'วัคซีนไฟเซอร์' รุ่น 2 เข้าไทย ก.พ. 5 แสนโดส ใช้เป็นเข็มกระตุ้น
คณะกรรมการโรคติดต่อเห็นชอบ ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และ ไข้มาลาเรีย พร้อมขยายการเก็บวัคซีนไฟเซอร์ จาก 6-9 เดือนเป็น 15 เดือน ยันมีประสิทธิภาพเท่าเดิม และคาด ‘วัคซีนไฟเซอร์’ 2 สายพันธุ์รุ่น 2 ล็อตบริจาคจากเกาหลีใต้ จำนวน 500,000 โดส จะถึงไทย ก.พ.นี้
8 ก.พ. 2566 ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุภายหลังการประชุมโรคติดต่อว่า ได้มีการตรวจสอบข้อมูลการเดินทางนักท่องเที่ยวต่างชาติ พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ย12 รายต่อสัปดาห์ จากจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยประมาณ 7,000คน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบนักท่องเที่ยวป่วยเพียง1ราย โดยพบว่าไม่มีอาการป่วยหนัก ตอนนี้ยังคงมาตราการไว้เหมือนเดิมและจะมีการติดตามนักท่องเที่ยวที่เข้าไทยในรูปแบบกรุ๊ปทัวร์
ส่วนสถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลกขณะนี้ มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับประเทศที่มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ผู้เสียชีวิตในประเทศขณะนี้เป็นกลุ่ม 608 ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน โดยขอย้ำขอให้ทุกคนเข้ารับวัคซีนเพื่อลดการป่วยหนักและเสียชีวิต
ส่วนภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ LAAB ที่ใช้ในการป้องกันโรคโควิด19 ขณะนี้จะเพิ่มกลุ่มที่จะให้บริการเป็นกลุ่ม 60 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานพักฟื้น เนื่องจากตอนนี้เริ่มผู้ป่วยโควิด-19 เป็นกลุ่มก้อนในสถานพักฟื้นสำหรับผู้สูงอายุ
ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้เห็นชอบ การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ตามโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัย ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีโดยจะมีการใช้กลไกของแต่ละจังหวัด เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร เข้ามาร่วมกันดำเนินการ ฉีดวัคซีนป้องโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
นอกจากนนี้ได้เห็นชอบดูแลโรคไข้มาลาเรีย เนื่องจากพบผู้ป่วยสูงขึ้นในพื้นที่6 จังหวัดซึ่งเป็นจังหวัดชายแดน โดยกระทรวงสาธารณสุขปลอดเชื้อมาลาเรียในปี 2567 โดยการดำเนินงารจะมีการประสานสาธารณสุขในพื้นที่ของการระบาดให้ร่วมค้นหาผู้ป่วยแบบเชิงรุก
ส่วนวัคซีนโควิด-19 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะนี้ได้กระจายไปยังพื้นที่ 37 จังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวโดยจะมีการประกาศรายชื่อโรงพยาบาลเพื่อให้นักท่องเที่ยวรับบริการได้
ส่วนความคืบหน้าการบริจาควัคซีนไฟเซอร์เกาหลีใต้ รุ่น2 ซึ่งเป็นวัคซีน 2 สายพันธุ์ เป็นเชื้ออู่ฮันและโอมิครอน จำนวน 500,000โดสซึ่งทาง นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ทราบเมื่อกลางเดือนมกราคม 2566
ขณะนี้อยู่ขั้นตอนเตรียมเอกสารนำเข้า คาดอีก 2สัปดาห์วัคซีนจะถึงไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์ เบื้องต้น จะเป็นกลุ่มเสี่ยงกลุ่ม,กลุ่มผู้สูงอายุก่อน รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกับคนหมู่มาก , ซึ่งจะเป็นการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ส่วนประสิทธิภาพของวัคซีน พบว่า ไม่ได้แตกต่างจากวงวัคซีนไฟเซอร์รุ่นก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ยืนยันวัคซีนโควิด-19 สามารถเก็บได้นาน15 เดือนเนื่องจากมีการพิสูจน์จากประเทศกลุ่มยุโรปว่า มีประสิทธิภาพเท่าเดิม