ข่าว

"รมช.พาพิชย์" ชู Smart Craft ปลดล็อคปัญหาการผลิตงานหัตถศิลป์ไทย

"รมช.พาพิชย์" ชู Smart Craft ปลดล็อคปัญหาการผลิตงานหัตถศิลป์ไทย

26 พ.ย. 2565

"รมช.พาพิชย์" ชู Smart Craft ปลดล็อคปัญหาการผลิตงานหัตถศิลป์ไทย มอบหมาย sacit นำเทคโนโลยีมาเสริมทัพในยุคดิจิทัล ลดเวลาผลิต เพิ่มปริมาณสินค้า

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับนโยบายการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและกระบวนการผลิตต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยจะปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ผลิต ชุมชน และผู้ประกอบการ สามารถผลิตงาน "ศิลปหัตถกรรมไทย" ให้มีความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น 

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงพาณิชย์ มอบหมายให้ sacit หรือ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ดำเนินการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ศิลปหัตถกรรมไทย ให้ทันกับกระแสโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาเป็นส่วนช่วยในการผลิต เพื่อลดขั้นตอน ลดต้นทุน และเพิ่มกระบวนการผลิตมากขึ้น 

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ด้านนายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ได้นำ sacit จัดวาง Role Model ในพื้นที่ชุมชนหัตถกรรมต่างๆ จำนวน 8 กลุ่ม เช่น กลุ่มปานซอยบ้านทุ่งกองมู จ.แม่ฮ่องสอน , กลุ่มทอผ้ามัดหมี่โฮลโบราณ จ.สุรินทร์ , กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองหญ้าปล้องพังโคน จ.สกลนคร เป็นต้น โดยเชื่อมโยงเครือข่ายและผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ-การผลิต ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ รวมถึงภาคเอกชน เพื่อเข้ามาพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และกระบวนการผลิต

 

ตัวอย่าง กลุ่มปานซอยบ้านทุ่งกองมู อ.เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ทำงานศิลปหัตถกรรม "ต้องลาย-ปานซอย" ประดับตกแต่งชายคาและโครงสร้างของหลังคาอาคารตามวัดวาอาราม ศาสนสถานต่างๆ

 

เดิม ใช้เวลาผลิตยาวนาน มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การร่างแบบลงบนกระดาษ การตอกกระดาษตามลวดลายที่ร่างไว้ นำกระดาษที่ตอกลายมาวางทาบบนแผ่นอลูมิเนียมหรือสังกะสีและลอกลายลงบนแผ่นอลูมิเนียม ตอกจุดไข่ปลาตามเทคนิคการต้องลาย-ปานซอย จากนั้นนำไปติดตั้งประดับตกแต่งตามสถานที่ที่กำหนดไว้

 

แต่กระบวนการผลิต sacit  สามารถตอกขึ้นลายได้ในครั้งเดียว ซึ่งสามารถลดระยะเวลาในการลอกลายซ้ำๆ ให้มีความง่าย จึงทำให้ร่นระยะเวลาในการผลิตให้สั้นลง ผลิตได้มากขึ้น และทันต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้

 

\"รมช.พาพิชย์\" ชู Smart Craft ปลดล็อคปัญหาการผลิตงานหัตถศิลป์ไทย กระบวนการผลิต sacit งานศิลปหัตถกรรมไทย