ไขข้อข้องใจ สอน "วิชาประวัติศาสตร์" อย่างไร วันที่เด็กไทยต้องมองไปข้างหน้า
เมื่อ "ประวัติศาสตร์" คือภูมิหลังของปัจจุบัน สอน "วิชาประวัติศาสตร์" อย่างไร ในวันที่เราบอกเด็กไทยให้มองไปข้างหน้า
"วิชาประวัติศาตร์" เคยเป็นประเด็นถกเถียงกันในสังคมทั้งเรื่องการถอดวิชาประวัติศาสตร์ออกจากตารางเรียน และการแยก "วิชาประวัติศาสตร์" ออกจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรวบไปถึงการเรียนวิชาประวัติศาตร์แบบเดิมๆที่ให้เด็กท่องจำ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายขานรับจากทางภาครัฐให้แยก "วิชาประวัติศาสตร์" ออกมาเป็นวิชาเดี่ยวจากกลุ่มสาระสังคมฯ และที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ ศธ. กำลังจะลงนามประกาศใช้ โดยมีกำหนดจะเริ่มต้นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
ในขณะที่มุมของเด็กและเยาวชนยุคใหม่มีมุมมองต่อ "วิชาประวัติศาสตร์ " เปลี่ยนไปมาก อักษร เอ็ดดูเคชั่น จึงได้จัดเสวนา สอน "วิชาประวัติศาสตร์" อย่างไร ในวันที่เราบอกเด็กไทยให้มองไปข้างหน้า โดยมี คุณตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์ และเศรษฐกิจโลกมาร่วมเสวนาด้วยในหัวข้อนี้
ดร. วิทย์ ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็น ที่ว่า เราเรียนประวัติศาสตร์ไปทำไม ท่ามกลางโลกที่หมุนไว และดูเหมือนจะเป็นวิชาที่พูดถึงกันแต่เรื่องของอดีต โดยมีมุมมองว่า ที่ผ่านมา "วิชาประวัติศาสตร์" เป็นวิชาที่ต้องใช้การท่องจำมาก และไม่เคยถูกบอกว่า เราเรียน "วิชาประวัติศาสตร์" ไปทำไม ในขณะที่ประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกล้วนแต่มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์แทบทุกประเทศ และการรู้ประวัติศาสตร์จะเป็นประโยชน์มากขึ้น หากนำไปเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์โลก และบริบทของโลก "ประวัติศาสตร์"เป็นเหมือนมหาสมุทรกว้างใหญ่ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเรียนอะไรและเรียนอย่างไร โดยที่ต้องมีการตั้งคำถามว่าสิ่งที่เรียนนั้นจะได้ประโยชน์อะไรกับเรา และจะต่อยอดมันอย่างไร ดังนั้นทั้งตัวเด็กเองและตัวคนสอนจึงมีความสำคัญในการเรียนการสอน "วิชาประวัติศาสตร์
หากลองมองย้อนกลับไปในทุกๆรายวิชา ล้วนแล้วแต่มี "ประวัติศาสตร์" ไม่ว่าจะเป็นวิชาเคมี วิชาฟิสิกส์ หรือในการเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ล้วนแฝงอยู่ในทุกๆอย่างในโลกนี้
ดังนั้นหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ เป็นเหมือนสารตั้งต้นในการตั้งคำถาม กระตุ้นการอยากรู้ และเกิดการถกแถลงพูดคุนกัน โดยคนที่จะให้ชีวิตกับ "วิชาประวัติศาสตร์" คือ นักเรียน ที่จะต้องตั้งคำถาม และครู ที่คอยช่วยไกด์ และเป็นการนำประวัติศาสตร์มาสร้างแรงบันดาลใจ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วจึงถูกดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่เชย แต่ในความเป็นจริงสามารถนำมารีไซเคิล ทำให้เรากระตุ้นความคิดได้เรื่อยๆ ฉะนั้น การเรียนประวัติศาสตร์ก็เพื่อไม่ทำผิดซ้ำ
หนึ่งในปัญหาของการเรียน "วิชาประวัติศาสตร์" ที่ผ่านมาทำให้เด็กไม่สนุก คือ เด็กไม่เห็นความเชื่อมโยงของประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์โลก หากเด็กเห็นประเทศไทยอยู่ในบริบทโลก การเรียนรู้ก็จะสนุกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์อาจมีการผสมปนเปกันระหว่างความจริงและเรื่องเล่า เด็กบางส่วนรู้สึกว่าเป็นเรื่องล้าหลัง แต่หนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กจะได้ฝึกฝน และเรียนรู้จากวิชานี้เพื่อวิเคราะห์แยกแยะว่า ควรจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร คือ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของศตวรรษที่ 21 และยังเป็นหนึ่งในสมรรถนะของเด็กยุคใหม่อีกด้วย ซึ่งเป็นทักษะที่โดดเด่นของเด็กยุคนี้อยู่แล้ว
