23 หน่วยงาน เปิดให้บริการฉีด “วัคซีน LAAB” สร้างภูมิคุ้มโควิด เช็คที่นี่
26 ธ.ค. 2565
กรมการแพทย์ เริ่มคิกออฟ 23 หน่วยงานในสังกัด ร่วมรณรงค์และให้บริการ “วัคซีน LAAB" ภูมิคุ้มกันโควิดสำเร็จรูป สำหรับกลุ่มเสี่ยง
วันนี้ 26 ธันวาคม 2565 กรมการแพทย์ ระดมหน่วยงานในสังกัด 23 หน่วยงาน ร่วมรณรงค์และให้บริการ “วัคซีน LAAB" ภูมิคุ้มกันโควิดสำเร็จรูป ซึ่งสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทันทีในกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาการตอบสนองต่อวัคซีน หรือฉีดวัคซีนแล้วร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ได้ หรือ สร้างได้ไม่สูงพอ
ผู้ที่ใช้ "วัคซีน LAAB" ได้ในปัจจุบัน
- ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือปลูกถ่ายไขกระดูกที่ได้นรับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิต หรือ มะเร็งอวัยวะ หลังได้รับการรักษา หรือเพิ่งหยุดการหยุดภายใน 6 เดือน
- ผู้ติดเชื้อเอสไอวีที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
- ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย
- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
กลุ่มใหม่ที่ขยายเพิ่ม
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19
- ผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มสุดท้าย 6 เดือน
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มสุดท้าย 6 เดือน
หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ Kick Off "วัคซีน LAAB" พร้อมกันวันที่ 27 ธันวาคม 2565 นี้
- โรงพยาบาลราชวิถี
- โรงพยาบาธัญญารักษ์สงขลา
- สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)
- โรงพยาบาสธัญญารักษ์เชียงใหม่
- โรงพยาบาสธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (จัดรวมกับโรงพยาบาลราชวิถี)
- โรงพยาบาลเวชชารักษ์ลำปาง
- โรงพยาบาลเลิดสิน
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางการแพทย์แห่งชาติ
- สถาบันประสาทวิทยา
- สถาบันโรคทรวงอก
- โรงพยาบาลสงฆ์
- โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่
- โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
- โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
- โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
- โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น