ส่องภาษี ' ค่าเหยียบแผ่นดิน ' ของประเทศต่าง ๆ
ทำความรู้จัก เหตุผล สิทธิประโยชน์ ของ ' ค่าเหยียบแผ่นดิน ' ที่ผ่าน มติ ครม. และ สำรวจการเก็บภาษี ของ ประเทศต่าง ๆ เท่าไหร่กันบ้าง
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สังคมสนใจ หลังการเปิดเผยของ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้บอกเล่ากับสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (Thailand Traveller Fee : TTF) หรือ ค่าเหยียบแผ่นดิน คาดว่าจะมีผลในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 โดยสำหรับอัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียม แบ่งออกเป็น ช่องทางทางอากาศ 300 บาทต่อคน และช่องทางทางบกและน้ำ 150 บาทต่อคน
สำหรับ ค่าเหยียบแผ่นดิน หรือ ภาษีนักท่องเที่ยว คือ ค่าบริหารจัดการค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเมื่อเดินทางเข้ามาสู่ประเทศนั้นๆ
สำหรับเหตุผลที่ต้องเก็บ สิ่งที่เรียกว่า ค่าเหยียบแผ่นดินนั้น นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เคยอธิบายไว้ว่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ ซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2562 ฉบับปรับปรุง โดยสำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะรับผิดชอบดูแลนำเงินที่ได้มาไปพัฒนาภารกิจเร่งด่วนที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งจำนวนเงินที่เก็บจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 300 บาทต่อคน จะดึงออกมา 50 บาท
เพื่อนำไปซื้อประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต จะได้รับวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท หรือ ค่ารักษาพยาบาล ได้รับสูงสุด 5 แสนบาท เป็นต้น โดยวางแผนเก็บรวมกับค่าตั๋วเครื่องบินกรณีเดินทางทางอากาศ และอยู่ระหว่างการพิจารณาวิธีการเรียกเก็บจากการเดินทางทางบก
จากการตรวจสอบข้อมูล ในเรื่องการ เก็บค่าเหยียบแผ่นดิน ของประเทศต่างๆ ในปัจจุบันมีจำนวน 42 ประเทศ แต่จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อย่างญี่ปุ่น ก็จะเรียกว่า ซาโยนาระ แท็กซ์ ก็จัดเก็บในอัตราใกล้กับไทย โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละประเทศ ก็จะมีวัตถุประสงค์คล้ายกัน คือ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว
เช่นเดียวกัน หลายประเทศในยุโรปมีการเพิ่มภาษีนักท่องเที่ยวเข้าไปในใบเรียกเก็บเงินของโรงแรม ในฝรั่งเศส ภาษีจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณอยู่ สถานที่ที่ถือว่าเป็น "เมืองท่องเที่ยว" หรือ " รีสอร์ท" เช่น ปารีสและลียง เก็บภาษีและใช้เพื่อรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว
เยอรมนีมี "ภาษีวัฒนธรรม" เรียกว่า kulturförderabgabe และ "ภาษีเตียง" เรียกว่า bettensteuer ในเมืองต่างๆ เช่น แฟรงก์เฟิร์ต ฮัมบูร์ก และเบอร์ลิน ภาษีไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและสูงถึง 5 ยูโร ($ 5.67) ต่อคนต่อวันหรือ 5% ของบิลโรงแรม ตามข้อมูลของ Hostelworld
ส่วน สเปน สถานที่บางแห่งในประเทศเรียกเก็บเงินเพิ่มจากนักท่องเที่ยว ในช่วงฤดูท่องเที่ยว อาจมีค่าธรรมเนียมคงที่ 4 ยูโร (4.54 ดอลลาร์) ต่อวันต่อคนตามข้อมูลของ Ireland's Independent ในมาดริด จะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวในบาร์เซโลนาจะถูก เรียกเก็บเงินสูงถึง 2.50 ยูโร ($2.84) ต่อวัน ตามรายงานของDaily Mail
ขณะที่ ภาษีนักท่องเที่ยวของสวิตเซอร์แลนด์ยังแตกต่างกันไปตามสถานที่ ราคาเป็นราคาต่อคืนและต่อคน และถูกกว่าสำหรับที่พักแบบโฮสเทลหรือที่ตั้งแคมป์ จากข้อมูลของ My Swiss Alps จำนวนเงินทั่วไปคือ 2.50 ฟรังก์สวิส ($2.50)
หมู่เกาะแคริบเบียนส่วนใหญ่มีภาษีนักท่องเที่ยวรวมอยู่ในค่าโรงแรมหรือค่าธรรมเนียมการเดินทาง ประเทศที่ทำคือแอนติกาและบาร์บูดา อารูบา บาฮามาส บาร์เบโดส เบอร์มิวดา โบแนร์ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หมู่เกาะเคย์แมน โดมินิกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เกรนาดา เฮติ จาเมกา มอนต์เซอร์รัต เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ ลูเซีย เซนต์มาร์เท่น เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ตรินิแดดและโตเบโก และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา
จากข้อมูลของ TripSavvy ค่าธรรมเนียมการออกเดินทางมักจะรวมอยู่ในราคาตั๋วเครื่องบินหรือล่องเรือ โดยมีราคาตั้งแต่ 15 ดอลลาร์ในบาฮามาสไปจนถึง 51 ดอลลาร์ในแอนติกาและบาร์บูดา
ญี่ปุ่น จัดเก็บ Sayonara Tax ตั้งแต่มกราคม 2562 อัตรา 9.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน หรือราว 1,000 เยน (ราว 290 บาท) เก็บรวมไว้กับค่าโดยสารเครื่องบินและค่าโดยสารทางเรือของผู้โดยสารต่างชาติทุกคนเมื่อทำการจองตั๋ว โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ
ภูฏาน จัดเก็บ Tourist Tax อัตรา 200 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 250 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/คืน (ราว 8,300 บาท) ตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม และกันยายน – พฤศจิกายน (ฤดูท่องเที่ยว) 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อวัน (ราว 6,640 บาท) ตั้งแต่เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และมิถุนายน – สิงหาคม (นอกฤดูท่องเที่ยว) ถือว่าภูฏานเป็นประเทศที่เรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดินแพงที่สุดในโลก
สำหรับไทยเป็นประเทศแรกที่จะนำเงิน300 บาทที่ได้รับนำเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยประมาณ 50% และซื้อประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยว 20% (ระยะเวลาความคุ้มครอง 45 วัน) ส่วนเงินที่เหลือประมาณ 20-30% จะเป็นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบริษัทหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