ข่าว

ยังมียักษ์หลับอีก 2 ! หลังเหตุแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะกาย (คลิป)

ยังมียักษ์หลับอีก 2 ! หลังเหตุแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะกาย (คลิป)

02 เม.ย. 2568

(คลิป) เผย 3 สถานการณ์ "อันตราย" แผ่นดินไหวไทย หลังรอยเลื่อนสะกายตื่นแล้ว ยังมียักษ์หลับอีก 2 นักวิจัยเคยเตือนไว้เมื่อ 20 ปีก่อน

2 เม.ย. 2568 ภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้เปิดเผยข้อมูลเชิงลึก บนเวทีเสวนา ก้าวข้ามธรณีพิโรธ : นวัตกรรม ววน. พลเกมภัยแผ่นดินไหว เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยของไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมาระบุว่า 
ยังมียักษ์หลับอีก 2 ! หลังเหตุแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะกาย (คลิป)

จากกราฟฟิกที่นำเสนอเราจะเห็นว่ามีรอยเลื่อนเต็มไปหมดเลย แต่จากภาพรอยเลื่อนที่เป็นอันตรายคือรอยเลื่อนสีแดง ซึ่งเด่นที่สุดคือรอยเลื่อนสะกาย แต่ของประเทศไทยเราไม่คิดว่าจะมีแผ่นดินไหวตรงกรุงเทพมหานคร หรือแหล่งกำเนิดที่ใหกล้ๆ กรุงเทพฯ แต่เราคิดว่ากรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดไกลๆ และต้องเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆ
 

ยังมียักษ์หลับอีก 2 ! หลังเหตุแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะกาย (คลิป)

ความจริงแล้ว ทีมวิจัยมีการประเมินไว้แล้วเมื่อ 20 ปีก่อน สถานการณ์นี้ก็เป็น 1 ใน 3 สถานการณ์หลักที่เราคิดว่าเป็นอันตราย  แต่พูดไปตอนนั้นก็ไม่มีใครเชื่อ ตอนนี้ไม่ต้องพูดคนก็เชื่อหมดแล้ว เพราะมันเกิดขึ้นไปแล้ว 1 ใน 3  สถานการณ์ 

จากเหตุแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนสกายที่เมียนมา จะมีการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมาก และเมื่อแผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว ความรุนแรงจะลดทอนลงไปเรื่อยๆ คำถามคือแล้วทำไมถึงมาแรงที่กรุงเทพฯ คำตอบคือ กรุงเทพมหานครเป็นแอ่งดินอ่อน นี่คือปัญหา 


ในเชิงวิศวกรรมแผ่นดินไหว จะพบว่ากรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นแอ่งดินอ่อนขนาดยักษ์ จะเพิ่มแรงสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ 3-4 เท่า และเปลี่ยนการสั่นสะเทือนที่ผิวดิน ให้ไม่เหมือนการสั่นสะเทือนปกติ จากปกติแผ่นดินไหวจะสั่นเร็วๆ แต่เหตุการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 28 มี.ค. 2568 ลักษณะการโยกจะโยกอย่างช้าๆ จากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย ต่างจากลักษณะพื้นที่สั่นไหวที่ไม่ใช่ดินอ่อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ตึกสูงรับรู้ความสั่นไหวได้รุนแรงมาก 

จากการเก็บข้อมูลวิจัย พบว่า กทม. เป็นแอ่งดินอ่อนสามารถขยายความรุนแรงจากแผ่นดินไหวระยะไกลได้ ผลกระทบหนักๆ จะอยู่ที่อาคารสูง เพราะมันจะเกิดการสั่นพ้อง เรโซแนนซ์ที่อาคารสูง และจากการประเมิณสถานการณ์ทั้งหมด เราพบว่ามี 3 สถานการณ์น่าเป็นห่วงหวั่นเกิดอันตรายร้ายแรง 


1.แผ่นดินไหวขนาด 7-7.5 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี แนวรอยเลื่อนมาทางกรุงเทพมหานคร (ห่าง กทม.ประมาณ 200 กม.) 
2.แผ่นดินไหวขนาด 8.0-8.2 ที่แนวรอยเลื่อนสะกาย ในเมียนมา (เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิด) 
3.แผ่นดินไหวขนาด 8.5-9 ที่แนวแผ่นเปลือกโลกมุดตัวในทะเลอันดามัน (แนวมุดตัวอารากัน) อยู่ฝั่งตะวันตกของเมียนมา โดยแนวมุดตัวนี้ได้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 หรือมากกว่านี้หลายต่อหลายครั้งในอดีต ครั้งล่าสุดที่เกิดความรุนแรงของแนวมุดตัวนี้ 260 ปีที่แล้ว แต่เราอาจจะต้องรอให้มันครบรอบ วงรอบ มันอาจจะ 400-500 ปี แต่ก็ไม่แน่อาจจะมาเร็วกว่าหรือช้ากว่


ทั้ง 3 สถานการณ์ทีมวิจัยได้ประเมินไว้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่บอกไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นในวงรอบกี่ปี อาจจะกินเวลาวงรอบ 300-400 ปี ซึ่งในช่วงชีวิตคนคนหนึ่ง อาจจะไม่ได้เจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเลย แต่ในที่สุดเหตุการณ์ที่ 2 ก็ได้เกิดขึ้นเมื่อ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ อาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นจากนี้ไปจะเบาลงเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวในสถานการณ์ที่ประเมินไว้อื่นๆ จะไม่เกิดขึ้นอีก ดังนั้นอาคารที่จะสร้างในอนาคต ต้องวางแผนในการสร้างอาคารที่รองรับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว โดยความรุนแรงของแผ่นดินไหวเมื่อ 28 มีนาคมที่ผ่านมา มีขนาดเพียง 1/3 ส่วน ของความรุนแรงที่อาคารรับได้ตามมาตรฐานอาคารปี 2550