ผู้เสียหาย ข้องใจ 'ทุจริตเงินทอนบ้านทหาร' ลงโทษแค่ ตัดเงินบำเหน็จ 6เดือน
ผู้เสียหาย เปิดใจ การลงโทษ ผู้ทำผิด 'ทุจริตเงินทอนบ้านทหาร' ลงโทษแค่กักตัว 7 วัน ตัดเงินบำเหน็จ 6 เดือน ส.ส.ก้าวไกล ระบุ 'ประยุทธ์' ต้องดำเนินการเด็ดขาด
จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เหตุจ่าคลั่งกราดยิงโคราช ส่งผลให้เกิดการเปิดเผย เรื่องการทุจริตบ้านพักสวัสดิการข้าราชการทหาร มีการหักเงินหลักแสนบาท แล้วไปเข้ากระเป๋าของนายพล มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน แต่ผลการลงโทษมีเพียงตัดบำเหน็จ 6 เดือน ทำให้เกิดคำถามขึ้น รวมทั้งฝ่ายค้านได้อภิปรายเรื่องนี้ รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี
รายการ คมชัดลึก เนชั่นทีวี พูดคุยกับผู้เสียหาย และ ผู้อภิปรายประเด็นนี้ในสภา หัวข้อ ทุจริตบ้านพักกองทัพลงโทษ “นายพล” แค่ตัดบำเหน็จ?
พัสนีย์ พูลสุข ผู้เสียหาย ที่เปิดโปงเรื่องทุจริตบ้านพักสวัสดิการทหาร จนต้องทำการร้องขอคุ้มครองพยาน กับทางกระทรวงยุติธรรม ได้เล่าให้ฟังว่า ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องจ่ายเงิน 5 %ในการเข้าทำงานให้กองทัพ ตอนแรกไม่ทราบว่าค่าธรรมเนียม เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ใครเป็นคนอนุมัติโครงการก็มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลประโยชน์ ตั้งแต่ปี 56 -63 ที่ทราบว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับจ่าคลั่งที่โคราช มีทหารมาร้องเรียนตนเอง และทราบว่ามีบุคคลแอบอ้างเป็นผู้ประกอบการไปแอบอ้างขายบ้านให้กับกำลังพล ทำให้ตนตามหาความจริงว่าใครนำไปแอบอ้าง ที่กำลังพลต้องการคือเงินทอน จากการกู้เงิน จะมีเงินทอน จากการซื้อบ้าน ยกตัวอย่างบ้าน 1.5 ล้านบาท กำลังพลจะได้เงินทอน 5 แสนบาท
แต่เขาไม่ได้ เคสที่ติดต่อมาเป็นกำลังพลทางใต้ โทรมาหาตน จึงทำให้สืบทราบว่า มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องในการอนุมัติโครงการ จึงร้องขอให้มีการตรวจสอบ ในกรณีของจ่าคลั่งที่โคราช มีการถูกโกงเงินไม่ได้รับเงินทอน ต้นปี 2563 ส่วนตน จับได้ก่อน มีการแอบอ้าง ตนจึงประสานต่อให้กรมช่วยตัวสอบย มีดเจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์การอนุมัติ คือต้องมีการตรวจบ้าน ตรวจหลักทรัพย์ จึงจะอนุมัติ ต่างจากของคุณป้า ที่โกงเงินจ่าคลั่ง ตนมีความสงสัยตั้งแต่ตอนนั้น จึงร้องขอให้ตรวจสอบเพิ่มเติม
การที่ต้องขอความคุ้มครอง เพราะไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกคุกคาม เมื่อมีการทราบแล้วว่า มีการทุจริต แต่ไม่ทราบว่าทำไมถึงมีการฟ้องร้องตน บ้านที่ซื้อไปแล้ว 8-9 ปีเสียหานถึงยังมาร้องเรียน ซึ่งตนก็ให้ความร่วมมือ จากที่คิดว่าเป็นการไกล่เกลี่ย แต่เป็นคุกคาม เกิดเหตุมีปลายปี 2564
กระบวนการตรวจสอบของกองทัพบก ในมุมมองผู้เสียหาย ที่ทำการร้องเรียนการทุจริตจนถูกคุกคาม พัสนีย์ บอกว่า มีการช่วยเหลือกันชัดเจน ไม่มีการสืบต่อเพื่อนำคนผิดมาลงโทษ กลับโยนภาระมาให้ตนว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่การร้องเรียนทุกครั้งย้ำว่าเป็นเรื่องทุจริต ข้างบนไม่รู้ว่าทราบหรือไม่ทราบ แต่ข้างล่างรับทราบแล้วว่าไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นเป็นเรื่องทุจริตในองค์กร ผู้อนุมัติโครงการเป็นผุ้นำสูงสุดในองค์กร มีนายพลคนหนึ่งที่เป็นหนึ่งในขบวนการทุจริตเงิน และมีเสนาธิการอีกหนึ่งคน มีหน้าที่รับเงินโอน 5 %จากตน เพื่อนำไปให้กำลังพล แต่ส่งให้ใครบ้างไม่ทราบ แต่เท่าที่รู้คือ นำส่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรแน่นอน
