เหตุ 'สารวัตรคลั่ง' สะท้อนปฏิรูปตำรวจล้มเหลว กฎหมายอาวุธปืนล้าสมัย
เหตุการณ์ 'สารวัตรคลั่ง' ลากยาว 27 ชม.ระงับเหตุจนเสียชีวิต สะท้อนระบบปฏิรูปองค์กรตำรวจไม่ได้ผล กุมอำนาจแบบรวมศูนย์ทำกดเจ้าหน้าที่ให้เครียด กฎหมายพกอาวุธยังล้าสมัย
เหตุการณ์กราดยิง ที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็นบทเรียนการสูญเสียแต่ยังไม่ได้มีใครเข้ามาแก้ปัญหาอย่างยิ่งจัง และยิ่งไปกว่านั้นผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่กลายเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ในระดับชั้นผู้น้อย และมีอาวุธปืนในครอบครองเป็นผู้ก่อเหตุเอง ไม่ว่าจะเป็นเกตุ กราดยิงที่โคราช กราดยิงหนองบัวลำภู ล่าสุดเกิดเหตุ "สารวัตรคลั่ง" ที่กรุงเทพฯ สายไหม สุดท้ายผู้ก่อเหตุต้องเสียชีวิต เพราะการระงับเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนเกิดเป็นคำถามจากสังคมว่า สมควรหรือไม่ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหนึ่งคนเสียสุขภาพจิตและระบบการทำงานจนสุดท้ายตัดสินใจก่อเหตุเช่นนี้
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า จากการศึกษาในระดับโลกเหตุการณ์กราดยิงกว่า 96% ไม่ได้มาจากผู้ป่วย แต่ส่วนใหญ่จะในบุลคลที่มีความเครียดสะสม ทะเลาะเบาะแว้ง เมา ฯลฯ และพบว่ามีอาการป่วยทางจิตเพียง 5% เท่านั้น ส่วนใหญ่จะพบในโรคที่ไม่ได้รับการรักษา คือ โรคจากการติดยาเสพติด และโรคจากการหลงผิดที่รุนแรง หากบุคคลได้รับการรักษาโอกาสที่ก่อเหตุรุนแรงก็จะน้อยมาก
- ปฏิรูปไม่คืบหน้า บริหารแบบรวมศูนย์สารตั้งต้นความเครียด ป่วยจิต
แต่สิ่งที่ยังเป็นคำถามและสร้างข้อกังขาให้กับสังคมคงจะเป็นเรื่อง กฎหมายครอบครองอาวุธปืน และการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ของประเทศไทยที่มีไม่มีความคืบหน้า และความล้าสมัย ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล นักอาชญาวิทยา ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงการ ปฏิรูปตำรวจ และยกเครื่องกฎหมายพกพาอาวุธปืนของประเทศไทยเอาไว้อย่างน่าสนใจ ว่า ต้องยอมรับว่าการปฏิรูปตำรวจของไทยไม่มีความคืบหน้ามากหนัก แม้ว่าเรื่องนี้จะถูกเรียกร้องจากภาคประชาชนอย่างหนัก เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันความเป็นองค์กรถูกครอบด้วยการเมือง กระบวนการทำงานของตำรวจ 100% ขึ้นอยู่กับการเมืองทั้งสิ้น อีกทั้งการเมืองยังมีอำนาจในการแต่งตั้ง โยกย้าย และกระบวนการทางการเมืองยังไม่ยอมปล่อยให้องค์กรตำรวจเป็นอิสระจากตัวเอง เพราะต้องการเก็บเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ใช้งาน รวมไปถึงการต้องการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดการปฏิรูปจึงยังไม่มีความคืบหน้า
ดร.กฤษณพงค์ กล่าวต่อว่า การบริหารองค์กรตำรวจแบบรวมศูนย์อำนาจไว้จุดเดียว นำมาซึ่งประสิทธิภาพในการทำงาน และภาวะสุขภาพจิต สุขภาพกายของตรวจแน่นอน เพราะต้องยอมรับว่าการทำงานของตำรวจไทยมีรูปแบบการทำานแบบทหาร คือการบังคับใช้กฎหมาย แต่ในความเป็นจริงจะต้องวางบทบาทให้ตำรวจเป็นผู้บริการประชาชนมากกว่า
- ออกกฎหมายพกอาวุธปืนเข้มงวดบริบทสังคมไทยยังมีข้อจำกัด
ดร.กฤษณะพงค์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีการปรับปรุงกฎหมายการพกพาอาวุธปืนของประเทศไทย ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ประชาชนคาดหวังว่าตรวจจะต้องทำงาน 24 ชั่วโมง เกิดเหตุทีไรก็ต้องมีตำรวจเข้ามาช่วยเหลือแม้ว่าจะอยู่นอกเวลางาน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องพกปืนกลับบ้านด้วย โดยกรณีตนเห็นว่าหากจะดำเนินการเหมือนกับต่างประเทศ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ต้องพกปืนกลับบ้าน จะต้องมีการพิจารณาบริบท พื้นที่ ปัญหาอาชญากรรม การเข้าถึงจุดเกิดเหตุที่ต้องรวดเร็ว อนาคตประเทศไทยคงสามารถออกกฎหมายไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพกปืนได้
