ข่าว

ทำความรู้จัก “กรดเบนโซอิก” สารกันบูดใช้ ถนอมอาหาร-เครื่องสำอาง

ทำความรู้จัก “กรดเบนโซอิก” สารกันบูดใช้ ถนอมอาหาร-เครื่องสำอาง

24 ม.ค. 2566

"กรดเบนโซอิก” ไม่พบในไส้กรอกเท่านั้น แต่พบในอาหาร แทบทุกชนิด เป็นสารกันบูด ช่วยในการถนอมอาหารและเครื่องสำอาง ยืดอายุการเก็บให้ได้นานที่สุด แต่จำกัดปริมาณการใช้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

“โบโลน่าแซนวิช” Bologna Sandwich ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ทางอาหารตัวเดียวที่มีส่วนประกอบของ “กรดเบนโซอิก” เป็นส่วนผสมเนื่องจากในอุตสาหกรรมอาหารมีความต้องการสูง ในการยืดอายุการเก็บอาหารให้ได้นานที่สุด

 

การสุ่มตรวจอาหารของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)เมื่อเร็วๆ นี้ ผลการตรวจพบ “กรดเบนโซอิก” มีปริมาณมากถึง  2,193 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกินค่าความปลอดภัย จัดเป็นอาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่

 

เนื่องจากมี “กรดเบนโซอิก” เกินค่าความปลอดภัย หากรับประทานสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก อาจทำให้มีอาการผื่นคัน หรือท้องเสีย และมีอันตรายต่อการทำงานของตับและไตได้

 

ทำความรู้จัก "กรดเบนโซอิก"

กรดเบนโซอิก หรือ Benzoic acid เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นวัตถุกันเสียในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลาย เป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ลูกพรุน อบเชย แอปเปิล กานพลู และมะละกอสุก เป็นต้น มักใช้ร่วมกับกรดซอร์บิก และพราราเบนส์สำหรับเป็นวัตถุกันเสีย 

 

ว่ากันว่า “กรดเบนโซอิก” และเกลือเบนโซเอต จะต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีในสภาวะเป็นกรดที่ต่ำกว่า 4.5 ดังนั้น อาหารที่มีกรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอต เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บ จึงควรเป็นอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ แยม เยลลี ผักดอง ผลไม้ดอง น้ำสลัด ฟรุตสลัด และเนยเทียม

 

ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84

 

ไม่เพียงเท่านั้น “กรดเบนโซอิก” เป็นยาช่วยรักษาโรคเชื้อราผิวหนัง เช่น น้ำกัดเท้า และยังใช้เป็นสารกันเสีย/สารกันบูด อีกด้วย อีกทั้งยากรดเบนโซอิก เป็นสารอินทรีย์เคมีที่มีลักษณะเป็นผลึกแข็ง ไม่มีสี มีแหล่งกำเนิดจากกระบวนการชีวะสังเคราะห์จากต้นพืชหลายชนิด กรดเบนโซอิกถูกค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 16

อย.ตรวจพบกรดเบนโซอิก ในไส้กรอก มีปริมาณมากถึง  2,193 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

โดยประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากการนำกรดนี้ไปใช้คือ ใช้เป็นส่วนประกอบของยาขี้ผึ้งสำหรับทาฆ่าเชื้อราหรือที่เรียกว่า Whitfield’s ointment ในประเทศไทยเรายังพบสูตรตำรับยาต้านเชื้อราที่มีองค์ประกอบของ “กรดเบนโซอิก” ในรูปแบบของโลชั่นอีกด้วยทั้งยากรดเบนโซอิกกับยาโซเดียมเบนโซเอท ใช้เป็นสารกันบูด ช่วยในการถนอมอาหารและเครื่องสำอาง

 

มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราประเภทยีสต์ (Yeast) และประเภทโมลด์ (Mould) รวมถึงแบคทีเรียบางกลุ่มใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต Benzoyl chloride เพื่อนำไปใช้ในการทำกลิ่นชนิดสังเคราะห์และสารไล่แมลง

 

กรดเบนโซอิก ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทาง อุตสาหกรรมยา อาหาร เครื่องสำอาง จะมีความแตกต่างกันออกไปอาทิ ความบริสุทธิ์ เปอร์เซ็นต์การปนเปื้อน ลักษณะของกายภาพ เช่น สี รวมถึงจุดเดือด จุดหลอมเหลวของผงผลึก

 

ผลไม่พึงประสงค์จาก“กรดเบนโซอิก”

กรดเบนโซอิก ในรูปแบบของยาทาแก้โรคเชื้อรา อาจมีผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หรืออาการข้างเคียง เช่น อาจทำให้มีอาการแสบ คัน ในบริเวณที่ทายาหากรับประทานอาหารที่มีกรดเบนโซอิกเข้มข้นมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตา ปอดและผิวหนังรวมถึงกระเพาะอาหาร-ลำไส้

 

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84 ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ “กรดเบนโซอิก” ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร หากตรวจพบมีการฝ่าฝืน ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากพบผู้กระทำความผิด อย.จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำความผิดต่อไป

 

ขอบคุณที่มาข้อมูล: กระทรวงสาธารณสุข