ข่าว

นักโบราณคดีโลก ให้ "วิทยาศาสตร์  มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์" มีบทบาทมากขึ้น

นักโบราณคดีโลก ให้ "วิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์" มีบทบาทมากขึ้น

13 พ.ย. 2565

บทสรุป "นักวิชาการโบราณคดี" ต้องมีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ เข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความหลากหลายในทุกมิติ ในการประชุมวิชาการนานาชาติก่อนประวัติศาสตร์อินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Prehistory Association) ครั้ง 21 ที่มีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

โดยในการประชุมมีนักวิชาการโบราณคดีทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 700 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-12 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมลอเมอริเดียน เชียงใหม่ เพื่อหาบทสรุปและการต่อยอดหลักการโบราณคดีและความผูกพันธ์ในการมีส่วนร่วมทางวิทยาศาสตร์
โดยดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมกล่าวว่า 
โบราณคดีเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษามนุษย์ที่มีโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมหรือสิ่งของที่หลงเหลือมาจากอดีต  ทั้งในเรื่องพฤติกรรม ความเป็นอยู่ สุขภาพ วิธีคิด ความเชื่อ การแก้ไขปัญหา และลักษณะคงอยู่ เปลี่ยนแปลง และล่มสลายทางสังคม

 

 

โบราณคดีเผยให้เห็นถึงบทเรียนและความผิดพลาดของมนุษย์ในอดีต และส่งผลต่อปัจจุบันที่เราอยู่อย่างไร ทำให้สังคมในปัจจุบันเรียนรู้เพื่อเฟ้นหาหนทางพัฒนาให้ดีขึ้น   ท้ายสุดหากเราจะก้าวเดินไปข้างหน้าบนฐานของอดีตและปัจจุบันแล้ว ควรจะเป็นไปในทิศทางใดที่ให้ก้าวย่างสู่อนาคตอย่างมั่นคง 

 

 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงวิไล ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเผยว่า ความสำคัญของการศึกษาอดีตเป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาศาสตร์กับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้วยอดีตมีหลายมิติ ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงเป็นกุญแจที่ช่วยเปิดประตูสู่มิติที่หลากหลายของมนุษย์ เช่น การกำหนดอายุด้วยวิธี AMS ที่ช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงหลักฐานทางโบราณคดีกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ DNA ของมนุษย์ที่เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับตัวเรา ตัวตน ที่มา

 

 

และการเคลื่อนที่ของมนุษย์ และการใช้เทคโนโลยีสำรวจทางไกลเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพื้นที่
การประสานความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และวิธีการระหว่างสองศาสตร์ คือ มนุษย์ศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จึงเป็นหนทางสำคัญที่ช่วยคนในปัจจุบันเข้าใจมิติต่าง ๆ และความหลากหลายของอดีตได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าเป็นเรื่องของการใช้วิทยา 

การประชุมวิชาการนานาชาติก่อนประวัติศาสตร์อินโด-แปซิฟิค ครั้ง 21 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ การประชุมวิชาการนานาชาติก่อนประวัติศาสตร์อินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Prehistory Association) ครั้ง 21

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร. รัศมี ชูทรงเดช นายกสมาคมก่อนประวัติศาสตร์อินโด-แปซิฟิค ได้กล่าวว่า  โบราณคดียังตอบคำถามพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ คือ เราเป็นใคร มาจากไหน  ซึ่งไม่เฉพาะเพียงแค่ความภูมิใจของตนเอง แต่ทำให้เราเข้าใจได้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างไร หรือจุดยืนของเรา และยังสร้างพลังหรือเสียงให้กับกลุ่มคนที่บางครั้งถูกลืมเลือนหรือกลืนหายไปในสังคมสมัยใหม่  รวมถึงสร้างพลังต่อรองทางวัฒนธรรมที่ต้องรักษา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม และตัวตนของเรา

 


และด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายของมนุษย์ และด้วยความแตกต่างหลากหลายทั้งในเรื่องวัฒนธรรม เพศ และสถานะทางสังคม เพียงแต่ในความเป็นจริงความหลากหลายดังกล่าวอาจตั้งอยู่บนฐานของวัฒนธรรมเดียวกัน หรือเข้าใจถึงเหตุผลที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้น โดยไม่สร้างอคติทางวัฒนธรรมระหว่างกัน ยอมรับซึ่งกัน และให้เกียรติระหว่างกัน
ท้ายสุดเมื่ออดีตเป็นเรื่องของมนุษย์ทุกคน
ดังนั้นโบราณคดีจึงเป็นศาสตร์ที่รับใช้สังคม เพื่อตอบคำถามพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ คือ เราเป็นใคร มาจากไหน และการเดินทางไปสู่อนาคต และตัวตนทางวัฒนธรรมของพวกเรา อีกทั้งโบราณคดีเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสียงความเป็นตัวตน และอดีตสามารถกลายเป็นสิ่งที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้พัฒนาชุมชนและสังคมผ่านการเรียนรู้และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 

นักวิชาการโบราณคดีในการประชุมนานาชาติก่อนประวัติศาสตร์อินโด-แปซิฟิค ครั้ง 21 นักวิชาการโบราณคดีในการประชุมวิชาการนานาชาติก่อนประวัติศาสตร์อินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Prehistory Association) ครั้ง 21