ข่าว

จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก "ข้าวอินทรีย์" ยุโรป-อเมริกา

จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก "ข้าวอินทรีย์" ยุโรป-อเมริกา

07 ต.ค. 2565

เปิดศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีประสบความสำเร็จ ศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์สีคิ้ว และศูนย์ข้าวชุมชนท่าเยี่ยม จังหวัดนครราชสีมา ที่มีศักยภาพ จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็กๆ สู่บริษัทส่งออก "ข้าวอินทรีย์" ไป "ยุโรป-อเมริกา" ยอดสังซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว  ได้เยี่ยมชมการดำเนินงาน โครงการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของศูนย์ข้าวชุมชน ณ ศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์สีคิ้ว และศูนย์ข้าวชุมชนท่าเยี่ยม จังหวัดนครราชสีมา  

 

เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของศูนย์ข้าวชุมชนที่ประสบความสำเร็จ สามารถเสริมสร้างศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการของชาวนาในชุมชน และของประเทศ  

 

ตลอดจนการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย รวมทั้งผลักดันให้ศูนย์ข้าวชุมชนเข้าร่วมการดำเนินงานเชิงนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่มากขึ้น  

 

จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก \"ข้าวอินทรีย์\" ยุโรป-อเมริกา

นายนรภัทร ศรีษะนอก นักวิชาการเกษตรชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์สีคิ้วและศูนย์ข้าวชุมชนท่าเยี่ยม เป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

 

โดยจุดเริ่มต้นในการรวมกลุ่มเป็นศูนย์ข้าวชุมชน คือมีการปรึกษาหารือร่วมกันอยากจะพัฒนาอาชีพตนเองในเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เอง และในชุมชนมีความต้องการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้จำหน่าย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

 

กรมการข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมาจึงได้เข้ามาส่งเสริมในด้านการผลิต ด้านองค์ความรู้ ด้านวิชาการต่างๆ ซึ่งในการจัดตั้งเป็นศูนย์ข้าวชุมชนจะช่วยแก้ไขปัญหาตามความต้องการของสมาชิกและชุมชน มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบเพื่อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีหลักการในการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนกลุ่มให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

 

ปัจจุบันกลุ่มได้มีการต่อยอดจัดตั้งป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือเป็นแหล่งศึกษาดูงานของสมาชิกและชุมชนอีกด้วย

 

จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก \"ข้าวอินทรีย์\" ยุโรป-อเมริกา
​         

นายจำนง พันธุ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์สีคิ้ว ต.บ้านหัน อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ศูนย์ข้าวฯก่อตั้งเมื่อปี 2556 มีสมาชิกทั้งหมด  241 คน พื้นที่การเพาะปลูก 3,000 ไร่

 

จะเน้นผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์คุณภาพเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรโดยทั่วไป จากจุดเริ่มต้นการจัดตั้งศูนย์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการก่อตั้งบริษัทเพื่อส่งออกเมื่อปี 2562 ส่งออกข้าวไรซ์เบอร์รี่  ข้าวสินเหล็ก  ซึ่งเป็นข้าวกล้องที่มีน้ำตาลน้อยส่งออกไปยุโรป สเปน อเมริกา แคนาดา ฮ่องกง จีนและได้รับผลตอบรับที่ดีมาก

 

การส่งออกมียอด 12 ล้านบาทและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2563 และ 2564 จนถึงปัจจุบัน 13 - 15 ล้านบาท ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าให้ข้าวที่ผลิตจากศูนย์ข้าวฯเพื่อการส่งออกเป็นที่รู้จักมากขึ้นและส่งออกเพิ่มขึ้น   

 

ในอดีตเกษตรกรในชุมชนตำบลบ้านหันส่วนใหญ่มีการทำนา ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรทำการคัดเมล็ดพันธุ์เอง แลกเปลี่ยนระหว่างเกษตรกรด้วยกัน ทำให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำ คุณภาพของข้าวต่ำ เมล็ดพันธุ์ดีจากหน่วยงานมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทางชุมชนจึงได้รวมกลุ่มกันภายในชุมชนจัดตั้งเป็น "ศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์สีคิ้ว" เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ดี ได้รับการสนับสนุนจากกรมการข้าว และกรมส่งเสริมการเกษตร ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สูงขึ้นอีกด้วย 

