ข่าว

ไวรัสกลายพันธุ์ จะตรวจ "ATK" ได้หรือไม่ หมอยง แนะวิธีเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง

ไวรัสกลายพันธุ์ จะตรวจ "ATK" ได้หรือไม่ หมอยง แนะวิธีเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง

30 พ.ย. 2565

เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ตลอด จะตรวจ "ATK" ขึ้นหรือไม่ "หมอยง" แนะ วิธีการเก็บตัวอย่างให้ได้และถูกต้อง ยังไม่พบปัญหาในการตรวจ

"หมอยง" ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟสบุ๊ก Yong Poovorawan กล่าวถึง การกลายพันธุ์ของ โควิด19 ไวรัสที่แบ่งกลุ่มย่อยแตกต่างมากมาย ส่วนใหญ่จะเกิดในส่วนของโปรตีนหนาม spike protein การจำแนกสายพันธุ์ย่อยก็จำแนกจากส่วนนี้

 

 

การตรวจ "ATK" จะตรวจหาในส่วน นิวคลีโอแคปสิด Nucleocapsid ของไวรัส เป็นส่วนโครงสร้างของตัวไวรัส ในส่วนนี้จะมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นน้อยมาก เราจะเห็นว่า เวลาการตรวจวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็น RT-PCR หรือ "ATK" จะใช้ในส่วนนี้เป็นการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากค่อนข้างคงตัว ดังนั้นที่ผ่านมาการใช้ "ATK" ตรวจหา โควิด19 จึงยังไม่ได้เป็นปัญหา

 

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับความไวของการตรวจ "ATK" ยังขึ้นอยู่กับชนิดน้ำยา เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าความไวน้อยกว่า RT-PCR และ วิธีการเก็บตัวอย่างให้ได้และถูกต้อง โดยเฉพาะถ้าต้องเก็บตัวอย่างเอง การป้ายเข้าไปในจมูก ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกล้าแยงลงลึก ทำให้เป็นผลลบได้

 

 

การป้ายจากคอโดยเฉพาะส่วนลึกของคอ จนถึงกับอาเจียนหรือมีเสมหะออกมา จะตรวจได้ดีกว่า เพราะเก็บตัวอย่างได้มากกว่า น้ำลายก็เป็นตัวอย่างทีสามารถนำมาตรวจได้ ถ้า ชุดตรวจที่บอกว่าให้ตรวจจากน้ำลาย โดยเฉพาะในเด็ก

 

การกระตุ้นด้วย วัคซีนโปรตีนซับยูนิต Covovax หรือ Novavax 

 

การศึกษาการใช้ วัคซีนโควิด ชนิด โปรตีนซับยูนิต เป็น เข็มกระตุ้น ด้วยสูตรต่างๆ 2 เข็มแรกที่ฉีดในประเทศไทยได้ผลดี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีน 2 เข็มแรกเป็นเชื้อตาย หรือ ไวรัส Vector สูตรไขว้ หรือ mRNA ได้ผลดีไม่แตกต่างกัน การกระตุ้นวัคซีนเชื้อตายมีแนวโน้มภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสูง นับเป็นรายงานแรกๆ ที่ใช้วัคซีน โปรตีนซับยูนิต กระตุ้นเชื้อตาย แสดงให้เห็นว่า กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี และอาการข้างเคียงของวัคซีนต่ำมาก โดยเฉพาะอาการไข้ หลังฉีดแทบไม่พบเลย