ข่าว

"ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น สู้โควิดกลายพันธุ์ เช็คระยะภูมิขึ้นหลังฉีด

"ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น สู้โควิดกลายพันธุ์ เช็คระยะภูมิขึ้นหลังฉีด

05 ธ.ค. 2565

"ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้นสู้ไวรัสกลายพันธุ์ นักไวรัสวิทยา เปิดข้อมูลฉีดแล้วภูมิจะขึ้นเมื่อไหร่ พบภูมิคุ้มกันธรรมชาติผสมวัคซีนสร้างภูมิให้ร่างกายสูงที่สุด

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Anan Jongkaewwattana  ถึงกรณี  "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น เพื่อเป็ฯการกระตุ้นภูมิในร่างกาย เนื่องจากขณะนี้ โควิด19 เริ่มมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไวรัส สายพันธุ์ โอไมครอน ดังนั้นการ "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากในระยะนี้ นอกจากนี้ยังมีการเปิดผลวิจัย ระดับภูมิคุ้มกันหลังจาก "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น 

 

 

โดย ดร.อนันต์ ระบุว่า ข้อมูลชุดนี้จากทีมวิจัยของ Stanford University ที่เปรียบเทียบระดับแอนติบอดีก่อนฉีดเข็มกระตุ้น หลังกระตุ้น 1 เดือน และ หลังกระตุ้นไปแล้ว 6 เดือน โดยทดสอบกับไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ

ดร.อนันต์  ระบุ รายเพิ่มเติมว่า โดยเฉพาะกลุ่ม BA.2.75 และ BA.2.75.2 ที่มีแนวโน้มเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยตอนนี้ระบุว่า การ "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น สามารถเพิ่มระดับแอนติบอดีจากก่อนกระตุ้นได้ตามคาด า ทั้งนี้ แอนติบอดีก็จะเริ่มลดลงหลังจากกระตุ้นไม่นาน เมื่อนำแอนติบอดีมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งไวรัสแต่ละสายพันธุ์จะเห็นภาพได้ชัดเจนว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆที่มีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมจากเดิมจะมีแอนติบอดีจากการกระตุ้นน้อยลงจากโอมิครอนเดิมมากๆ 
 

ทีมวิจัยใช้กราฟรูปวงกลมแสดงผลเปรียบเทียบที่ 1 เดือนหลัง "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีแอนติบอดีสูงสุด (Peak) พบว่า มีจำนวนตัวอย่างที่มีระดับแอนติบอดีที่ไม่พอยับยั้งไวรัส สายพันธุ์ BA.2.75.2 ถึง 33% และ BQ.1.1 ถึง 45% (พื้นที่ส่วนสีม่วงในแผนภูมิ) และ เมื่อนำระดับแอนติบอดีที่ 6 เดือนหลังกระตุ้นมาเปรียบเทียบอีกครั้ง ผลออกมาชัดเจนว่า ประมาณ 32-44% มีภูมิไม่พอยับยั้งโอมิครอนรุนแรก ส่วนโอมิครอนรุ่นหลัง 83%-100% ของตัวอย่าง ไม่มีแอนติบอดีเหลือพอยับยั้งไวรัส... เนื่องจากสหรัฐอเมริกายังไม่มี XBB ระบาดมาก แต่เชื่อว่าข้อมูลต่อ XBB น่าจะหนีภูมิมากกว่า BQ.1.1 

 

วัคซีนเข็มกระตุ้น

 

 

อีกข้อมูลที่สำคัญเช่นกันซึ่งดูเหมือนจะออกมาสนับสนุนว่า ภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมการรับมือกับโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ๆได้ โดยทีมวิจัยเปรียบเทียบภูมิในกลุ่มตัวอย่างที่ติดโควิดแล้วไป "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้น กับ กลุ่มที่กระตุ้นแล้ว ติดโควิด โดยใช้กลุ่มที่ไม่เคยติดโควิดเป็นตัวเทียบ ข้อมูลเห็นชัดเจนเช่นกันว่า ภูมิที่ 6 เดือนหลังเข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้ที่ติดโควิดยังมีแนวโน้มสูงไม่ตกลงเมื่อเทียบกับจุดสูงสุดที่ได้หลังกระตุ้น ขณะที่กลุ่มที่ติดแล้วไปกระตุ้นภูมิตกลงมาพอๆกับกลุ่มที่ไม่เคยติด ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลอื่นๆก่อนหน้านี้ว่า การติดเชื้อจากธรรมชาติหลังร่างกายได้ภูมิจากวัคซีนมาก่อนแล้วสามารถมีภูมิต่อสายพันธุ์ใหม่ๆได้ยาวนานกว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนอย่างเดียว