ข่าว

"ติดโควิด" ต้องทำยังไง รักษาที่ไหน พร้อมแนวทางปฏิบัติ ป้องกันโควิด

"ติดโควิด" ต้องทำยังไง รักษาที่ไหน พร้อมแนวทางปฏิบัติ ป้องกันโควิด

01 ธ.ค. 2565

ตรวจ ATK พบ "ติดโควิด" ต้องทำยังไง รักษาที่ไหนได้บ้าง ตามสิทธิต่างๆ รวมไปถึง แนวทางการปฏิบัติ เพื่อป้องกันโควิด

จากสถานการณ์การระบาดของ "โควิด19" ที่มีการกลับมาระบาดอีกระลอก ตามการคาดการณ์ที่บอกว่า ในช่วง ฤดูหนาว จะมีการระบาดอีกครั้ง แต่จะไม่หนักเท่ากับการระบาดในช่วงแรกๆ เพราะเหมือนเป็นการระบาดตามฤดูกาล ซึ่งเมื่อ "ติดโควิด" ต้องทำยังไง รักษาที่ไหนได้บ้าง

 

 

ซึ่งล่าสุด ก็ได้มีการออกแนวทางการรักษา โควิด ฉบับใหม่ เป็นการปรับเรื่องการจ่าย ยาต้านไวรัส และเพิ่มการใช้ Long Acting Antibody ( LAAB ) ให้มากขึ้น เน้นในการรักษาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ควบคู่กับการให้ยาต้านไวรัสอื่น ที่ยังคงใช้อยู่เช่นเดิม

 

ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ทำยังไงดี? ต้องรักษาที่ไหน?

 

สิทธิบัตรทอง ติดต่อได้ที่

- ศูนย์​บริการ​สาธารณสุข

- คลินิกชุมชนอบอุ่น

- หน่วยบริการปฐมภูมิ​ของโรงพยาบาล 

 

ตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่

- สถานพยาบาล​ที่ลงทะเบียนไว้

- ร้านยาในโครงการ "เจอ แจก จบ"

 

สิทธิประกันสังคม ติดต่อได้ที่

- สถานพยาบาล​คู่สัญญา​ในระบบประกันสังคม

 

สิทธิ​ข้าราชการ

- ​สถานพยาบาล​ของรัฐทุกแห่ง

 

ติดโควิด รักษาที่ไหน

 

แนะแนวทางปฏิบัติ ป้องกันโควิด


1. ทำร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

2. สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อ โควิด19 ด้วยการรับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม

3. หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด คนหมู่มาก ถ้าจำเป็นต้องไปก็ต้องปฏิบัติตัว อย่างเคร่งครัด

4. เมื่อมีอาการต้องสงสัยโรคทางเดินหายใจ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัย เช่น ตรวจ ATK

5. เมื่อติดเชื้อหรือป่วย ควรดูแล รับการรักษาอย่างเหมาะสม

6. อาการที่ยังคงอยู่หลัง covid 19 (long covid) จะเกิดขึ้นในสัปดาห์แรกๆ และส่วนใหญ่จะหายไป

7. ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไปในภาวะปัจจุบันไม่ควรให้ covid 19 มาเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต

 

สิทธิบัตรทอง

 

หลังมีแนวโน้มการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ "โควิด19" ในประเทศไทยช่วงต้นปี 2563 สปสช. ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนหน่วยบริการในการดูแลผู้ติดเชื้อและ ผู้ป่วยโควิด ที่รวมไปถึงการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาด

 

 

เริ่มด้วยการจัดสรรงบประมาณรองรับ โดยเสนอขอรับงบประมาณตาม พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระหว่างปี 2563 - 2565 เพื่อเป็นงบประมาณใช้ในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและจัดระบบบริการต่างๆ สำหรับผู้ติดเชื้อและ ผู้ป่วยโควิด ทุกสิทธิ รวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดให้กับหน่วยบริการทั่วประเทศ

 

 

ร่วมบริการคัดกรอง ผู้ติดเชื้อโควิด ในสถานการณ์ที่ประชาชนเข้าไม่ถึง บริการตรวจเชื้อ โควิด-19 ช่วงเดือน กรกฎาคม 2564 หลังจากกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ตรวจคัดกรอง โควิด-19 สปสช.ได้ร่วมมือกับคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จัดบริการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมร่วมมือกับสถาบันป้องกันโรคเขตเมือง (สปคม.) และกรมควบคุมโรค ขยายจุดคัดกรอง ณ สนามกีฬาธูปะเตมีย์ และสนามราชมังคลากีฬาสถาน (หัวหมาก)

 

 

นอกจากนี้ยังร่วมมือกับสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา บริการคัดกรอง "โควิด19" ที่ สบยช. ช่วยลดการรอคิว และนำผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ระบบการดูแล 

 

 

ร่วมจัดระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านและในชุมชน (Home Isolation และ Community Isolation : HI/CI ) ในการดูแลผู้ติดเชื้อในกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย กับกรมการแพทย์ และสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเอชไอวี (IHRI) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ

 

 

จัดระบบช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ภายหลังฉีด วัคซีนโควิด โดยออกประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับ วัคซีนโควิด พ.ศ. 2564 ยึดตามหลักการมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 พร้อมวางระบบเร่งจ่ายเงินช่วยเหลือโดยเร็ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการฉีด วัคซีนโควิด

 

 

แจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง จำนวน 8.5 ล้านชุด โดยเปิดลงทะเบียนผ่านแอปเป๋าตัง ธนาคารกรุงไทย รับชุดตรวจที่ร้านยา รวมถึงประสานความร่วมมือกับคลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในการกระจายชุดตรวจ ATK เชิงรุกไปยังประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน  

 

 

ขยายบริการสายด่วน สปสช. 1330 ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาด โควิด19 ที่ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนการใช้บริการสายด่วนเพิ่มขึ้นอย่างมาก สปสช. จึงได้เพิ่มคู่สาย 1330 จาก 600 เป็น 3,000 คู่สาย พร้อมเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่รวมถึงอาสาสมัครร่วมบริการ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มช่องทางรับเรื่องผ่านระบบออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ : www.nhso.go.th , Line OA : @nhso และ FB : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น     

 

 

จัดระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 "บริการผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน" (OP Self Isolation) หรือ "เจอ แจก จบ" ในกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก ผ่านร้านยา โดยร่วมมือกับสภาเภสัชกรรม ซึ่งต่อมาได้ขยายการบริการผ่านระบบ Telemedicine ที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการแอปพลิเคชันสุขภาพ ทั้ง แอป Good Doctor (กู๊ด ด็อกเตอร์)  แอป Clicknic (คลิกนิก) แอป MorDee (หมอดี) และแอบ Totale Telemed (โทเทเล่ย์) พร้อมจัดส่งยาถึงบ้านผู้ป่วย

 

ป่วยโควิด

 

สิทธิประกันสังคม

 

สำหรับการปรับปรุงค่ารักษาพยาบาลเกี่ยวกับ โควิด ที่สำนักงาน "ประกันสังคม" ต้องจ่ายให้กับผู้ประกันตน หรือสถานพยาบาล

 

ประเภทผู้ป่วยนอก

 

1. การตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิด

1.1 การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี RT-PCR โดยทำการป้ายหลังโพรงจมูก และลำคอ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 900 บาท 

1.2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการการติดเชื้อโควิด โดยใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ชนิก Professional test เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 150 บาท

 

2. ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีรักษาประเภทผู้ป่วยนอก และแยกกักตัวที่บ้าน เหมาจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อราย ครอบคลุมบริการให้คำแนะนำ การให้ยารักษา ได้แก่ ยาฟ้าทะลายโจร และหรือยารักษาตามอาการโดยรวมค่าจัดส่ง และการประสานติดตามอาการเพื่อดูแลครบ 48 ชั่วโมง

 

3. การให้บริการ โดยหน่วยบริการที่รับส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม หรือ ร้านยา

3.1 ค่าบริการทางเภสัชกรรมในการดูแลรักษาผู้ประกันตนที่ป่วย กรณีจ่ายยาฟ้าทะลายโจรในอัตราที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 250 บาท

