เปิดพฤติกรรมคนชอบใช้ 'ความรุนแรง' พบทำร้าย ข่มขู่ เหยียดยาม แรงถึงเอาชีวิต
เปิดพฤติกรรมคนชอบใช้ 'ความรุนแรง' พบข่มขู่ ทำร้าย ดูถูก เหยียดหยาม ร้ายแรงถึงขั้นเอาตาย นักวิชาการชี้ เกิดมาจากการปลูกฝั่งจากสภาพสังคม ย้ำหยุดความรุนแรงต้องเริ่มการตั้งแต่สร้างนิสัยในวัยเด็ก
จากเหตุการณ์ที่ข่าวเน็ตไอดอลถูกแฟนทหารฆ่าตายและฆ่าตัวตายตามนั้น เป็นกรณีที่เกิดจาก 'ความรุนแรง' ที่เกิดขึ้นจนถึงชีวิต ซึ่ง 'ความรุนแรง' ในส่วนนี้เกิดจากความหึงหวงจนนำไปสู่การกระทำที่เกิดขึ้น ปัญหาทั้งหมดนั้นอาจจะเกิดมาจาก 'ความรุนแรง' ที่มีผลกระทบในสมัยเด็กถึงปัจจุบัน เพราะอาจจะถูกปลูกฝั่งหรือเห็นความรุนแรงต่างๆจนซึมซับตลอดมา
ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวว่า การใช้ 'ความรุนแรง' นั้นมีหลากหลายประเภท ถ้าไปดูข่าวเก่าๆเคสอื่นๆนั้นมีมากมายที่ถูกกระทำส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ โดยพฤติกรรม 'ความรุนแรง' นั้นจะเกิดขึ้น 2 รูปแบบ
1.พฤติกรรมความรุนแรงทางด้านร่างกาย จะเป็นการใช้ความรุนแรงที่เป็นการ ทุบตี ทำร้าย เตะ ต่อย และใช้อาวุธทำร้ายร่างกาย ที่นำไปสู่การเจ็บทางร่างกายจนไปสู่การเสียชีวิต
2.พฤติกรรมความรุนแรงทางด้านจิตใจ จะเป็นการใช้ 'ความรุนแรง' ที่เป็นการใช้คำพูดหรือกักขังที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ถูกด่า ถูกบลูลี่ การหึงหวง เหยียดหยาม กลั่นแกล้ง กักขัง หึงหวง ควบคุมไม่ให้แสดงความคิดเห็น เป็นต้น
คนที่ใช้ 'ความรุนแรง' สาเหตุมากจากไหนได้บ้าง ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องคนปกติที่จะทำร้ายคนอื่นได้ ส่วนใหญ่นั้นเกิดมาจาก 3 กรณีนี้
1.ครอบครัวใช้ความรุนแรง คือ ครอบครัวที่มีพฤติกรรมการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงหรือใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาเบาะแว้งกัน ด้วยการตีตนเองหรือใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาให้เห็นทำให้เด็กซึมซับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
2.โรงเรียน คือ มีการชดต่อยกันคุณครูตีนักเรียน ซึ่งก็คือความรุนแรงในรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดความซึมซับได้โดยแบบไม่รู้ตัวเพราะสังคมที่โรงเรียนนั้นไม่ใช่แค่ใช้ความรุนแรงทางร่างกาย แต่ยังมีความรุนแรงทางจิตใจที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก เช่น การถูกบูลลี่ทางด้านหน้าตาหรือร่างกาย การถูกกลั่นแกล้ง ต่างๆ โดยการกระทำเหล่านั้นจะส่งผลกระทบทางจิตใจระยะยาว จนนำไปสู่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
3.สังคมที่ทำงาน คือ ยกตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดในแวดวงทหารตำรวจ เช่น การใช้คำสั่งลงโทษของผู้มียศสูงกว่า ดุด่าว่ากล่าวที่ใช้คำพูดรุนแรงทางวาจา ซึ่งเป็นความรุนแรงในสังคมการทำงานทำให้เกิดการเก็บกดจนสู่ความรุนแรงในที่สุด
ดร.ศรีดา กล่าวเสริมว่า 'ความรุนแรง' 3 สาเหตุนี้สามารถนำไปสู่ความรุนแรงทางเพศได้ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เน็ตไอดอลโดนแฟนหนุ่มยิงและฆ่าตัวตายตามที่คอนโด นั้นเป็นความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำที่เกิดจากความหึงหวง จนนำไปสู่ความรุนแรงที่พรากชีวิต เหตุผลมาจากความนิยมของแฟนตนเองเกิดขึ้นมากมายที่มีคนอื่นๆส่งของต่างๆ ทำให้เกิดความหึงหวงแต่ตนไม่สามารถรถ ทำร้ายคนอื่นได้หรือห้ามให้คนอื่นมายุ่งกับแฟนตนไม่ได้เลยมากระทำกับแฟนตนเองจนเป็นเหตุสลด เช่นนี้
โดยส่วนมากที่ใช้ 'ความรุนแรง' จะเป็นช่วงวัยรุ่นตอนปลาย อายุราว 18-21 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองส่วนอารมณ์ความรู้สึกนั้นเริ่มโตเร็ว ทำให้กระตุ้นพฤติกรรมที่สร้าง 'ความรุนแรง' มากขึ้น และองค์ประกอบความรุนแรง 3 อย่างที่เกิดขึ้นทำให้ช่วงเวลานี้เป็นการปลดปล่อยอารมณ์ความรุนแรงทั้งหมดออกมา และมีวิธีการใช้ความรุนแรงที่หลากหลายเพราะเป็นช่วงเวลาที่เติบโตมีภาระกำลังทำให้ใช้ความรุนแรง
คำแนะนำคนที่ได้รับความรุนแรงนั้น ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้ตนโดนความรุนแรงด้วยการหนีหรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อนที่จะสายเกินแก้เพราะความรุนแรงไม่ได้จบลงแค่เจ็บตัวแต่นำไปสู่การเสียชีวิตเลยก็ได้ ยกตัวอย่าง หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ด้วยการไม่เดินไปที่เปลี่ยว ไม่แต่งตัวล่อแหลม หรือไม่อยู่ในสถานที่ ที่อาจเกิดการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม การเลิกใช้ความรุนแรงได้นั้นต้องเกิดการปลูกฝังตั้งแต่เด็กเพราะปัจจัยสำคัญคือสภาพแวดล้อมของตัวบุคคล ถ้าตอนเด็กไม่ได้ถูกปลูกฝังรุนแรง แต่ถูกปลูกฝังด้วยความรักการดูแลเอาใจใส่นั้น จะทำให้ความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปนั้นเอง