รู้หรือไม่ นายจ้างต้องจัด "ลาพักร้อน" ให้ลูกจ้าง ทำงานครบปี กี่วัน เช็คด่วน
"ลาพักร้อน" คือ วันหยุดพักผ่อนประจําปี ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นสิทธิที่พนักงานประจำทุกคนต้องได้รับอย่างเหมาะสม ปกติได้กี่วัน เช็คด่วน
เคยสงสัยไหม "ลาพักร้อน" คือ วันหยุดพักผ่อนประจําปี ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นสิทธิที่พนักงานประจำทุกคนต้องได้รับอย่างเหมาะสม มีระบุไว้ใน พรบ. คุ้มครองแรงงาน โดยจะได้กี่วันต่อปี ได้อย่างไรบ้าง คมชัดลึกออนไลน์ จะพามาอ่านกันเลย
"ลาพักร้อน" ลาได้กี่วัน ต่อปี? ตามกฎหมายแรงงาน
- ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พศ.2541 มาตรา 30 ระบุไว้ว่า พนักงานทุกคนมีสิทธิได้รับ ลาพักร้อน หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี อย่างน้อย คนละ 6 วัน ต่อปี
โดยจะ "ลาพักร้อน" ได้มากกว่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท เช่น 9 วัน 10 วัน 12 วัน 15 วัน หรือมากกว่านั้น ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน แต่ห้ามน้อยกว่า 6 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดเด็ดขาด
ใช้สิทธิ "ลาพักร้อน" ได้ตอนไหน? เมื่อไหร่ ถึงใช้สิทธิ ลาพักร้อน ได้?
- พรบ. คุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้เลยว่า ลูกจ้างจะได้ต้องวัน ลาพักร้อน หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี 6 วันในทันที เมื่อทำงานครบ 1 ปี โดยไม่ต้องเฉลี่ย
ตัวอย่าง หาก นายแฟลชเริ่มงานวันที่ 1 กรกฎาคม พศ. 2564 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นายแฟลชจะได้รับสิทธิลาพักร้อนทันทีเลย 6 วันเต็มๆ ในทันที สามารถใช้ได้เลยทั้ง 6 วัน
"ลาพักร้อน" เก็บไว้ได้นานเท่าไหร่? ทบได้ถึงเดือนไหน?
- ตามกฎหมาย วันลาพักร้อนที่ได้รับ หลังทำงานครบ 1 ปี จะมีอายุ 1 ปี หลังจากวันที่ได้รับ
ยกตัวอย่างเช่น นายแฟลชเริ่มงานวันที่ 1 กรกฎาคม พศ. 2564 และทำงานครบ 1 ปี ในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ในวันที่ 1 กรกฎาคม พศ. 2565 นายแฟลชจะได้รับวันลาพักร้อน ทั้ง 6 วันในทันที โดยวันลาพักร้อน 6 วันนี้ สามารถใช้ได้ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พศ. 2565 จนถึง 30 มิถุนายน 2566
ทั้งนี้ การทบวันลาพักร้อน ไปใช้ในปีหน้า หรือการเก็บสะสมวันลาพักร้อนไว้ข้ามปี ไม่ได้มีระบุไว้ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ชี้แจงเพิ่มเติมไว้ว่า สามารถทำได้ ทบได้ สะสมได้ ตามแต่นโยบายของแต่ละบริษัท และไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย