ฝันค้าง 'ทางเลียบเจ้าพระยา' เนรมิตรริมน้ำ 30,000 ล้าน เข็นไปไม่ถึงฝั่ง
ฝันค้าง 'ทางเลียบเจ้าพระยา' เนรมิตรสองฝั่งด้วยงบ 30,000 ล้าน ทนแรงต้านไม่ไหวเข็นโครงการไม่ถึงฝั่งหลังศาลปกครองสั่งระงับ และให้กลับไปฟังเสียงประชาชนใหม่
ถึงกับชะงักกันกลางอากาศสำหรับ โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หรือ โครงการ "ทางเลียบเจ้าพระยา" หลังจากที่ศาลปกครอง ให้ระงับโครงการก่อสร้าง เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเห็นว่าโครงการ "ทางเลียบเจ้าพระยา" จะมีผลกระทบมากมาย ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปวัฒนธรรม การคมนาคม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และผังเมือง จนนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง
เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบมากมาย ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปวัฒนธรรม การคมนาคม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และผังเมือง จนนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง
เมื่อ 9 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครไม่รู้จักโครงการ "ทางเลียบเจ้าพระยา" แรกเริ่มจะก่อสร้างเป็นเพียงแค่ทางปั่นจักรยานริม 2 ฝั่งเจ้าพระยาพร้อมกับการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย พื้นที่นันทนาการ ระยะทางรวม 57 กม. ได้ลงนามในสัญญากับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้วงเงิน 120 ล้านบาท แต่ต้องบอกว่าโครงการไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพราะระหว่างดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ มีเสียงคัดค้านจากหลายภาคส่วนลอยมาอยู่ตลอดเวลา แต่ภาครัฐกลับไม่ได้สนใจเสียงเหล่านั้นจนนำมาซึ่งการฟ้องร้อง 4 หน่วยงานคือ คณะรัฐมนตรี ,คณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ,กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร
สำหรับเส้นทางการต่อสู่ระหว่างภาคประชาสังคมและหน่วยงานเพื่อคัดค้าน ก่อสร้างโครงการ "ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา" จุดเริ่มต้นโครงการที่่วาดฝันไว้ว่าอยากให้เป็นเหมือนริมแม่น้ำฮันของเกาหลีใต้ และแม่น้ำแซนของฝรั่งเศสที่มีไปที่มาดังนี้
1.จุดประกายโครงการ "ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา"
ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแนวคิดที่ถูกริเริ่มในปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่คสช.ยึดอำนาจเข้ามาบริหารประเทศครั้งแรกโดยการนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังจากนั้นในปี 2558 เริ่มมีการเปิดเผยโครงการให้สาธารณชนรับทราบ และคณะรัฐมนตรีได้มีการเห็นชอบให้ศึกษาโครงการในปี 2558 ระหว่างนั้นก็เกิดการต่อต้ายจากกลุ่มต่าง ๆ มากมาย
2.ปี 2562-2563 ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง นำมาสู่การระงับก่อสร้างเฟส 1
หลังที่มีการประกาศก่อสร้าง "ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา" อย่างเป็นทางการจากทางรัฐบาลก็เกดเสียต่อต้านมากมายจนนำมาสู่การฟ้องร้องและยื่นหนังสือคัดค้านต่อรัฐบาลของ กลุ่มสมัชชาแม่น้ำ หลายครั้ง จนสุดท้ายนำมาซึ่งการ ไอฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง และศาลก็ได้รับฟ้องในปีถัดมา ขณะที่กทม.ก็ยังคงพยายามเดินหน้าอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั้ง 5 ก.พ. 2563 ศาลปกครองได้มีการประกาศมาตราการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว จนส่งผลให้โครงการเฟส 1 จากสะพานพระราม 7-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าหยุดชะงักชั่วคราว
