ข่าว

"โควิดกินยาอะไร" หลังรุนแรงน้อยลงจนคล้ายหวัด WHO เตือนห้ามกิน ยาปฏิชีวนะ

"โควิดกินยาอะไร" หลังรุนแรงน้อยลงจนคล้ายหวัด WHO เตือนห้ามกิน ยาปฏิชีวนะ

14 พ.ย. 2565

ไขข้อสงสัย "โควิดกินยาอะไร" หลังเข้าสู่โรคประจำถิ่น ความรุนแรงน้อยลงจนคล้ายไข้หวัด WHO เตือนห้าม กิน ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาหรือป้องกัน โควิด19

แม้ว่าปัจจุบัน โควิด19 จะลดระดับความรุนแรงของโรคจากโรคระบาดติดต่ออันตราย หรือ โรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวัง และความรุนแรงของโรคที่ลดลงตามการกลายพันธุ์ไปนั้น จนปัจจุบันอาการที่แสดงออกหากได้รับเชื้อแทบจะเหมือน อาการไข้หวัดแบบ 100% ส่งผลให้แรกเริ่มหลายคนซื้อยาตามร้านขายยามารับประทานเอง

 

แต่ในความเป็นจริงแม้ว่าความรุนแรงของ โควิด19 จะลดระดับลงกว่าในช่วงที่เกิดการระบาดครั้งแรกการรักษา การจ่ายยายังจำเป็นจะต้องอยู่ภายในการดูแลของแพทย์ ไม่ใช่การค้นหาข้อมูล "โควิดกินยาอะไร" และหาซื้อมารับประทานกันเองได้ตามใจชอบ เพราะการจ่ายนั้น

 แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาตามอาการของผู้ติดเชื้อ ซึ่งแน่นอนว่ามียาบางประเภทที่ห้ามใช้กับกรณี ติดโควิด เด็ดขาด 

ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า การติดเชื้อ โควิด19 ผู้ติดเชื้อจะต้องรับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนรับยากลับมากินและรักษาตัว เฝ้าสังเกตอาการต่อที่บ้านไม่ใช่ใครติด "โควิดกินยาอะไร" ก็ได้เหมือนการติดเชื้อไข้หวัดธรรมดาทั่วไป โดยข้อมูลจาก WHO ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังค้นหาและพัฒนาแนวทางการรักษาโควิด-19 การรักษาแบบประคับประคองที่ดีที่สุด ได้แก่ การให้ออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง รวมถึงการดูแลระบบทางเดินหายใจขั้นสูงอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต เดกซาเมทาโซนเป็นคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ช่วยลดระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจ และช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรืออยู่ในภาวะวิกฤตได้

 

อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ซื้อยาใด ๆ กินเอง เช่น ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันหรือรักษาโควิด-19  ตัวอย่าง ยาปฏิชีวนะ เช่น  เพนิซิลลิน (Penicillin) ,อะม็อกซีซิลลิน (Amoxycillin),แอมพิซิลลิน (Ampicillin),อิริโทรไมซิน(Erythromycin),เตตร้าไซคลิน (Tetracycline),คลินด้าไมซิน (Clindamycin),นอร์ฟรอกซาซิน (Norfloxacin) 

 

สำหรับหลายคนที่กำลังสงสัยว่า "โควิดกินยาอะไร" ได้บ้าง และหากติดเชื้อแพทย์จะสั่งจ่ายยาอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงที่ โควิด19 ถูกถอดจากโรคติดต่อร้ายแรง การรักษาหากติดโควิดจะต้องรักษาตามสิทธิที่มีอยู่ ได้แก่ สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง และสิทธิข้าราชการเท่านั้น โดยข้อมูลการรักษาโควิดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข ระบุ เอาไว้ดังนี้ 

 

"โควิดกินยาอะไร" ให้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยมีการแยกกลุ่มอาการ 3 กลุ่มสีดังนี้ 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

ฟ้าทะลายโจร

วิธีรับประทานยาฟ้าทะลายโจร

  • วันละ 180 กรัมต่อวัน แบ่ง 3 มื้อ มื้อละ 60 มิลลิกรัม (จำนวนแคปซูลขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ)
  • ทานติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ 

ปัจจุบันแพทย์จะจ่ายยาให้ตามอาการที่ปรากฎ เช่น ยาแก้ไข ละลายเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอากาศคัดจมูก 

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือ กลุ่มผู้ติดเชื้อที่เริ่มมีความเสี่ยงของโรครุนแรง จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)  มีทั้งรูปแบบที่เป็นเม็ดและเป็นน้ำ **ไม่ได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคน จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เป็นยาที่ต้องกินภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น**

ผู้ป่วยที่จะได้รับ ยาฟาวิพิราเวียร์

  • ที่เริ่มมีอาการของโรค เช่น ไข้สูง
  • ผู้ป่วยที่มีอาการโรคร่วม  หรือ กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน โรคไต โรคหัวใจ-ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือตามดุลยพินิจของแพทย์
  • ผู้ที่เริ่มมีภาวะปอดอักเสบ
  • ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่ยังไม่มีอาการ หรือใช้เพื่อป้องกันโรค

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันมากในต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เป็นยาฉีด

กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยา เรมเดซิเวียร์ ได้แก่

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ไม่รู้สึกตัว กินยาไม่ได้
  • ผู้ที่มีระบบดูดซึมไม่ดี
  • ผู้ที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์แล้วร่างกายไม่ตอบสนอง
  • หญิงตั้งครรภ์


สำหรับการใช้ ยาเรมเดซิเวียร์ ให้เลือกใช้ฟาวิพิราเวียร์หรือเรมเดซิเวียร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช้ร่วมกัน เนื่องจากเป็นยาที่มีกลไลออกฤทธิ์เหมือนกัน
แต่ต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง เป็นยาที่ใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น

 

ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม