ข่าว

รพ.สต.บางกร่าง สร้าง 'สะพานบุญโมเดล' ใช้ศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง

รพ.สต.บางกร่าง สร้าง 'สะพานบุญโมเดล' ใช้ศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง

25 ก.พ. 2566

รพ.สต.บางกร่าง นนทบุรี สร้าง ‘สะพานบุญโมเดล’ ใช้ศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง ดูแลสุขภาพกาย-ใจ-เศรษฐกิจ ให้คนในชุมชน

25 ก.พ. 2566 นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4 ให้สัมภาษณ์ว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ถือเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่ เป็นที่คุ้นชินและไว้วางใจของประชาชน ซึ่งนอกจากภารกิจหลักในการรักษา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพแล้ว ที่ รพ.สต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี ยังใช้ศักยภาพชุมชนเข้มแข็งมาพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้กับประชาชน ภายใต้ชื่อสะพานบุญโมเดล 

โดยดึงทุกภาคส่วน ได้แก่ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลศรีธัญญา อสม. ตำรวจ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พระสงฆ์ จิตอาสา ประชาชน และภาคเอกชนในพื้นที่ มาร่วมให้ความรู้การดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน ผ่าน 6 กระบวนการ ได้แก่ 

 

1.การสื่อสาร ให้ความรู้ กับทีมสุขภาพ (อสม./จิตอาสา/ผู้นำชุมชน) เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 การเฝ้าระวังสุขภาพจิต สร้างวัคซีนใจ เพื่อถ่ายทอดและดูแลคนในชุมชนผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ รวมทั้ง จัดฝึกอาชีพ เช่น การปลูกเห็ดโคนน้อยการทำเล็บเจล ขนมไทย กระเป๋าผ้าขาวม้า เป็นต้น

 

2. การคัดกรอง เช่น คัดกรองคนในชุมชน งานพิธีต่างๆ ตามมาตรการโควิด 19 ดูแลสุขภาพจิต อสม. เพื่อให้มีความพร้อมเยี่ยมบ้าน ประเมินสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าให้กับคนในชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาได้คัดกรองผู้มีความเสี่ยงจากแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) 786 คน พบผิดปกติ 43 คน คัดกรองแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) ต่อพบผิดปกติ 21 คน และคัดกรองด้วย 8 คำถาม (8Q) พบมีแนวโน้มฆ่าตัวตาย4 คน ได้ส่งพบแพทย์รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 

รพ.สต.บางกร่าง สร้าง \'สะพานบุญโมเดล\' ใช้ศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง

3.การเยี่ยมบ้าน อาทิ ครอบครัวที่สูญเสียสมาชิกจากโควิด 19 โดยทีมสุขภาพจิตและเครือข่ายชุมชน เยี่ยมบ้านผู้ป่วยซึมเศร้า ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ รวมถึงมี อสม. ช่วยส่งยาให้ผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่สามารถมารับยาที่ รพ.สต. ทำให้สามารถรับยาได้ต่อเนื่องตามแผนการรักษาของแพทย์

 

4.การดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ในระบบ Home Isolation โดย อสม. จิตอาสา ผู้นำชุมชน ผ่านไลน์ เพื่อประเมินอาการและรายงานเข้าระบบ มีโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จัดทีมม้าเร็วส่งยา/อาหาร โดยตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2565 ดูแลผู้ป่วย Home Isolation 1,003 คน ได้ครบ 100% ตามมาตรฐานการรักษา

 

5.มีการติดตามประเมินผล

6.นำไปใช้เป็นต้นแบบการดูแลในชุมชนอื่นๆ ต่อไป

 

นพ.สุรโชค กล่าวต่อว่า สิ่งที่ได้จากโครงการสะพานบุญโมเดล คือ คนในชุมชนที่มีพลังเข้มแข็ง ทุ่มเทเพื่อสุขภาพของคนในชุมชนเอง ผ่านเครื่องมือสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่ายในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนและยังเกิดความรู้สึกปลอดภัย สงบ มีความหวัง มีความเข้าใจและให้โอกาส นอกจากนี้ การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในชุมชน ทำให้สามารถชักนำกลุ่ม 608 ในพื้นที่ให้รับวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 3 ได้ถึง 92% คัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ 115 คน มะเร็งลำไส้ใหญ่ 185 คน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายการคัดกรอง

รพ.สต.บางกร่าง สร้าง

รพ.สต.บางกร่าง สร้าง \'สะพานบุญโมเดล\' ใช้ศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง