พร้อมรับมือ 'แผ่นดินไหว' ด้วยเทคโนโลยี เครื่องวัดความสั่น SMS แอปพลิเคชั่น
กรมทรัพยากรธรณี จับมือนักวิชาการถกแนวทางรับมือ 'แผ่นดินไหว' เตรียมพร้อมเสริมความปลอดภัยในตึกสูงในกรุง เล็งใช้เครื่องวัดคลื่นความสั่นสะเทือน ส่ง SMS แจ้งเตือนภัยพิบัติและแอปพลิเคชั่น THAI DISASTER ALERT
13 มี.ค. 66 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี จับมือนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน "แผ่นดินไหว" อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรุงเทพมหานคร จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง 35 วันหลังแผ่นดินไหวตุรกี ประเทศไทยพร้อมรับมือแผ่นดินไหวแล้วหรือยัง
โดยวิทยากรที่มาอภิปรายมี ดร.ภูเวียง ประคำมินทร์ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และรศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพหมานคร โดยจะมีการรับมือแผ่นดินไหวด้วย SMS แจ้งเตือนภัยพิบัติ เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนและแอปพิเคชั่น THAI DISASTER ALERT ที่พร้อมรับมือเหตุการณ์ภัยพิบัติได้อย่างครอบคลุม
จากเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ครั้งรุนแรง ขนาด 7.8 และขนาด 7.5 สร้างความเสียหายให้ตุรกี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 66 โดยหลังเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" หลัก มี "แผ่นดินไหว" ตามมากว่า 3,800 ครั้ง แผ่นดินไหวทั้งสองสร้างความเสียหายให้ประเทศตุรกีและซีเรีย มีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 43,000 แบ่งเป็น 38,000 คนในประเทศตุรกีและ 5,800 คนในประเทศซีเรีย หากมองเหตุการณ์ครั้งนี้ย้อนกลับมาประเทศไทยนี้คือบทเรียนสำคัญที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ "แผ่นดินไหว" พร้อมเตรียมรับมือในอนาคต
ดร.ภูเวียง กล่าวว่า สำหรับแนวทางเบื้องต้นในการแจ้งเตือนประชาชน กรมอุตุนิยมวิทยา ได้วางแผนสำหรับเตือนประชาชนผ่าน SMS โดยเมื่อเกิดแผ่นดินไหวควรมีการแจ้งเตือน SMS ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับรู้แผ่นดินไหวเร็วและทั่วถึงที่สุด ดังนั้นการพัฒนาด้าน SMS ที่สามารถส่งข้อมูลให้ครอบคลุมกับพื้นที่เกิดเหตุ โดยการ แจ้งเตือน จากข้อความความ SMS นั้นจะเป็นการ แจ้งเตือน ระดับรุนแรงและการแจ้งเตือนเฉพาะจากจังหวัดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวเพื่อให้ประชาชนพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น จึงมองว่าเทคโนโลยีพัฒนามาไกลแล้วควรไม่น่าเป็นปัญหามากในการพัฒนาระบบ SMS ให้ดีขึ้นกว่าอดีต
ศ.ดร. ทวิดา กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหวของ กทม. นั้น จะมีการติดตั้งเครื่องวัดอาคารที่เอาไว้ตรวจคลื่นความสั่นของ "แผ่นดินไหว" ในสถานที่สำคัญเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและอาคารที่มีความสูงเกิน 20 ชั้น เพื่อจะได้เป็นจุดนำร่องพร้อมรับมือเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ตอนนี้รัฐบาลควรจัดตั้งงบประมาณให้มากพอที่จะได้ติดตั้งเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนในแต่ละจุดให้ครอบคลุมต่อการแจ้งเตือน "แผ่นดินไหว"และเพื่อให้หลักการทำงานนี้สามารถเดินหน้าต่อไปได้
ปัจจุบัน กรุงเทพฯ ได้ทำแผนที่อาคารเพื่อใช้ในการตรวจสอบพร้อมติดตั้งเครื่องตรวจคลื่นความสั่นแผ่นดินไหวต่างๆ มีทั้งการใช้ระบบ TEXT MAP ที่จะทำให้ทราบว่าในแต่ละอาคารว่าสามารถติดตั้งในส่วนไหนที่ทำให้เครื่องตรวจคลื่นความสั่น "แผ่นดินไหว" ให้มีประสิทธิภาพพร้อมทั้งสามารถรู้ความเสี่ยงต่อเนื่องที่อาจจะเกิดขึ้นจาก "แผ่นดินไหว" ได้อีกด้วย ถ้ามีการเกิด "แผ่นดินไหว" ขึ้นมาจริงๆ ยังมีหน่วยงานเตรียมพร้อม คือ ทีม USAR Thailand ที่พร้อมช่วยผู้คนในอาคารสูงและในเมืองที่มีความซับซ้อนอย่างกรุงเทพฯ
นายกลวัชร กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยากับทางไลน์นั้นก็ได้มีการร่วมมือทำแอปพิเคชั่นไลน์เพื่อที่ทำการแจ้งเตือนเหตุภัยพิบัติต่างๆ และทางกรมอุตุนิยมวิทยาเองก็มีการพัฒนาชื่อแอปพิเคชั่น THAI DISASTER ALERT โดยตัวแอปพิเคชั่นสามารถเลือกจังหวัดที่ต้องการรับการแจ้งเตือน ซึ่งจะกำหนดให้จำนวน 3 จังหวัด ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเลือกจังหวัดที่อยู่ของตนเอง จังหวัดที่ครอบครัวอยู่ และจังหวัดที่ต้องการติดตามความเคลื่อนไหวเป็นกรณีพิเศษจะได้รับข่าวสารต่างๆ ทั้ง "แผ่นดินไหว" และภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งแนะนำให้ประชาชนดาวน์โหลดไว้เพื่อการ แจ้งเตือน ในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สุดท้าย การรับมือเหตุ "แผ่นดินไหว" ตลอดจนไปสู่การเตรียมความพร้อม จะประสบความสำเร็จได้จะต้องให้ภาครัฐร่วมมือกับกรมทรัพยากรธรณีวิทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันให้ ส่งผลเป็นรูปประธรรมและเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชนเพื่อที่ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารการแจ้งเตือนต่างๆ สู่การป้องกันเหตุอนาคตภายภาคหน้า