 

ปัจจุบันได้จัดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือเป็นแหล่งศึกษาดูงานของสมาชิก ศูนย์กลางการพัฒนาการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ของชุมชนและให้บริการความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ ข้าวปลอดภัยแก่ชาวนาในชุมชนและส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกัน ผลิต แปรรูปและจำหน่ายสู่ท้องตลาด พัฒนาเกษตรกรให้มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ สามารถพึ่งตนเองได้

 

แม้ว่าศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์สีคิ้ว เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มเล็ก ๆ แต่ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ของคนในกลุ่ม และการช่วยเหลือและส่งเสริมจากกรมการข้าว ทำให้ศูนย์ฯนี้กลายเป็นศูนย์ข้าวชุมชน คนต้นแบบให้กับชาวนาได้ทั่วประเทศ

 

"ศูนย์ข้าวฯก่อตั้งเมื่อปี 2556 มีสมาชิกทั้งหมด 241 คน พื้นที่การเพาะปลูก 3,000 ไร่ จะเน้นผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์คุณภาพเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรโดยทั่วไป จากจุดเริ่มต้นการจัดตั้งศูนย์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการก่อตั้งบริษัทเพื่อส่งออกเมื่อปี 2562 ส่งออกข้าวไรซ์เบอร์รี่  ข้าวสินเหล็ก ซึ่งเป็นข้าวกล้องที่มีน้ำตาลน้อยส่งออกไปยุโรป สเปน อเมริกา แคนาดา ฮ่องกง จีนและได้รับผลตอบรับที่ดีมาก การส่งออกมียอด 12 ล้านบาทและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2563 และ 2564 จนถึงปัจจุบัน 13 - 15 ล้านบาท ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าให้ข้าวที่ผลิตจากศูนย์ข้าวฯเพื่อการส่งออกเป็นที่รู้จักมากขึ้นและส่งออกเพิ่มขึ้น"  

 

นายจารึก  กมลอินทร์ ประธานกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนท่าเยี่ยม ต.ท่าเยี่ยม อ.โชคชัย  จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นในการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่ายจากเดิมคือเพื่อให้เกษตรกรในชุมชนเมล็ดพันธุ์ดีไว้ใช้ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บไว้ใช้เอง ไม่ค่อยเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพที่ต่ำ เมื่อนำไปจำหน่ายให้โรงสีจะถูกตัดราคาลงมามาก หลังจากศูนย์ข้าวชุมชนท่าเยี่ยมผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพออกมาเพื่อให้สมาชิกและเกษตรทั่วไปได้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีแล้ว มีเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ดีจากทางกลุ่มมากขึ้น ทำให้กลุ่มมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่าย ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่ทางกลุ่มผลิตนั้นจะต้องได้คุณภาพมาตรฐานและการยอมรับจากเกษตรกรและบุคคลทั่วไป 

 

จึงได้ยื่นขอรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP Seed) เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเกษตรที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากทางกลุ่ม ว่าจะได้เมล็ดที่ดีและมีคุณภาพตามมาตรฐานตามที่หน่วยงานราชการกำหนด โดยศูนย์ข้าวชุมชนท่ายเยี่ยม ได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ องค์ความรู้ต่าง ๆ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ จากกรมการข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา ทำให้ทางกลุ่มมีเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ เป็นจำนวนมาก เกษตรกรสมาชิกและในชุมชนก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย

จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก \"ข้าวอินทรีย์\" ยุโรป-อเมริกา จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก \"ข้าวอินทรีย์\" ยุโรป-อเมริกา จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก \"ข้าวอินทรีย์\" ยุโรป-อเมริกา จากศูนย์ข้าวชุมชนเล็ก ๆ สู่บริษัทส่งออก \"ข้าวอินทรีย์\" ยุโรป-อเมริกา

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
เพิ่มเพื่อน Line: https://lin.ee/qw9UHd2
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/