ในการลงโทษที่เกิดขึ้น คือ การตัดบำเหน็จ ตั้งแต่เมษายน จนถึงตุลาคม 2566 ซึ่งนายพลคนนี้กำลังจะเกษียณอายุราชการ อีกคนนั้น แสดงความรับผิด คืนเงินมาบางส่วน และกักตัว 7 วัน
ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในการทุจริตกับกำลังพล ต้องการชี้ให้เห็นถึงการกินเล็กกินน้อยต่อเนื่องยาวนาน อย่างเรื่องการเรียกเงิน 5 % เป็นเรื่องเล็กน้อย ผู้ประกอบการไม่จ่ายก็ไม่ได้งาน ส่วนนายพลก็คิดว่ากินนิดกินหน่อยคงไม่เป็นไร แต่เพราะเงิน 5 % ทำให้เกิดขบวนการโกงขึ้นมา เช็กเงินทอนก็ไม่ได้ถึงกำลังพลโดยตรง เพราะต้องไปเข้ากับจ่าเดินเช็ก จากนั้นจะมีจ่าอีกคนหนึ่งที่ดำเนินการกับผู้ประกอบการจำนวน 28 ราย จากนั้นจึงจะส่งเงินทอนให้จ่าอีกคนหนึ่งที่เป็นคนถือแฟ้มผู้ประกอบการ เพื่อให้ทราบว่าจะได้เงินไปส่งนายเท่าไหร่ แต่เมื่อจำนวนมากขึ้น ไม่ทราบว่าเงินส่งให้นายแล้วไปไหนต่อ เงินจำนวนนี้ใช้เวลาทุจริตเป็น 10 ปี
ในส่วนเรื่องของป้าท่านหนึ่ง มีความต้องการจะเส้นใหญ่กว่าผู้ประกอบการ มีการหลอกขายให้กำลังพล รับเงินแต่ไม่มีบ้านจริง แล้วอมเงินไว้ เป็นเรื่องของความโลภ เมื่อมีการเรียกคุย ผู้บริหารทั้งหมดรับทราบเรื่องนี้ คุณป้าท่านนี้เป็นแม่ยายของนายทหาร จับได้25-30 วัน รับทราบว่ามีการทุจริต มีคลิป มีหลักฐานทุกอย่าง แต่ไม่มีทำอะไรเลย จนเกิดเหตุจ่าคลั่ง ขบวนการทุจริตในกองทัพมีจริง แต่ ผบ.ทบ.ไม่มีการดำเนินการจริง แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ แต่ผลสอบค้านสายตา โกงเงินเป็นร้อยล้านบาททำคนตาย 30 คน แต่ลงโทษไม่ตามความเป็นจริง ทำให้เห็นว่าการตรวจสอบภายในของกองทัพมีปัญหา ในต่างประเทศการตรวจสอบกองทัพ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีศาลทหาร
การยื่นหลักฐานเพิ่มที่สำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ที่อภิปรายในสภา ตอนที่ตนอภิปรายไม่มีรัฐมนตรีอยู่ นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามก็ไม่อยู่ในเรื่องที่ถาม เมื่อนายกรัฐมนตรีต้องการให้ส่งหลักฐานให้ มีการคุกคามบุกทำร้ายถึงที่พัก ก็ต้องถามว่า ในเมื่อเอกสาหลักฐานมีแล้ว ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะจัดการอย่างไร แม้จะมีการบอกว่า เป็นเรื่องส่วนตัวของคุณก้อย แต่มันมีโครงสร้างการทุจริตในกองทัพ
ที่ผ่านมา มีความพยายามใช้เงินปิดปากผู้เสียหายมาโดยตลอด รวมทั้งมีการกดดัน ข่มขู่ อย่างนี้อย่าเรื่องว่ากระบวนการตรวจสอบ ซึ่งที่ต้องการจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่าการลงโทษแบบนี้เหมาะสมกับความผิดหรือไม่ การลงโทษใช้กฎเกณฑ์อะไรในการตัดสิน เพราะดูมันยึดโยงด้วยว่า เป็นคนของใคร ด้วยซ้ำไป เมื่อไปดูรูปแบบการอุปถัมภ์ของโรงเรียนนายร้อย ที่เติบโตกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น อย่างเสธ.เงินกู้ ขึ้นไปเป้นเจ้ากรมสวัสดิการทหารบกได้ ก็ต้องเป็นเสธ.เงินกู้ก่อน เติบโตไปตามลำดับ เป็นรองเจ้ากรม อนุมัติกันเป็นขั้นไป รุ่นพี่ขึ้นไปก่อน รุ่นน้องก็ขึ้นตามไป จึงมีสิง่ที่เรียกว่า วัฒนธรรมการคอรัปชั่นในกองทัพ ซึ่งใครมองก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องส่วนตัว