ข่าว

อัปเดต ตอบคำถาม ทำไม กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3000 บาท วิธีแก้ไขด่วน

อัปเดต ตอบคำถาม ทำไม กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3000 บาท วิธีแก้ไขด่วน

09 เม.ย. 2568

อัปเดต ตอบคำถาม กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3000 บาท ถูกหักเงินเดือนทุกเดือน ทำไมมียอดค้างชำระ? ไม่ต้องการให้นายจ้างหักเงิน ต้องทำอย่างไร

จากกรณีโลกออนไลน์ มีการแชร์ข้อความจดหมาย กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ส่งถึงนายจ้าง แจ้งให้หักและนำส่งเงินเดือน หรือค่าจ้างของพนักงาน หรือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้กู้ยืม เพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนฯ เป็นรายเดือน โดยที่ผ่านมาผู้กู้ยืมมียอดหนี้ค้างชำระ กองทุนมิได้นำยอดหนี้ค้างชำระ มารวมในการแจ้งหักเงินเดือน และได้มีการแจ้งให้ผู้กู้ยืมชำระยอดค้างด้วยตนเอง

แต่ปัจจุบันกองทุนฯ พบว่ามีพนักงานหรือลูกจ้างบ้างรายในหน่วยงานของท่าน ไม่ได้ชำระยอดค้างด้วยตนเองให้ครบถ้วน ดังนั้น กองทุนฯ จึงจำเป็นต้องใช้สิทธิในการเรียกให้ชำระยอดค้างดังกล่าว โดยกองทุนฯ จะแจ้งหักเงินเดือนเพิ่มอีกรายละ 3,000 บาทต่อเดือน ในทุกบัญชีที่มียอดค้างชำระ นอกเหนือจากจำนวนเงินรายเดือนที่แจ้งหักเงินเดือนในปัจจุบัน กรณียอดค้างชำระน้อยกว่า 3,000 บาท จะเพิ่มจำนวนเงินรายเดือนตามยอดหนี้ค้างชำระ ตัวอย่างเช่น
 

  • กรณีมียอดค้างชำระ 5,000 บาท และงวดปัจจุบันแจ้งหักเงินเดือน 1,000 บาท กองทุนฯ จะแจ้งหักเงินเดือน 1,000+3,000 = 4,000 บาท
  • กรณีมียอดค้างชำระ 2,500 บาท และงวดปัจจุบันแจ้งหักเงินเดือน 1,000 บาท กองทุนฯ จะแจ้งหักเงินเดือน 1,000+2,500 = 3,500 บาท 


มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป จนกว่าผู้กู้ยืมจะชำระยอดหนี้ที่ค้างชำระเสร็จสิ้น หรือได้มีการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับกองทุนฯ เรียบร้อยแล้ว กองทุนฯ จะแจ้งหักเงินเดือนเท่ากับจำนวนเงินที่ได้ตกลงชำระเป็นงวดรายเดือนตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 

อัปเดต ตอบคำถาม ทำไม กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3000 บาท วิธีแก้ไขด่วน

กรณีดังกล่าวสร้างความกังวลใจให้กับผู้กู้จำนวนรายหลาย พยายามติดต่อไปยังกองทุนฯ หลายช่องทาง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ อีกทั้งบางช่วงแอปฯ "กยศ.Connect" รวมไปถึงเว็บไซต์ระบบล่ม ต่อมามีการส่งต่อคำถาม-คำตอบ ที่หลายคนสงสัย กรณีกองทุน ฯ เพิ่มจำนวนหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท (สำหรับผู้กู้ยืม) ดังนี้

อัปเดต ตอบคำถาม ทำไม กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3000 บาท วิธีแก้ไขด่วน


 

คำถาม-คำตอบ (Q&A)

Q : ถูกหักเงินเดือนทุกเดือน ทำไมมียอดค้างชำระ?

A : ยอดค้างชำระหนี้ของผู้กู้ยืมอาจเกิดจาก

  • มียอดค้างชำระหนี้ก่อนการหักเงินเดือน
  • ในระหว่างการแจ้งหักเงินเดือน ท่านมีการขอปรับลดจำนวนการหักเงิน แล้วผู้กู้ยืมไม่ได้ไปชำระส่วนต่างในวันที่ 5 กรกฎาคมของงวดปีนั้น ๆ

ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบข้อมูลการค้างชำระหนี้ได้ด้วยตนเองผ่านทาง Mobile Application "กยศ. Connect"
 

Q : ถ้าไม่ต้องการให้นายจ้างหักเงินตามที่กองทุนฯ แจ้งในเดือนนี้ ต้องทำอย่างไร?

A : ผู้กู้ยืมสามารถเลือกปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้:


1. ดำเนินการขอปรับโครงสร้างหนี้

  • เพื่อลดจำนวนการผ่อนชำระต่อเดือน
  • ขยายระยะเวลาการผ่อน
  • ลดเบี้ยปรับให้ 100%
  • ปลดผู้ค้ำประกัน


โดยกองทุนจะแจ้งจำนวนเงินการหักเงินเดือนตามยอดผ่อนชำระใหม่ ในเดือนถัดจากเดือนที่ผู้กู้ยืมได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว

เช่น ในกรณีที่ท่านทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ภายในเดือนเมษายน 2568 (กลุ่มข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง ให้ดำเนินการภายในวันที่ 20 เมษายน 2568) กองทุนจะแจ้งยอดผ่อนชำระใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2568 ดังนั้น เดือนเมษายน 2568 นี้ ท่านจะถูกหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท เพียง 1 เดือนเท่านั้น

2. ชำระยอดหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น หากผู้กู้ยืมชำระแล้ว ให้ผู้กู้ยืมเงินนำหลักฐานการชำระแจ้งต่อนายจ้าง แล้วให้นายจ้างลบยอดออก 3,000 บาท จากยอดหักเงินเดือนในเดือนเมษายน 2568 ได้

อัปเดต ตอบคำถาม ทำไม กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3000 บาท วิธีแก้ไขด่วน