การสอน "วิชาประวัติศาสตร์" ในยุคนี้ จึงอาจไม่ได้มีเป้าหมายให้เด็กจดจำข้อมูลทุกอย่างได้ตามหนังสือเรียน แต่เป็นการสอนเพื่อจุดประกายให้เด็กอยากรู้ กระตุ้นความคิด เพื่อไปหาคำตอบเพิ่มเติมด้วยตนเองมากกว่า ครูต้องทำให้เด็กเห็นว่า สิ่งที่เรียนมันเจ๋งแค่ไหน ถ้าเด็กสนุก เขาจะไปหาคำตอบด้วยตนเอง เมื่อเด็กมีแรงบันดาลใจที่จะค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เขาจะสร้างทักษะในการดำรงชีวิตจากกระบวนการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการหาหลักฐาน การพิสูจน์ความจริง ได้คิดไตร่ตรอง แล้วสรุปผล
ขณะที่คุณตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึงแนวคิดที่มีมากกว่าแค่การออกแบบหนังสือเรียนไว้ว่า เราทำหนังสือเรียนก็จริง แต่เราออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) ที่ครอบหนังสือเรียนอยู่เพื่อให้ครูเห็นว่า ควรจัดการเรียนการสอนอย่างไร เริ่มต้นจากทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ น่าสนใจอย่างไร จะต่อยอดไปเรื่องอื่นอย่างไร เป็นการจุดประกายให้ครูทำให้เด็กเห็นว่า เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร
แท้จริงแล้ว "วิชาประวัติศาสตร์" เป็นวิชาที่มุ่งสร้างให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และฝึกฝนให้ใช้กระบวนการคิดอย่างชำนาญ จนก่อให้เกิดทักษะสำคัญที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการทำงาน ทักษะชีวิต และการเรียนรู้ตลอดชีวิต อักษร ได้ออกแบบวิธีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการคิดของผู้เรียนในรูปแบบที่เรียกว่า 5Es ได้แก่ กระตุ้นความสนใจ (Engage) สำรวจค้นหา (Explore) อธิบายความรู้ (Explain) ขยายความเข้าใจ (Expand) และ ตรวจสอบผล (Evaluate) เป็นรูปแบบที่เน้นกระบวนการพัฒนาศักยภาพการคิด และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง
คุณตะวันได้อธิบายแนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า เป็นความท้าทายที่จะทำให้ครูทั่วประเทศเห็นเป็นภาพเดียวกันว่า จะทำให้มันน่าสนใจได้อย่างไร เราจึงมีกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) กำกับไว้ มีไกด์ไลน์คร่าว ๆ ในการตั้งคำถามด้วยการใช้ Why และ How ที่ตอบยากกว่า แทนการถาม What Where When Who คำถามเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กคิด ไตร่ตรอง และหาคำตอบ สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนทำให้ครูผู้สอนสร้างการสอนที่ทำให้เด็ก ๆ ตื่นเต้น แล้วก็อยากจะเรียนรู้ได้ นอกจากนั้นเราก็ยังมีการอบรมครูกว่าแสนคนในทุก ๆ ปีให้เข้าใจถึงกระบวนการนี้ด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะใน "วิชาประวัติศาสตร์" เท่านั้น แต่ยังเป็นทุกวิชา ทุกระดับชั้น
สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือเรียน "วิชาประวัติศาสตร์" แล้วผู้เรียนจะต้องสามารถนำหลักคิดไปบูรณาการข้ามศาสตร์ให้ได้ สิ่งสำคัญคือครูต้องทำให้เด็กคิดเป็น วิพากษ์เป็น สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เป็น มันเป็นพื้นฐานของทุกวิชา และเป็นวิชาที่สร้างทักษะแห่งโลกยุคใหม่
ด้าน ดร. วิทย์ ให้ความเห็นว่า "ประวัติศาสตร์" ก็เหมือนตึก ถึงจะวิวัฒนาการไปขนาดไหน แต่ฐานรากมันเหมือนเดิม คือ มีความเชย เป็นคอนกรีตแท่งซีเมนต์ แต่ถ้าไม่มีตึกก็อยู่ไม่ได้ ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาชีพ แต่มันเป็นระบบคิด เพราะ 'ประวัติศาสตร์คือภูมิหลังของปัจจุบัน