ข่าว

1 ต.ค.จ่อฟัน "ร้านขายยา" ไม่มีเภสัชกรประจำ โทษหนักถึงพักใช้ เผิกถอนใบอนุญาต

1 ต.ค.จ่อฟัน "ร้านขายยา" ไม่มีเภสัชกรประจำ โทษหนักถึงพักใช้ เผิกถอนใบอนุญาต

29 ก.ย. 2565

1 ต.ค.จ่อฟัน "ร้านขายยา" ไม่มีเภสัชกรประจำ โทษหนักถึงขั้นพักใช้-เผิกถอนใบอนุญาต หวั่นคนซื้อยาไม่ได้รับบริการที่ถูกต้อง

จากกรณีที่ สภาเภสัชกรรมประกาศแจ้งเตือนเภสัชกรที่เจตนาละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมใน "ร้านขายยา" (แขวนป้าย) ถือว่าเป็น การกระทำผิดจรรยาบรรณ และมีมติให้เพิ่มบทลงโทษสูงสุดคือ การพักใช้ ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เป็นเวลา 2 ปี และแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานในหน้าที่เภสัชกรได้ ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนหลายรายแล้ว และจะดำเนินการพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ปรากฎอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

รศ.พิเศษ เภสัชกร กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภชักรรม กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การออกแจ้งเตือนดังกล่าวเป็นการย้ำเตือนให้ "ร้านขายยา" เภสัชกร ทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม เพราะที่ผ่านมามีกฎหมายร้านยาพ.ศ. 2510 ออกประกาศอย่างชัดเจนว่า กรณีที่เปิด "ร้านขายยา" จะต้องมีเภสัชกรประจำร้านตลอดเวลา เกิดภาวะการขาดแคลนเภสัชกรจึงมีการกฎหมายออกมาในช่วงปี 2522 ซึ่งเป็นการอนุโลมให้ เภสัชกรสามารถอยะประจำร้านขายยาได้ 3 ชั่วโมงต่อวัน  

โดยในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ใน "ร้านขายยา" จะต้องขึ้นป้ายแขวนไว้ตลอด หากไม่อยู่ประจำที่ร้านจะต้องปิดร้านเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ามี "ร้านขายยา" หลายร้านที่ไม่ปฏิบัติตามและมีการเปิด "ร้านขายยา" ตลอดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างมาก

 

รศ.พิเศษ เภสัชกร กิตติ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาสภาเภสัชได้มีการออกกฎกระทรวงในปี 2556เกี่ยวกับกรณีการอนุโลมให้ "ร้านขายยา" ติดป้ายชื่อประจำร้านยา 3 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ทาง ร้านขายยาได้เตรียมความพร้อมหา เภสัชกร มาประจำร้านขายยาให้เรียบร้อย เนื่องจากกฎกระทรวงการอนุโลมกำลังจะหมดอายุลง ดังนั้นทางสภาเภสัชจึงได้ออกประกาศดังกล่าว เพื่อเป็นการแจ้งและย้ำเตือน "ร้านขายยา" มั่งประเทศให้ดำเนินการตามมาตรการของ "ร้านขายยา" เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการได้รับคำปรึกษาที่ถูกต้อง และได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง 


เนื่องจากขณะนี้ในประเทศไทยมี "ร้านขายยา" ที่เปิดให้บริการตลอดทั้งวันโดยที่ไม่มีเภสัชกรประจำที่ร้าน ส่งผลให้ประชาชนที่เข้ามาซื้อยาอาจจะไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งกรณีการเปิดร้านยาทิ้งไว้โดยที่ไม่มีเภสัชกรควบคุมการจ่ายยา ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อวิชาชีพอย่างมาก หากมีคนแจ้งเข้ามาทางสภาเภสัชจะต้องดำเนินการะเบียบอย่างเคร่งครัด โดยโทษร้ายแรงที่สุดหนักถึงขั้นที่พักใช้อนุญาต หรือหากเกิดควาเสียหายรุนแรงต่อชีวิต จะมีบทลงโทษถึงขั้นการเผิกถอนใบอนุญาตของเภสัชกรทันที โดยที่ผ่านมาทางสภาเภสัชกรก็ได้มีการดำเนินการกับรเภสัชกรที่ฝ่าฝืนระเบียบมาแล้วหลายราย  

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w


เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote ได้ที่นี่

(https://awards.komchadluek.net/#)