ข่าว

ภาวะ "ลองโควิด" ผลศึกษาพบ การอักเสบในสมอง ซ้ำทำให้มีภาวะสมาธิสั้น

ภาวะ "ลองโควิด" ผลศึกษาพบ การอักเสบในสมอง ซ้ำทำให้มีภาวะสมาธิสั้น

20 พ.ย. 2565

ภาวะ "ลองโควิด" ผลศึกษาตรวจพบเกิดกระบวนการอักเสบในสมอง กระทบความจำ ทำให้เกิด ภาวะสมาธิสั้น มากขึ้น เตือนไม่ติดเชื้อซ้ำดีที่สุด

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุถึงผลการศึกษาปัญหา "ลองโควิด" ที่มีการทดลองในสัตว์ ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดจากประเทศเยอรมัน พร้อมทั้งอัพเดตสถานการณ์การระบาดของ โควิด19 โดยระบุว่า 

 

20 พฤศจิกายน 2565... เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 250,039 คน ตายเพิ่ม 438 คน รวมแล้วติดไป 642,804,841 คน เสียชีวิตรวม 6,625,357 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และฮ่องกงเมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.22 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.93
 

รศ.นพ.ธีระ ระบุต่อว่า อัพเดตความรู้ภาวะ "ลองโควิด" Long COVID ว่า Venkataramani V และคณะจากประเทศเยอรมัน ได้สรุปความรู้วิชาการเกี่ยวกับปัญหาด้านความคิดความจำ (cognitive impairment) หลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19การศึกษาทางห้องปฏิบัติการในหนูที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยมีอาการน้อยนั้น พบว่า ตรวจพบเกิดกระบวนการอักเสบในสมองตามมา ทั้งนี้กลุ่มที่มีปัญหาด้านความคิดความจำนั้นจะมีระดับ C-C motif chemokine 11 (CCL11) ที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหาซึ่งจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เดิมที่มีมาก่อน ทราบกันว่าสาร CCL11 นี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการแก่/เสื่อมถอย (aging) ของเซลล์ และยับยั้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) ณ ปัจจุบัน ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสมองและระบบประสาทภายหลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19 มีมากขึ้น โดยมีการศึกษาพยาธิสภาพ และกลไกในการเกิดความผิดปกติต่างๆ ทั้งในเรื่องความคิดความจำ สมาธิ รวมถึงโรคเรื้อรังที่ตามมา ทั้งหลอดเลือดสมอง ชัก และอื่นๆ
 

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุดใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาทลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดีการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ระหว่างการตะลอนนอกบ้าน ทำงาน เรียน ท่องเที่ยว หรือพบปะผู้คน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มากระบาดขาขึ้นเช่นในปัจจุบัน พฤติกรรมส่วนตัวจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของแต่ละคน และความเสี่ยงนั้นไม่จบแค่ตัวเอง แต่นำพาไปสู่สมาชิกในครอบครัวและคนใกล้ชิดได้