลบในหมา - แมว ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ดูแลใกล้ชิด อาจเกิด "ภาวะปอดติดเชื้อ" อันตรายถึงตาย
กลายเป็นดราม่าสนั่นโลกออนไลน์ สำหรับละคร แม่หยัว ที่ก่อนหน้านี้ได้รับความนิยมจนเป็นไวรัล แต่แล้วก็มีแฮชแท็ก #แม่หยัวep5 และแฮชแท็ก #แบนแม่หยัว เนื่องจากมีชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์ถึงฉากหนึ่งในละคร ที่นำน้องแมวตัวสีดำมาวางยาสลบ แล้วน้องแมวมีอาการกระตุก เกร็ง ขย้อน ซึ่งชาวเน็ตมองว่าเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตสัตว์
9 พ.ย. 2567 สัตวแพทย์หญิงภสดล อนุรักษ์โอฬาร (หมอผึ้ง) เจ้าของช่องยูทูป "หมอหมาหมอแมว" ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางยาสลบให้ สุนัข แมว อย่างปลอดภัยว่า ต้องมีการเตรียมตัวในการวางยาสุนัขและแมว ซึ่งทั้งหมาและแมวมีความใกล้เคียงกันมาก โดยส่วนสำคัญอยู่ที่สุขภาพของสัตว์
ในบางตัวต้องมีการตรวจประเมินหัวใจ X-ray ในช่องอก อย่างตัวที่มีความซีเรียสมากๆ จะต้องมีการตรวจหัวใจ และตรวจอย่างละเอียดด้วยการเอคโค่หัวใจ เพื่อดูการทำงานของหัวใจเนื่องจากหัวใจกับปอดมีผลต่อการวางยามากๆ โดยก่อนวางยาสลบจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างน้อย 8 - 12 ชั่วโมง ส่วนตัวไหนที่มีน้ำหนักน้อย ก็อาจจะมีการเตรียมตัวน้อยกว่านั้น อาจจะเป็น 4 - 6 ชั่วโมงหรือ 6 - 8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอายุของสัตว์ด้วย
แต่ในทุกเคสต้องมีการเตรียมตัวป้องกันผลกระทบ หลังจากการวางยาที่จะเกิดขึ้นได้ หมอผึ้ง กล่าวว่า สำหรับข้อห้าม ในการวางยาสุนัขและแมวจะเรียกตรงๆ ก็ไม่ถูกต้องนะ อาจจะต้องใช้คำว่าข้อระวังมากกว่า
อย่างเช่นสุนัข แมวที่มีโรคแทรกซ้อน อย่างเช่นโรคหัวใจหรือเรื่องของปอด เรื่องของโรคไต โรคตับที่มีผลต่อการขับยาในเคสเหล่านี้ และในการวางยาสลบหากเป็นปกติไม่ใช่ที่เป็นการผ่าตัดจะต้องมีการเตรียมสภาพของสัตว์ไว้ก่อน เช่นการให้น้ำเกลือรอไว้หนึ่งคืน เพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัดต่อไป
รวมถึงการผ่าตัดบางอย่าง ก็จะต้องมีการเตรียมเลือดหรือเตรียมส่วนประกอบอย่างอื่นด้วย ส่วนบางเคสที่มีผลกระทบที่เกิดขึ้น อาจจะมีอาการชักหลังการผ่าตัด หรือวางยาสลบไปแล้ว อาจจะต้องมีการแอดมิดนานมากขึ้นเป็นประมาณ 12 - 24 ชั่วโมง เพื่อดูอาการอย่างแน่ชัดว่ามีผลแทรกซ้อนหรือไม่?
ส่วนลักษณะการขย้อน หรืออาเจียน ที่เกิดขึ้นที่เกิดจากยาซึมหรือยาสลบ ก็จะมีผลข้างเคียงอยู่แล้ว และจะพบได้บ่อยมากในหลายๆ กลุ่มของตัวยา และการอาเจียนนี่คือตัวสำคัญในการเตรียมงดน้ำ งดอาหาร หากไม่งดน้ำหรืออาหารจะมีอาการเกิดขึ้น 80 - 90% หากไม่มีการเตรียมตัวก็อาจจะมีการไหลย้อนไปลงที่ปอดได้ และเป็นสิ่งที่เรากังวลที่สุดในการวางยาสลบ
เพราะหากเกิดอาการดังกล่าวขึ้น ทางการแพทย์จะเรียกว่าเป็น “ภาวะปอดติดเชื้อ” ปอดอักเสบซึ่งเป็นภาวะที่รักษาได้ยาก ในเคสจำเป็นที่ต้องใช้ยายาสลบกับสุนัขและแมวหลักๆ คือการทำหัตถการ หรือการเย็บแผล การตรวจวินิจฉัย เช่น การส่องกล้องต่างๆ เราจะทำในขณะที่สัตว์ตื่นไม่ได้เลย และที่จะต้องเจอบ่อยๆ คือการผ่าตัดทำหมันต่างๆ หรือ ให้เลือด จำเป็นจะต้องใช้ยาซึมยาสลบ และยากลุ่มที่นิยมใช้ก็คือยาซึมในแมว
เราจะพบว่า ผลจากวางยาคือน้องแมวจะมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง อุณหภูมิลดลง และมีอาการอาเจียนได้ ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยๆ หมอผึ้ง กล่าวเสริมว่า ยาสลบกับยาซึมในบางตัวบางกลุ่มมีการแยกกันอย่างชัดเจน แต่ยังบางตัวก็สามารถนำยาซึมมาเพิ่มโดสให้เป็นยาสลบได้ บางเคสก็จะมีการให้ยาซึมไปก่อน ที่จะแทงน้ำเกลือได้ และโกนขนหรือก่อนที่จะนำไปขึ้นบนโต๊ะผ่าตัดก่อนจะสอดท่อแล้วค่อยให้ยาสลบ
แต่บางแห่งก็จะใช้ยาสลบผ่านทางเส้นเลือด ซึ่งหลังการวางยาสลบจะต้องมีการตรวจการเต้นของหัวใจอุณหภูมิ ความดัน ซึ่งหากยามีมากเกินไป ก็จะเกิดปัญหาได้ มีโอกาสทำให้หมาและแมวเสียชีวิตได้ "
การนำสัตว์เข้ามาฉากในโฆษณาหรือภาพยนตร์ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นกลุ่มสัตว์ที่ถูกฝึกมาแล้ว แต่ถ้าพูดแบบคนไม่มีความรู้ทางด้านโปรดักชั่น การจะใช้ภาพบางฉากเช่น สัตว์นอนตายก็จะน่าใช้เอฟเฟกต์เข้ามาใช้น่าจะเหมาะกว่า ซึ่งถ้าเกิดทำเทคนิคได้ดี คนดูก็จะรับได้ มันยังดีกว่าจะทำให้มีข้อสงสัยว่าจะทำให้สัตว์เกิดอันตราย หรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งคนดูเลือกที่จะดูแบบนั้นมากกว่า
อยากจะให้มองว่าสัตว์เลี้ยงเช่น หมา แมว ก็จะเป็นเหมือนคนๆ หนึ่ง อะไรก็ตามที่สิ่งนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของสัตว์ หรือแม้แต่จะทำให้สัตว์ได้รับบาดเจ็บ ระหว่างถ่ายคนดูก็จะรับไม่ได้ เรามองว่าหากใช้ตัวเองเป็นมาตรฐาน ว่าถ้าเราถูกกระทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดอันตราย เราก็จะรู้สึกไม่โอเคกับสิ่งนั้นเช่นกัน"