ข่าว

เตือน 3 กลโกง จาก "มิจฉาชีพ" ฉ้อโกง หลอกขายนม หลอกลงทุน พนันออนไลน์

เตือน 3 กลโกง จาก "มิจฉาชีพ" ฉ้อโกง หลอกขายนม หลอกลงทุน พนันออนไลน์

03 ก.พ. 2566

ตำรวจไซเบอร์ เตือน 3 กลโกงของ "มิจฉาชีพ" ทั้งการฉ้อโกง หลอกค้าขายนมไทยเดนมาร์ก สร้างเว็บแอบอ้างบริษัทประกันชีวิต และเว็บพนันออนไลน์ แนะควรตรวจสอบ ระแวดระวังภัยไซเบอร์เหล่านี้

พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ในฐานะหัวหน้าอำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) เปิดเผยว่า

 

 

ในรอบสัปดาห์ที่ 4 ของมกราคม 2566 ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารการรับแจ้งความออนไลน์ ศปอส.ตร. และ บช.สอท. พบ อาชญากรรมออนไลน์ ที่ต้องเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนประชาชน คือ หลอกขายนมไทยเดนมาร์ก, หลอกให้กดลิงก์บริษัท ไทยประกันชีวิตปลอม และหลอกให้ลงทุนเล่น พนันออนไลน์ จาก "มิจฉาชีพ" เป็นต้น

 

สำหรับการหลอกขาย "นมไทยเดนมาร์ก" ขั้นตอนการหลอกลวง เริ่มจาก คนร้ายสร้างเพจเฟซบุ๊กขึ้นมาโดยใช้ชื่อ รูปโปรไฟล์ รูปปก ที่อยู่ ข้อความแนะนำ ใกล้เคียงกับเพจไทยเดนมาร์ค จากนั้นสร้างเป็นเพจเฟซบุ๊กหรือซื้อโฆษณาเพจ เพื่อให้คนเห็นได้จากระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อมีผู้หลงเชื่อมาสอบถามเพื่อขอซื้อ "มิจฉาชีพ" จะหลอกล่อให้เหยื่อโอนเงินเพื่อสั่งซื้อ อ้างส่งข้อความสอบถามเพื่อจะอ้างขอเลื่อนส่งสินค้าด้วยมีเหตุต่างๆ สุดท้ายปิดเพจหนีหรือเปลี่ยนชื่อเพจเป็นชื่อ 

 

 

ข้อควรระวัง คือ ประชาชนควรตรวจสอบเพจเฟซบุ๊กให้แน่ใจก่อนซื้อ โดยกด "เกี่ยวกับ" "ความโปร่งใส" ก็จะเห็นว่าเปิดมานานเท่าใด ผู้จัดการเพจอยู่ประเทศไทยหรือไม่ หากอยู่ต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยง และดูช่องกดไลก์ ดูโพสต์เป็นหลัก อย่าดูด้านใต้ชื่อเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถซื้อ "ไลก์" ได้

 

หลอกขาย นมไทยเดนมาร์ค

 

ส่วนการหลอกให้กดลิงก์ บริษัทประกันชีวิต ปลอม จะมีขั้นตอนการหลอกลวงของคนร้าย คือ

 

1. คนร้ายจะสร้างเว็บไซต์ปลอมด้วย URL : www.hailifa-ah.com ให้มีลักษณะคล้ายเว็บไซต์บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

 

2. สุ่มส่งข้อความไปทางโทรศัพท์ พร้อมลิงก์ ระบุ เหยื่อได้รางวัลเป็นคูปองพิเศษใช้กับซูเปอร์มาเก็ต หรือสามารถนำไปเติมน้ำมันฟรี เป็นต้น

 

3. เมื่อเหยื่อกดลิงก์ติดต่อเข้าไปพูดคุยกับคนร้ายทางไลน์ ก็จะหลอกว่าต้องเข้ายืนยันสมาชิกที่เว็บปลอม แล้วหลอกเหยื่อให้กด

1) ยอมรับการเข้าควบคุมเครื่อง 

2) ใส่รหัสในระบบ (เหยื่อส่วนใหญ่ใส่เหมือนเข้าแอปธนาคาร) 

3) บางธนาคารกดลืมรหัสเข้าแอป จะได้เลข OTP เพื่อตั้งรหัสใหม่

 

4. ถอนเงินออกจากทุกบัญชีที่ผูกกับแอปธนาคารในโทรศัพท์

 

 

ประกันชีวิตปลอม

 

 

ข้อสังเกตของจริงหรือของปลอม

 

ของจริง 

1. ไม่มีนโยบายส่งข้อความสั้นให้คนทั่วไป 

2. มีเว็บไซต์บริษัท url มีเพียง 1 แบบ คือ https://www.thailife.com/ เท่านั้น ตรวจสอบกับเว็บ whois เปิดมาตั้งแต่ปี 2540 

3. มีเบอร์โทร call center สำหรับการติดต่อ คือ โทร. 1142

 

ของปลอม 

1. จะส่งข้อความสั้นมาหลอกลวงทางโทรศัพท์มือถือ 

2. ชื่อผู้ส่ง จะเป็นเบอร์ +66...... หรือ e-mail ที่ไม่มีชื่อว่ามาจากหน่วยไหน (ของจริงส่วนใหญ่จะระบุชื่อ เช่น ais) 

3. โทรกลับที่เบอร์ที่ส่งมา (เปลี่ยน +66 เป็น 0) จะไม่มีผู้รับสาย 

4. นำเว็บไซต์ปลอมตรวจสอบกับเว็บ whois พบว่าเพิ่งเปิดเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2565 (ปลอมแน่นอน)

 

 

พล.ต.ท.สมพงษ์ กล่าวว่า การย้ำเตือนดังกล่าวเป็นนโยบายและสั่งการของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. ที่ได้สั่งการให้เข้มงวดกวดขันในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องในความรับผิดชอบของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยหวังว่าจะสามารถปราบปรามการกระทรวงปิดให้หมดสิ้นไปเพื่อความสุขของประชาชนและสังคมไทยอย่างแท้จริง

 

หลอกลงทุนเล่น พนันออนไลน์