- เกาหลีใต้ประเทศพัฒนาออกกฎคุมปืนลดฆาตกรรมจากปืนได้ 100%
อย่างไรก็ตามในประเทศที่พัฒนามีการกำหนด มีการบัญญัติกฎหมายในการครอบครองและใช้งาน อาวุธปืน อย่างเข็มงวด เช่น ประเทศเกาหลีใต้ที่เคยเป็นประเทศที่มีการก่ออาชญากรรม และฆาตกรรม เพราะปืนมากที่สุดในช่วงหลังสงครามเนื่องจากปืนไม่ได้ถูกเก็บกลับคืน ประกอบกับเมื่อปี 1973 มีรายงานนายทหารคนหนึ่งหนีออกจากค่ายและได้กราดยิงผู้บริสุทธิ์ จนเสียชีวิต 8 ราย รวมทั้งมีการฆาตกรรมแฟนสาวด้วยปืน หลังจากนั้น ในปี 1990 เกาหลีใต้ได้เริ่มปฏิวัติกฎหมาย และปฏิรูปตำรวจครั้งใหญ่ และเข้มงวดในการพกอาวุธผืนมายิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิดตำรวจต้องทำงานอย่างมีสุข
ปัจจุบัน เกาหลีใต้ ควบคุมอาวุธปืนภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยของอาวุธ ปืน ดาบ วัตถุระเบิด โดยมีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเก็บปืนไว้ที่สถานีตำรวจทุกคน พร้อมกับจะต้องมีการต่ออายุใบอนุญาตคครอบครองอาวุธปืนทุกปี นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพจิตและสุขภาพกายทุกปีด้วย
การออกกฎหมายที่เข้มงวดในการครอบครองปืนของ เกาหลีใต้ ส่งผลให้การเกิดอาชญากรรม ฆาตกรรม ปล้นจี้ด้วยปืนลดลงอย่างต่อเนื่องปัจจุบันพบว่า มีคนเสียชีวิตจากปืนในอัตรา 0.00%ต่อประชากรแสนคน หรือไม่มีเหตุอาชญากรรมเพราะปืนแบบ 100%
อ้างอิง: koreaexpose.com
- ตำรวจทุกคนควรมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการดูแลสภาพจิตใจ
ท้ายที่สุดแล้วคงต้องพิจารณากันต่อว่าเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าระงับเหตุจนส่งผลให้ "สารวัตรคลั่ง" เสียชีวิตนั้น สมควรแล้วหรือไม่ เพราะต้นต่อของความเครียดสะสมมาจากกระบวนการทำงานทั้งสิ้น นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) อธิบายถึงกรณีดังกล่าวว่า ตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้วพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลจากหน่วยงานทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเกิดความผิดปกติทางร่างกายจะต้องดูแล ไม่ใช่การลงโทษ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะมีโอกาสได้เข้ารับการตรวจขสุขภาพจิตเป็นประจำแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ส่วนกรณีที่มีการวิจารย์ว่าการเข้าระงับทำเกินกว่าเหตุหรือไม่จากที่มีการนำเสนอข่าวไปพบว่าเจ้าหน้าที่พยายามใช้เวลาเจรจานานกว่า 27 ชั่วโมง ก่อนตัดสินใจเข้าชาร์จตัวผู้ก่อเหตุ อีกทั้งการเข้าระงับเหตุมีการคำนึงถึงประชาชนที่อยู่โดยรอบ และเกรงว่าจะเกิดอันตรายเพราะผู้ก่อเหตุมีอาวุธปืน แต่อย่างไรก็ตามในกระบวนการตรวจสอบการทำงานเชื่อว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้เกิดเป็นธรรมกับทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ และผู้เสียชีวิต
- กรมสุขภาพจิตถอดบทเรียนกราดยิงป้องกันเกิดซ้ำซาก
จากกรณีกราดยิงในกลุ่มผู้มีอำนาจครองอาวุธปืนจะไม่เกิดขึ้นซ้ำหากใช้มาตรการดูแลสุขภาพนำมาตรการจัดการเชิงวินัย โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญกับมาตรการการดูแลสุขภาพจิตอย่างเป็นระบบ เข็มแข็ง และมีคุณภาพ ยิ่งบุคคลที่อยู่ในสายความมั่นคง ต้องดูแลมากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งในองค์กรต้องช่วยให้บุคคลทำงานจัดการได้ 3 อย่าง 1.จัดการความเครียด 2.จัดการการเงิน 3.จัดการสัมพันธภาพระหว่างเจ้านายลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน เหล่านี้คือมาตรการการดูแลมากกว่ามาตรการด้านจิตใจ
ส่วนการแก้ไขปัญหา ระยะยาวในกลุ่มผู้มีอำนาจในการใช้อาวุธปืน เพื่อป้องกันเหตุรุนแรงซ้ำอีก ต้องทบทวนอาชีพที่สามารถใช้อาวุธปืนรวมถึงกฏหมายการควบคุมอาวุธปืน เป็นการควบคุมสิ่งแวดล้อมสามารถช่วยลดเหตุการณ์ร้ายแรงได้ จึงควรมีการทบทวนกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