ข่าว

แกะเส้นทาง 'ไซยาไนด์' สารพิษปลิดชีพได้ภายใน 10 นาที เดินทางเข้า-ออกไทยยังไง

แกะเส้นทาง 'ไซยาไนด์' สารพิษปลิดชีพได้ภายใน 10 นาที เดินทางเข้า-ออกไทยยังไง

03 พ.ค. 2566

แกะเส้นทาง 'ไซยาไนด์' สารพิษอันตรายปลิดชีพคนได้ภายใน 10 นาที เดินทางเข้า-ออกไทย นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต้องทำยังไง ไขข้อสงสัยทำไมคนทั่วไปครอบครองได้

เริ่มต้นจากคดีฆาตกรรมด้วยสารพิษ "ไซยาไนด์" ของ แอม ไซยาไนด์ ผู้ต้องหาในคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตรตรองไว้ก่อน จนมานำมาสู่การสืบสาวราวเรื่อง เพื่อหาต้นตอ แหล่งสั่งซื้อ "ไซยาไนด์" ซึ่งเป็นสารพิษอันตรายที่นำมาใช้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม และห้องปฏิบัติการเท่านั้น แต่ทำไมสารพิษดังกล่าวจึงตกมาอยู่ในมือของผู้หญิงคนหนึ่ง และใช้พิพากษาชีวิตคนอื่นเป็นสิบๆ  ศพได้ 

 

 

 

ข้อสงสัยในการมี "ไซยาไนด์" ไว้ในครอบครองไม่ได้ถูกตั้งคำถามแค่ในวงการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น แต่มีการสงสัยไปถึงการกับดูแล ควบคุม และนำเข้ามาใช้ในโรงงานอุตสากรรม ว่าการนำเข้า ครอบครอง หรือจำหน่ายสารพิษที่สุดจะอันตรายแบบนี้เป็นอย่างไรกันแน่ คนทั่วไปสามารถครอบครองไซยาไดน์ได้จริงหรือ ลามไปถึงการขาย "ซยาไนด์" ในโลกออนไลน์ที่เกลื่อนกลาดไปหมด แต่ทำไมไม่ได้มีการสืบสวนตามหา และปราบปราม 

"ไซยาไนด์" จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535  เมื่อเจอกับความร้อนจะทำให้เกิดก๊าซพิษ หากได้รับเข้าสู่ร่างกายจะรบกวนการทำงานของอวัยวะภายใน จนเป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งนี้ มีการนำโพแทสเซียมไซยาไนด์มาใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทอง การชุบโลหะ และห้องปฏิบัติการ 
 

 

สารไซยาไนด์

  • การกำกับดูแล "ไซยาไนด์" 

กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีหน้าที่ในการกำกับดูแลในการนำเข้า ส่งออก การนำผ่านและการมีไว้ครอบครอง "ไซยาไนด์" ตามกฎหมายได้แบ่งการควบคุมไซยาไนด์เป็นวัตถุอันตรายโดยมีการแบ่งการควบคุม 4 ชนิด  คือ 

 

  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือ
  • การมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก  การนำผ่าน หรือ
  • การมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือ
  • การมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

  • กระบวนการนำเข้า-ส่งออก "ไซยาไนด์"

สำหรับกระบวนการนำเข้า "ไซยาไนด์" นั้น ข้อมูลจากกรมโรงงานระบุว่า  โรงงานอุตสากรรม ผู้ประกอบการจะต้องขึ้นทะเบียน และต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ โดยจะต้องได้รับอนุญาตก่อนที่จะมีการนำเข้า ส่งออก หรือครอบครอง  โดยผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออก "ไซยาไนด์" จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกส่งออกจากด่านศุลกากร 

 

นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ที่ใช้หรือมีโพแทสเซียมไซยาไนด์อยู่ในครอบครองปริมาณตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป ในรอบ 6 เดือน ต้องแจ้งข้อเท็จจริง  โดยการประกอบการในระหว่างเดือนม.ค.-มิ.ย. ต้องแจ้งภายในก.ค.ของปีนั้น และการประกอบการในระหว่างเดือนก.ค.-ธ.ค.ต้องแจ้งภายในม.ค.ของปีถัดไป 

 

กรณีที่มีโพแทสเซียมไซยาไนด์เพื่อการใช้สอยส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตครอบครอง และกรณีร้านค้าปลีกที่เก็บโพแทสเซียมไซยาไนด์และวัตถุอันตรายชนิดอื่นรวมกันมากกว่า 1,000 กิโลกรัมต้องขออนุญาตครอบครอง

 

  • ประเทศไทยนำเข้า "ไซยาไนด์" เยอะแค่ไหน 

ปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้มีการส่งออก "ไซยาไนด์" หรือผลิตไซยาไนด์ การนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมเป็นการนำเข้ามาทั้งหมด ข้อมูลจากกรมโรงงานระบุว่า ปี 2564 มีการนำเข้าไซยาไนด์  800.6 กิโลกรัม ปี 2565 นำเข้า 504.25 กิโลกรัม ปี2566 91.5 กิโลกรัม รวมปริมาณการนำเข้าไซยาไนด์ตลอด 3 ปี อยู่ที่ 1,396.35 กิโลกรัม โดยในประเทศไทยมีผู้ใช้สารโซเดียมไซยาไนด์ ภายในประเทศ 141 ราย