นักวิชาการชี้ "ซีเซียม-137" รังสีต่ำมาก ต้องยืนใกล้ 30 ซม. 1ชม.ถึงมีผลกระทบ
นักวิชาการอธิบาย "ซีเซียม-137" หายถูกถลุง รังสีมีระดับต่ำมากต้องยืนใกล้ ๆ 30 ซม.นาน 1 ชม.จึงจะได้รับผลกระทบ ระบุเป็นโลหะหนักลอยต่ำ และปลิวในอากาศในยาก
ผศ.ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับคมชัดลึก ถึงกรณี "ซีเซียม-137" สูญหายจากโรงงานไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี เกี่ยวกับประเด็นการตกค้าง ปนเปื้อน และการแผร่รังสีหลังจากที่ "ซีเซียม-137" ถูกถลุงเป็นฝุ่นแดงไปแล้ว ว่า อ้างอิงปริมาณ ซีเซียม137 จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในบริเวณโดยรอบโรงงานหลอม ที่ระบุว่า
เจ้าหน้าที่ตรวจพบระดับรังสีในระดับต่ำอยู่ที่ 0.07- 0.10 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ปริมาณรังสรในธรรชาติอยู่ที่ ปริมาณรังสีอยู่ในระดับเท่ากับระดับปริมาณรังสีในธรรมชาติ 0.03 – 0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ในปริมาณดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากรังสีมีระดับต่ำมาก
รังสีจาก "ซีเซียม-137" ที่ปล่อยออกมีระยะเพียง 30 เซนติเมตร (ซม.) เท่านั้น และสามารถปล่อยรังสีได้เพียง 1.2 มิลลิซีเวิร์ต/ 1 ชั่วโมง หากยื่นจากจุดที่มีการปริมาณรังสีในระยะ 30 ซม. ราว ๆ 1 ชั่วโมงจึงได้จะได้รับรังสีราว ๆ 1.28 มิลลิซีเวิร์ต ซึ่งในอัตราดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ซีเซียมมีอยู่ตามอากาศทั่วไป แต่อยู่ในระดับที่ต่ำจนไม่ส่งผผลเสีย และเป็นอันตรายต่อประชาชน หากไม่เข้าไปยืนใกล้ๆจุดเกิดเหตุเป็นเวลานาน
สำหรับกรณีที่ประชาชนกังวลว่าการถูกถลุง จะทำให้ฝุ่น "ซีเซียม-137" ลอยฟุ้งในอากาศนั้นและอาจจะมีผลกระทบไปปนเปื้อนในพืชผลทางการเกษตร แหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฝนตก ผศ.ดร. พงษ์แพทย์ อธิบายว่า ส่วนกรณีการถลุงสารซีเซียมในโรงหลอม หากพิจารณาจากตัวเลขที่ถลุงไปนั้นถือว่ามีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก อีกทั้งระบบพร้อมยังเป็นแบบระบบปิดมีมาตรฐานการหลุดรอดออกมาของสาร "ซีเซียม-137" " ยังมีฟิลเตอร์กรองอีกชั้น รวมไปถึงการถูกเจือจาง ด้วยสารเคมีต่างๆ ในระหว่างหลอม กรณีที่จะหลุดออกมาสู่ชั้นบรรยากาศและมีความเข้มข้นเท่าเดิมถือว่ามีความเป็นไปได้น้อย
แต่ทั้งนี้อาจจะมีการปนเปื้อนใน ผงเหล็กหรือฝุ่นแดง แต่การตรวจสอบก็สามารถทำได้ โดยการวัดรังสีบริเวณรอบๆ ส่วนการตรวจวัดคุณภาพอากาศ น้ำ ดิน ว่ามีสารซีเซียมปนเปื้อนอยู่ หรือไม่นั้นสามารถนำ ตัวอย่างไปตรวจสอบในห้อง lab แต่ที่ผ่านมายังไม่พบว่าเกิดการปนเปื้อนหรือตกค้างของรังสี ในบริเวณอื่นๆนอกจากจุดที่ทำการถลุง
การวัดรังสีในชั้นบรรยากาศนั้น ตามข้อมูลของสำนักตามข้อมูลของสำนักปรมาณูเพื่อสันติพบว่า ไม่ได้มีค่ารังสีในชั้นบรรยากาศเกินกว่าปกติทั่วไป ปริมาณรังสีไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะโดยปกติแล้วในธรรมชาติจะมีรังสีซีเซียมอยู่แล้วแต่มีปริมาณน้อยมากจนไม่ได้มีผลต่อชีวิต
ผศ.ดร. พงษ์แพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนกรณีที่เกรงว่าหากมีฝนตกลงมาอาจจะส่งผลทำให้ส่วนกรณีที่เกรงว่าหากมีฝนตกลงมาอาจจะส่งผลทำให้เกิดการชะล้างหรือในกรณีที่มีลมพัดอาจทำให้สารซีเซียมสามารถปลิวไปได้ในระยะ ชี้แจงว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากเนื่องจากสี่เซี่ยมเป็นโลหะหนัก วิวได้ในระยะที่ไม่สูงมาก และจากการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าการปนเปื้อนในผิวดินจะอยู่บริเวณโดยรอบลงถ้าลงเท่านั้น
ดังนั้นประชาชนที่อยู่บริเวณโดยรอบสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะจากข้อมูลพบว่ายังไม่ได้มีการตกค้างและปนเปื้อนของ "ซีเซียม-137" และยังไม่ได้มีผลกระทบ แต่หากยังมีความกังวลสามารถให้เจ้าหน้าที่หรือขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบผลการตกค้างได้