3.2 ค่าบริการทางเภสัชกรรมในการดูแลรักษาผู้ประกันตนที่ป่วย กรณีไม่มีการจ่ายยาฟ้าทะลายโจรในอัตราที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 160 บาท

 

4. การให้บริการด้านเวชกรรม กรณีรักษาแบบผู้ป่วยนอกแยกกักตัวที่บ้าน

4.1 กรณีที่มีการจ่ายยาฟ้าทะลายโจร ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 250 บาท

4.2 กรณีไม่มีการจ่ายยาฟ้าทะลายโจร ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 160 บาท

4.3 ค่าบริการจัดส่งยา และเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน กรณีบริการ Telehealth ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินรายละ 50 บาท 

 

5. ค่ายาต้านไวรัสโควิด กรณีไม่ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณของรัฐ หรือจากหน่วยงานภาครัฐอื่น ให้จ่ายชดเชยค่ายาตามรายการ fee schedule ในอัตรา ดังนี้

5.1 ค่ายา ฟาวิพิราเวียร์ จ่ายตามจริงไม่เกิน 14.50 บาทต่อเม็ด

5.2 ค่ายา โมลนูพิราเวียร์ จ่ายตามจริงไม่เกิน 12.00 บาทต่อเม็ด

 

 

ประเภทผู้ป่วยใน

 

1. สำนักงาน "ประกันสังคม" จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ตามแนวทางที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด กรณีที่มีการระบาดของโควิดมากขึ้น จนมีปัญหาการบริการเตียงในสถานพบาลาล สำนักงานประกันสังคมอาจพิจารณาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยใน โดยคำนวณจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW) ในอัตรา 12,000 บาท ต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน

 

2. กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของเอกชน สำนักงานจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

3.ค่าพาหนะ

3.1 ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดเดียวกัน ให้จ่ายตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท

3.2 ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัด นอกจากจะจ่ายเงินเป็นค่าพาหนะตาม 3.1 แล้ว จะจ่ายเงินเพิ่มให้อีกกิโลเมตรละ 4 บาท โดยคำนวณจ่ายตามระยะทางของกรมทางหลวงในทางสั้น และทางตรง

 

ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีแพ้หรือมีอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน

 

- ประเภทผู้ป่วยนอก ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และจำนวนเงินทดแทนค่าบริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 
- ประเภทผู้ป่วยใน จ่ายค่ายบริการทางการแพทย์ โดยคำนวณจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW) ในอัตรา 12,000 บาท ต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน ทั้งนี้ให้รวมถึงค่าห้อง ค่าอาหาร และค่ายา ยกเว้น 

 

กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา IVIG สำหรับการรักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตัน VITT สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายชดเชยเป็นยา

 

 

กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต

 

เบิกจ่าย สำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้ประกันตนที่เสียชีวิตเหมาจ่ายในอัตรา 2,500 บาท ต่อผู้ประกันตนที่เสียชีวิต

 

 

ค่าบริการฉีดวัคซีน

 

สำนักงานประกันสังคมจ่ายให้ในอัตราไม่เกิน ครั้งละ 40 บาทต่อคน
 

กรณี สำนักงานประกันสังคม เห็นว่า ผู้ประกันตน หรือ สถานพยาบาล สมควรได้รับค่าบริการทางการแพทย์นอกเหนือจากที่กำหนด ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ดังกล่าว ให้แก่ผู้ประกันตน หรือสถานพยาบาลตามคำแนะนำของคณะกรรมการแพทย์ หรือผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มอบหมาย

 

การฉีดวัคซีนโควิด

 

นอกจากนี้ ทุกคนควรรับ วัคซีนโควิด ให้ครบ 4 เข็ม การรับ วัคซีนโควิด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ หรือติดแล้วโอกาสจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตน้อยลง การรับวัคซีนอย่างน้อยคนละ 4 เข็ม เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยอาจไม่ต้องนับว่าเคยติดเชื้อมาแล้ว เพราะหากเกิน 3 เดือนภูมิคุ้นกัน ทั้งวัคซีน และการติดเชื้อ จะทำให้ภูมิที่เคยมีลดลง