ข่าว

หมอ เตือน "โรค" สปอโรทริโคซิส จาก แมว ติดต่อสู่คน อันตราย ถึงชีวิต

หมอ เตือน "โรค" สปอโรทริโคซิส จาก แมว ติดต่อสู่คน อันตราย ถึงชีวิต

19 ก.ย. 2565

หมอ เตือน "โรค" สปอโรทริโคซิส เชื้อราใน แมว ติดต่อสู่คน เสี่ยง อันตราย ถึงชีวิต อาการเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่ เช็คที่นี่

วันที่ 19 ก.ย. 65 หมอมนูญ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่าพบผู้ป่วย "โรค" สปอโรทริโคสิส (Sporotrichosis) ที่เกิดจาก เชื้อรา ซึ่งพบในธรรมชาติ เข้าร่างกายทางบาดแผลจากการถูก แมว กัดหรือข่วน หรือถูกหนามธรรมชาติตำ ปีนี้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ พบผู้ป่วยโรคนี้ 3 รายแล้ว โดยเชื้อรา Sporothrix schenckii จะอยู่ในธรรมชาติ มีแหล่งอาศัยอยู่ตามดิน ตามพืช และเปลือกต้นไม้ เข้าร่างกายทางบาดแผลที่ถูกหนามตำหรือใบไม้บาด หรือจากการถูก แมว ที่ป่วยด้วย "โรค" นี้กัดหรือข่วน

ในโพสต์ของ หมอมนูญ มีรายละเอียดว่า "โรค" สปอโรทริโคสิส (Sporotrichosis) เกิดจากเชื้อราซึ่งพบในธรรมชาติ เข้าร่างกายทางบาดแผลจากการถูก แมว กัดหรือข่วน หรือถูกหนามกุหลาบตำ ผู้ป่วยรายแรกเป็นหญิงอายุ 51 ปี ใส่ถุงมือและทำความสะอาด แมว จรจัดที่ป่วยมีแผลตามตัว ถูกเล็บ แมว จิกหลังมือข้างซ้ายทะลุถุงมือทำให้เกิดแผล แมว เสียชีวิตหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ หลังทายาปฏิชีวนะแผลที่มือหาย แต่ 2 สัปดาห์ต่อมาวันที่ 13 พ.ค. 2565 เริ่มสังเกตมีตุ่มแดงที่หลังมือซ้ายไม่เจ็บ มาพบแพทย์ ตรวจร่างกายพบตุ่มแดงขนาด 0.5 ซม.ที่หลังมือข้างซ้าย ตรงกลางมีหนองเล็ก ๆ ต่อมน้ำเหลืองไม่โต แพทย์ใช้เข็มเจาะดูดหนองได้เล็กน้อย ส่งย้อมแบคทีเรีย เชื้อรา พบยีสต์จำนวนมาก (yeast cells) ได้เริ่มยาฆ่าเชื้อรา Itraconazole 100 มก.วันละ 2 ครั้ง วันที่ 23 ก.ค. 65 ผลเพาะเชื้อรา ขึ้นเชื้อรา Sporothrix schenckii กินยา Itraconazole ตั้งแต่ 13 พ.ค.- 16 ก.ย. 65 ในที่สุดแผลแห้งดี หมอมนูญกล่าวต่อว่า ผู้ป่วยรายที่ 2 เกิดจากหนาม กุหลาบ เกี่ยวผิวหนังที่แขนด้านขวาบน ผู้ป่วยรายที่ 3 เลี้ยงแมว แต่ปฏิเสธถูก แมว ข่วนหรือกัด เป็นที่ผิวหนังแขนข้างซ้าย

 

 

ภาพจากเฟซบุ๊ก หมอมนูญ

 

 

แผลผู้ป่วยโรคสปอโรทริโคสิส

อาการของ "โรค" สปอโรทริโคสิส

เริ่มแรกจะเป็นตุ่มขึ้นตามมือ, แขน, เท้า, หรือขา ที่ส้มผัสกับเชื้อก่อน มักเกิดภายใน 20 วัน หลังได้รับเชื้อ อาจเกิดพร้อมกันหลายตุ่ม แล้วค่อย ๆ โตขึ้น ไม่เจ็บ ไม่มีไข้ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกว่าเจ็บป่วย ระหว่างนี้อาจกินเวลาหลายสัปดาห์ จากนั้นตุ่มจะแตกออกกลายเป็นแผลเรื้อรัง มีน้ำเหลืองไหล แผลคงอยู่ได้หลายปี แต่ไม่พบว่ามีการติดต่อจากคนสู่คนทางตุ่มที่แตกนี้ ในระหว่างนี้จะมีตุ่มใหม่เกิดขึ้นไส่ขึ้นไปตามแขนและขา เพราะเชื้อกระจายขึ้นไปทางท่อน้ำเหลือง ผู้ป่วยแทบทุกรายจะจำกัดรอยโรคอยู่แต่เฉพาะที่ผิวหนัง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่กระจายเข้าสู่อวัยวะอื่นในเวลาต่อมา และมักเป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดสุรา หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่พบแล้วว่ากระจายไปได้ ได้แก่ ตา ไซนัส ในช่องปาก กล่องเสียง สมอง และต่อมลูกหมาก

 

 

ตุ่มโรคสปอโรทริโคสิส

 

วิธีการรักษา "โรค" สปอโรทริโคสิส

  • ถ้าเป็นที่ผิวหนังอย่างเดียวสามารถใช้ยา Itraconazole ขนาด 200 มก./วัน รับประทานนาน 3-6 เดือน
  • ถ้าเป็นที่กระดูกหรือข้อต้องรับประทานนานอย่างน้อย 1 ปี ร่วมกับการผ่าตัดเลาะกระดูกที่ตายแล้วออก
  • ถ้าเป็นที่ปอดอาจใช้ Itraconazole กิน หรือ Amphotericin B ฉีด แล้วแต่ความรุนแรง และควรผ่าตัดเอาเนื้อปอดที่เสีย
  • ถ้าเป็นที่สมองหรือแพร่กระจายไปหลายอวัยวะควรใช้ Amphotericin B ฉีดในช่วงแรก หากรอดชีวิตจึงตามด้วย
  • I traconazole ขนาด 200 มก./วัน รับประทานต่อจนครบ 1 ปี
  • ในหญิงมีครรภ์ควรเลื่อนการรักษาออกไปจนคลอดบุตรก่อน (ถ้ารอได้) เพราะยา Itraconazole ไม่ปลอดภัยในคนท้อง

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote   https://www.komchadluek.net/entertainment/524524