ข่าว

"โรคซึมเศร้าในเด็ก" อาการ การรักษา ก่อนสายเกินต้องใช้ กระแสไฟฟ้าผ่านสมอง

"โรคซึมเศร้าในเด็ก" อาการ การรักษา ก่อนสายเกินต้องใช้ กระแสไฟฟ้าผ่านสมอง

01 ธ.ค. 2565

ปัญหาครอบครัวในสังคมปัจจุบันมักพบเด็กเป็นภาวะซึมเศร้า และเป็นที่มาของ โรคซึมเศร้าในเด็ก บททดสอบในโรงเรียนด้วยโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม(CBT) ช่วยแก้ปัญหาได้จากรายละเอียดแนวคิดของเด็กที่ป่วยและผลกระทบจนป่วย

หลังจากที่ได้นำแนวโน้มของภาวะซึมเศร้า อันเป็นที่มาของโรคซึมเศร้า ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเปิดเผย 10 จังหวัดที่มีผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ในขณะที่เด็กกำลังเป็นตัวแปรสำคัญในสังคมที่กำลังจะเติบโตในอนาคต ดังนั้น เราจะมาดูรายละเอียดของการรักษาโรคซึมเศร้าในเด็ก เพราะภาวะซึมเศร้าในเด็กหลายครอบครัวที่มีผู้ปกครองไม่รู้ว่าลูกหรือหลานของตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า

และจากการวิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า สำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เกี่ยวกับผลการทดสอบโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม(CBT)แบบกลุ่มในระดับมัธยมศึกษาใน 3 ระยะ ประกอบด้วย

 

 

 

1.มุมมองของครูและเด็กในโรงเรียน พบว่า ส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยจากการสังเกตของพฤติกรรมการแสดงออกของเพื่อน เช่น การเก็บตัว กรีดแขน หงุดหงิด ไม่ร่าเริง ในขณะที่นักเรียนที่ป่วยมีความคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ทำอะไรก็ผิดไปหมด มองโลกในแง่ลบ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มาจากเรื่องภายในครอบครัว คำพูดที่เกิดการเปรียบเทียบและการตักเตือนด้วยความรุนแรง ส่วนการจัดการกับภาวะซึมเศร้านั่นก็คือการพูดคุย ลดความเครียด แต่จะไม่ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ภายในโรงเรียน

2.การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม แบ่งออกเป็น การใช้วรรณกรรม การสนทนาแบบกลุ่ม การใช้วรรณกรรมและการสนทนาแบบกลุ่ม และการสร้างต้นแบบการบำบัดจากทีมพยาบาลวิชาชีพ ทีมสหวิชาชีพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดภาวะซึมเศร้า

3.วัดประสิทธิภาพผลการทดสอบ 6 ครั้งใน 5 กลุ่ม

อย่างไรก็ตามในการเก็บข้อมูลที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคซึมเศร้าในโรงเรียนมัธยมพบว่า ร้อยละ 87.0 มีเพื่อนสนิทเคยใช้สารเสพติด , ร้อยละ 69.6 ได้รับยาต้านเศร้า,   ร้อยละ 56.5 ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน  และร้อยละ 52.2 มีโรคประจำตัว นอกจากนี้ นักเรียนกลุ่มนี้เคยถูกให้ลาพักการเรียน/ให้ออกจากโรงเรียนสูงถึง 91.4

4.การประเมินด้วย 9 คำถามและการบำบัด 6 ครั้ง

บทสรุป การศึกษาสามารถบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดอาการซึมเศร้าได้แต่ยังมีข้อจำกัดบ้าง

 

 

 

ในขณะที่การรักษาด้วยยาต้านสาธารณสุข พบว่า การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยาต้องอยู่ในอาการระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรงด้วยการให้ยาต้านซึมเศร้า และหากการให้ยาในปริมาณมากเกินไปอาจจะมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ มีอาการวิตกกังวล และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง แพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าปล่อยผ่านสมองในขณะที่ดมอย่าสลบ และด้วยวิธีนี้อาจส่งผลข้างเคียงในเรื่องของความจำเสื่อมและเกิดอาการชักได้

