ข่าว

15 มิ.ย. 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' เปิด 3 กลยุทธ์ ควบคุมสถานการณ์ 'ไข้เลือดออก'

15 มิ.ย. 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' เปิด 3 กลยุทธ์ ควบคุมสถานการณ์ 'ไข้เลือดออก'

15 มิ.ย. 2566

15 มิถุนายน 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' ASEAN Dengue Day เปิด 3 กลยุทธ์ ควบคุมสถานการณ์ 'ไข้เลือดออก' เพื่อลดการระบาด ลดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต

'ไข้เลือดออก' เป็นโรคร้ายที่มักมาในช่วง ฤดูฝน โดยมี ยุงลาย เป็นพาหะ ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี จะเป็น 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' ASEAN Dengue Day ถูกกำหนดเพื่อให้ประชาคมอาเซียนร่วมมือป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยพร้อมเพรียงกัน

 

 

สำหรับ 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' ประจำปี 2566 อยู่ภายใต้แนวคิด "ก้าวสู่สังคมไทย ไม่ป่วยตายด้วยไข้เลือดออก" (Moving Forward to Zero Dengue Death)

 

มีการคาดการณ์ว่าในปี 2566 ประเทศไทยจะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด โดยในปีนี้สถานการณ์ โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 7 มิ.ย. 2566 พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 19,503 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 29.47 เสียชีวิต 17 ราย และจำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่า ปี 2565 ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3.8 เท่า

 

 

กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงที่สุด ได้แก่ อายุ 5-14 ปี รองลงมา 15-24 ปี จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงที่สุดในช่วงเดือนที่ผ่านมา คือ จังหวัดตราด น่าน จันทบุรี แม่ฮ่องสอน และสตูล ตามลำดับ

 

 

เพื่อควบคุมสถานการณ์โรค 'ไข้เลือดออก' จึงดำเนินการ 3 กลยุทธ์ คือ 

 

1. Rebrand รณรงค์ป้องกันก่อนเกิดโรค ปรับภาพลักษณ์หน่วยงานรัฐด้วยนโยบายเชิงรุก 

2. Rethink เปลี่ยนความคิดคนไทยให้รู้เท่าทันภัยร้ายของ 'ไข้เลือดออก' เริ่มต้นจากการดูแลตนเอง 

3. Reconnect ผนึกกำลังภาคีรัฐและเอกชน ชูนวัตกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันการเสียชีวิตจากไข้เลือดออก

 

อาการไข้เลือดออก

 

  • ไข้สูงลอย 2-7 วัน
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อ่อนเพลีย
  • กินอาหารได้น้อย
  • มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง

 

 

4 กลุ่มเสี่ยง ที่จะเกิดอาการรุนแรงจาก ไข้เลือดออก คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้สูงอายุ และเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ถ้ามีอาการไข้ ควรรับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาลดไข้ กลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน และไอบูโปรเฟน ไดโคลฟีแนค ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

 

 

4 กลุ่มเสี่ยง