ข่าว

กลางปี 66 ประกาศค่ามาตรฐาน "ฝุ่น PM 2.5" ใหม่เป็น 37.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม.

กลางปี 66 ประกาศค่ามาตรฐาน "ฝุ่น PM 2.5" ใหม่เป็น 37.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม.

20 ม.ค. 2566

กลางปี 66 กรมควบคุมมลพิษเตรียมประกาศค่ามาตรฐาน "ฝุ่น PM 2.5" ใหม่เป็น 37.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ชี้เป็นการปรับครั้งแรกของไทย เพื่ออากาศที่สดใสมากขึ้น

นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากปัญหาคุณภาพอากาศ ของประเทศไทยโดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งมาจากการเผาป่า ฝุ่นควันไอเสียจากรถยนต์สันดาบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

 

 

แม้ว่าตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ค่ามาตรฐาน "ฝุ่นPM 2.5" ทั้งแบบวัดเฉลี่ยรายปีและแบบวัดตลอด 24 ชั่วโมง จะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ แต่จำเป็นแต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมไม่ให้ค่ะสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ 

ดังนั้นทางกรมควบคุมมลพิษ จะมีประกาศใช้ กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ใหม่ จากเดิมประเทศไทยจะใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง กำหนดค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  ซึ่งเป็นการดำนเนินการตาม คำแนะนำของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่มีการระบุมาตรฐานการวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศไว้ทั้งหมด 4 ระดับ  คือ ระดับ 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระดับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระดับ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ระดับ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับการปรับ มาตรฐานการวัดฝุ่นละออง พีเอ็ม 2.5 ในอากาศของไทยนั้นอัตราใหม่ จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 การปรับ ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้ค่าวัด "ฝุ่น PM 2.5" อยู่ที่ระดับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรมาเป็นเวลานาน 

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

 

นายพันศักดิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามหากประกาศการ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ฉบับใหม่ถูกประกาศใช้ จะส่งผลให้มาตรการการควบคุมการปล่อยมลพิษโรงงานอุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง รถยนต์ ที่ออกมาวิ่งบนท้องถนน จะมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อลดอัตราการปล่อยมลภาวะออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ และเพื่อให้ตัวเลข "ฝุ่นPM 2.5" ลดลงไปกว่าปัจจุบัน เช่นการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเช่นการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยจะใช้มาตรฐาน URO 4 แต่หากมีการประกาศมาตรฐานการวัดคุณภาพอากาศใหม่ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงจะต้องปรับมาใช้มาตรฐาน URO 5 

 

 

นอกจากนี้ยังจะมีมาตรการการควบคุมและลดปริมาณการเผาอ้อยหรือการเผาป่า โดยที่ผ่านมาจากการสำรวจพบว่าปัญหามลพิษทางอากาศเกิดจากการเผาในที่โล่งแจ้งมากถึง 60 -70% แต่ขนาดนี้ลดลงเหลือเพียง 25% เท่านั้น 

 

นายพันศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีการคาดการณ์ว่าหากประเทศไทยประกาศใช้มาตรฐานการวัดระดับคุณภาพอากาศตัวใหม่จะส่งผลให้อากาศในประเทศมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น โดยจะประเมินจากสองตัวชี้วัดคือจำนวนวันโดยจะประเมินจากสองตัวชี้วัดคือจำนวนวันที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานลดลง จำจำนวนวันที่อากาศสะอาดเพิ่มมากยิ่งขึ้น ค่าเฉลี่ยปริมาณ "ฝุ่นPM 2.5" ลดลง  อย่างไรก็ตามการปรับลด ค่า "ฝุ่นPM 2.5" ลงในครั้งนี้อาจจะส่งผลกระทบกับหลายภาคส่วน แต่ทางกรมควบคุมมลพิษจำเป็น เพื่อให้ประเทศไทยมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศสงบนิ่ง ส่งผลให้ฝุ่นลอยตัว และส่งผลกระทบต่อประชาชน