3.ปมปัญหาโครงการ "ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา" ส่อผิดระเบียบหลายจุด
แม้ว่าโครงการจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ในขบวนการดำเนินการจำเป็นจะต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนอีกทั้งยังต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่กลับพบว่า กทม. ไม่ได้ส่งแบบที่ให้ม.ลาดกระบังทำมากว่า 7 เดือนให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ.2537) กทม.จะต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่าก่อน แต่กรมเจ้าท่าไม่สามารถอนุญาตได้ เพราะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ผิดกฎหมายผังเมือง ว่าด้วยพื้นที่โล่งกำหนดให้อาคารที่จะปลูกสร้างนอกเหนือพื้นที่เป็นไปเพื่อการคมนาคมและขนส่งเท่านั้น และต้องไม่กระทบแหล่งน้ำสาธารณะ นอกจากนี้โครงการยังบดบังโบราณสถานอีก 24 แห่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา
4.เปิดสัญญาจ้างที่ปรึกษา 120 ล้าน 2 มหาวิทยาลัยรับงาน
การศึกษาแผนแม่บทโครงการ "ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา" ระยะทาง 57 กิโลเมตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามค่าออกแบบก่อสร้าง 120 ล้านบาท พื้นที่นำร่องสองฝั่งรวม 14 กม. จากสะพานพระราม 7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แนวคิดหลัก "เจ้าพระยาเพื่อทุกคน" (Chao Phraya for All) ระหว่างนั้นยังคงมีเสียงสะท้อนเพื่อให้ทบทวนการพัฒนาพื้นที่ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผล
5.ในปี 2564 ศาลปกครองสูงสุดยืนตามศาลปกครองกลางให้หยุดก่อสร้าง
ในขณะนี้การศึกษาแผนแม่บทดำเนินต่อไป กระบวนการทางศาลก็พิจารณาไปแบบคู่ขนาดจนในที่สุด ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา ยืนตามศาลปกครองกลาง คุ้มครองชั่วคราวกรณีเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคมกับพวกรวม 12 ราย ยื่นคำฟ้องต่อศาล เมื่อปลายปี 2561 ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) หยุดการก่อสร้างโครงการ "ทางเลียบเจ้าพระยา" ในส่วนแผนงานที่ 1 เป็นทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาออกไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งพิพากษาเป็นอย่างอื่น
ไม่ว่าจะมีคำสั่งจากศาลปกครองระงับการก่อสร้างชั่วคราว แต่ความพยายามที่จะเข็นโครงการ "ทางเลียบเจ้าพระยา" ของ กทม.ก็ไม่ย่อท้อ เพราะมีการพยายามปรับแบบให้เล็กลง ลดขนาด ลดค่าก่อสร้าง และแม้ว่า กทม.จะพยายามพีเซนต์โครงการอยู่หลายต่อครั้งก็ยังไม่โดนใจมวลชนมากพอ ทำให้เส้นทางการต่อสู้ระหว่าง กทม และภาคประชาชนยืดเยื้อมานานกว่า 9 ปี จนโครงการไม่สามารถคลิกออฟได้ จนท้ายที่สุดนำมาซึ่งคำสั่งยกเลิกการดำเนินโครงการดังกล่าวทั้งหมด เเละทำตามรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดรับฟังความคิดเห็นประชาชาชน
สำหรับโครงการ "ทางเลียบเจ้าพระยา" ระยะทาง 57 กม. เริ่มตั้งแต่ สะพานพระราม 7 ถึง สุดเขตกรุงเทพมหานคร - ฝั่งตะวันออก ประมาณ 36 กม. - ฝั่งตะวันตก ประมาณ 21 กม. โครงการระยะแรก สะพานพระราม 7 - สะพานพระปิ่นเกล้า สองฝั่งรวม 14 กม. - โค้งน้ำส่วนที่แคบที่สุด สวนสันติชัยปราการ 206 เมตร - โค้งน้ำช่วงที่กว้างที่สุด วัดราชาธิวาชวรวิหาร 383 เมตร งบประมาณทั้งหมด 30,000 ลบ.