ข่าว

"พล.ต.อ.อดุลย์" เปิดเวทีสัมมนา 'กฎหมายแรงงาน" พลิกโฉมทันยุคสู่สากล

"พล.ต.อ.อดุลย์" เปิดเวทีสัมมนา 'กฎหมายแรงงาน" พลิกโฉมทันยุคสู่สากล

28 ก.ย. 2565

"พล.ต.อ.อดุลย์" เปิดเวทีสัมมนา กฎหมายแรงงานไทย พลิกโฉมทันยุคสู่สากล ชี้ ประเทศไทยมีมากถึง 14 ฉบับ จนเกิด "กฎหมายเฟ้อ" สร้างความสับสนได้

เมื่อที่ 28 กันยายน 2565 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา เรื่อง ประมวลกฎหมายแรงงานไทย พลิกโฉมทันยุคสู่สากล เพื่อร่วมกันประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาศึกษา แนวทางการจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานจากทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและวิเคราะห์ แนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณาศึกษาและการทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานในระยะต่อไป และเพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะประกอบการจัดทำรายงานของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา โดยมีภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง นักวิชาการด้าน แรงงาน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย 

พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวว่า เนื่องจากพัฒนาการของสังคมในมิติด้านการทำงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น ในทุกสังคมตั้งแต่อดีตและมีรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย และในขณะเดียวกันภาครัฐก็ได้มีการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแรงงานออกมาใช้บังคับในสังคมเฉพาะเรื่องตามความเหมาะสมในแต่ละยุคสมัยเรื่อยมา ซึ่งการตรากฎหมายประเภทเดียวกัน ใช้บังคับมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจนำไปสู่ การเกิดสภาวะความไร้ระบบระเบียบหรือการมีกฎหมายมากกว่าความจำเป็น

 

ซึ่งในทางวิชาการเรียกว่า "กฎหมายเฟ้อ" ได้ ซึ่งปัจจุบันพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแรงงานกระจัดกระจายอยู่อย่างน้อย ๑๔ ฉบับ ทั้งนี้ การมีกฎหมายประเภทเดียวกันปรากฏอยู่ใน กฎหมายฉบับต่าง ๆ ย่อมเป็นที่มาของปัญหาความไร้ระบบระเบียบของกฎหมาย ไม่สะดวกต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่าย และสิ่งสำคัญที่สุด คือ สภาพดังกล่าวย่อมทำให้ประชาชน ไม่สามารถเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวกและไม่สามารถเข้าใจกฎหมายได้ 

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า การจัดสัมมนาในวันนี้ จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งในการที่คณะกรรมาธิการจะได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างกว้างขวางจากวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ซึ่งล้วนเป็นผู้มีความรอบรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการแรงงานจากทุกภาคส่วน อย่างเปิดกว้างในทุกมิติ เพื่อที่คณะกรรมาธิการจะได้นำข้อมูลต่าง ๆ ไปประกอบการพิจารณาศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานของคณะกรรมาธิการด้วยความละเอียดรอบคอบ มีแนวทางการทำกฎหมายให้เป็นระบบและลดความซ้ำซ้อนของกฎหมาย ให้เป็นไปอย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวของคณะกรรมาธิการ ในระยะต่อไป

 

\"พล.ต.อ.อดุลย์\" เปิดเวทีสัมมนา \'กฎหมายแรงงาน\" พลิกโฉมทันยุคสู่สากล พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว