แบบไหนถูก ก๋วยจั๊บ หรือ กวยจั๊บ ชาวเน็ตถกนั่นโซเชียล ตกลง กวย หรือ ก๋วย
ถกสนั่นโซเชียล แบบไหนเขียนถูก "ก๋วยจั๊บ" หรือ "กวยจั๊บ" โดย พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ใช้แบบใด กวย หรือ ก๋วย เหมือนกันกับ ก๋วยเตี๋ยว ไหม ทั้งที่ทำมาจากเส้นข้าวเหมือนกัน
กลายเป็นประเด็นสร้างความถกเถียงกันบนโลกโซเชียลอีกครั้ง เมื่อทางเพจ คำไทย ได้ออกมาโพสต์คำที่มักเขียนผิดกัน คำว่า ก๋วยจั๊บ ซึ่งคำที่ถูกต้องจะต้องเขียนว่า กวยจั๊บ จนสร้างข้อถกเถียงกันมากมาย เพราะส่วนใหญ่จะออกเสียงว่า ก๋วย แต่ทำไมถึงเขียนว่า กวย และเหตุใด ถึงไม่เขียนเหมือน ก๋วยเตี๋ยว ที่ใช้คำว่า ก๋วย ได้ ทั้งๆ ที่ทำมาจากเส้นข้าวเหมือนกัน
เริ่มมาจากทีี่ เพจ คำไทย ได้โพสต์ถึงคำที่มักจะใช้ผิดกัน คือ ก๋วยจั๊บ ซึ่งคำที่ถูกต้องจะต้องเขียนว่า กวยจั๊บ พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า กวยจั๊บ คือ ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าหั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ ต้มสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีเครื่องในหมูเป็นต้น
แต่ในขณะที่คำว่า ก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเป็นของกินที่ทำจากแป้งเหมือนกันกลับใช้คำว่า ก๋วย ได้ โดยสามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ ก๊วยเตี๋ยว, ก๋วยเตี๋ยว พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า ก๋วยเตี๋ยว น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นๆ ถ้าลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวแห้ง ถ้าใส่น้ำซุป เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ถ้านำเส้นมาผัด เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวผัด. (จ.).
ภายหลังที่โพสต์นี้ถูกแชร์ออกไป ได้มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์กันสนั่น ซึ่งหลายคนส่วนใหญ่มักจะเขียนคำว่า ก๋วยจั๊บ มากกว่า กวยจั๊บ และบางคอมเมนต์บอกว่า ภาษาดิ้นได้ อยู่ที่การออกเสียง
ล่าสุด "อ.เจษฎ์" รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "ที่มาของคำว่า "กวยจั๊บ" ครับ"
สรุปคือ มาจาก พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ในอดีต ที่เขียน "กวยจั๊บ" แต่เขียน "ก๋วยเตี๋ยว" โดยไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมสมัยนั้นจึงไม่เขียน "ก๋วยจั๊บ" ให้เหมือนกัน ทั้งที่มาจากเส้นข้าวเหมือนกัน ..
... อย่างนี้ ก็แก้สิครับ จะปล่อยทิ้งไว้ให้คนขำ "กวย" กันทำไม
(ภาพ มีคนแคปส่งมาให้)
ข้อมูล : เพจ คำไทย