 

วิธีดูแลช่วยเหลือเมื่อเด็กๆเป็นโรคซึมเศร้า มีดังนี้

1. พาไปพบจิตแพทย์ เนื่องจากอาการของโรคซึมเศร้าในแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน การไปพบแพทย์จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคนนั้น ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องรักษาโดยการใช้ยาและการไปพบแพทย์จะทำให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวระหว่างรับการรักษาด้วย

2. หาสาเหตุของโรคซึมเศร้า เพื่อจะได้รู้ว่าความซึมเศร้านั้นเกิดจากปัจจัยอะไร โดยนอกจากพ่อแม่จะใช้วิธีการสังเกตจากพฤติกรรมของเด็กเองแล้ว การพูดคุยกับตัวเด็กเองหรือพูดคุยกับคนที่รู้จักเด็ก อาจทำให้รู้ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นกับเด็กบ้าง เช่น สอบถามจากคุณครูถึงการใช้ชีวิตที่โรงเรียนของเด็กว่าในแต่ละวันเป็นเช่นไร มีเพื่อนเล่นด้วยหรือไม่ ถูกรังแกหรือไม่ สนใจในการเรียนหรือไม่

3. บรรเทาความเครียด อย่างเช่นการหากิจกรรมที่จะช่วยให้เด็กๆผ่อนคลายให้ทำ เช่น ชวนร่วมเล่นกิจกรรมต่างๆ อย่าง เกม  ร้องเพลง ดนตรี  หรือแม้กระทั่ง การทำความสะอาดห้องนอน จัดสวน เลี้ยงปลาสวยงาม ว่ายน้ำ  

 

 

4. ให้ความรักและกำลังใจในทุกด้าน  การรับฟังและรับรู้ถึงความรู้สึกของเด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย รวมถึงการแสดงออกที่อบอุ่นและห่วงใยด้วยการสวมกอด 

5. ดูแลสุขภาวะด้านอาหารและการพักผ่อน การประทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารจะช่วยเรื่องสุขภาพและสุขภาวะทางจิตใจ 

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคซึมเศร้าต้องใช้ระยะเวลาและขึ้นอยู่สภาวะและอาการของเด็ก ผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจในการรักษาไม่เช้นนัเนจะเกิดภาวะกดดันเด็กที่ป่วยและตัวเองโดยไม่รู้ตัว 

 

 

ค่าใช้จ่ายการรักษา "โรคซึมเศร้า"

โรคซึมเศร้า เป็น 1 ในกลุ่มโรคทางจิตเวช ดังนั้นประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการรักษาได้ และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ผ่าน ประกันสังคม บัตรข้าราชการ และ บัตรทอง เพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตขั้นพื้นฐาน  และสำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าตนเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่  สามารถโทรปรึกษากับสายด่วนสุขภาพจิต 1323 และอีกทางเลือกที่น่าสนใจคือใช้แอปพลิเคชันที่ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต

 

สำหรับค่ายาการรักษาจะขึ้นอยู่การวินิจฉัยของแพทย์ โดยทางยาที่ให้นั้นขึ้นอยู่ดุลพินิจของแพทย์ที่จะให้ยาที่ผลิตในประเทศหรือต่างประเทศ และการให้ยาในเบื้องต้นจะต้องรับประทานอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 2 อาทิตย์เพื่อดูอาการ ส่วนค่าบริการครั้งแรกส่วนใหญ่อยู่ในวงเงินค่าใช้จ่ายไม่เกิน 500 บาท  

จุดสังเกตภายนอกเมื่อมีภาวะซึมเศร้าจนเป็นที่มาของโรคซึมเศร้า

วิธีคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในเด็ก

แนวคิดการใช้วิธีการแก้ปัญหาทางอารมณ์ของเด็กที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

8 ข้อสรุปจัดการความเศร้าด้วยตัวเอง

ข้อมูล/ภาพ :คณะกรรมการโครงการการวิจัยการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่นที่มีอาการซึมเศร้าในโรงเรียน 2562