'ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2566' ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
'ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2566' มีขั้นตอนอย่างไร ทำเรื่องออนไลน์ได้หรือไม่ เช็กเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม ก่อนดำเนินการ
ย้ายทะเบียนบ้านดูเป็นการทำธุรกรรมทางราชการ ที่หลายคนมองข้ามไปหลังซื้อบ้านใหม่ ซึ่งการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่สำหรับเจ้าของบ้าน มีความสำคัญมากกว่าที่คิด และไม่ได้มีวิธีการที่ซับซ้อน "ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2566" หลายคนที่เพิ่งซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง อาจสงสัยว่าสามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ไหม ต้องกลับไปเดินเรื่องที่ภูมิลำเนาเดิมหรือไม่ ต้องเตรียมเอกสารอะไร ติดต่อหน่วยงานไหน และมีขั้นตอนอะไรบ้าง
"ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2566" คือ เราสามารถไปแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ ไม่ว่าจะทั้งแจ้งย้ายออกจากที่อยู่เดิม หรือย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ ณ สำนักทะเบียน ในเขตที่อยู่ใหม่ของเราได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายทะเบียนบ้านในเขตเดิม ทำเสร็จจบในที่เดียว แถมยังใช้เวลารวดเร็วกว่า และผู้ย้ายควรเป็นผู้ไปแจ้งด้วยตนเอง โดยการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ยังช่วยรักษาเวลาการย้ายพร้อมกันทั้งครอบครัวได้ไม่เกิน 3 คนในคราวเดียว โดยต้องไปแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น เพื่อดำเนินการขอย้ายออกจากที่อยู่เดิม เข้าที่อยู่ใหม่ต่อไป
ประโยชน์ของการ "ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2566"
- ย้ายทะเบียนปลายทาง สามารถเป็นหลักฐานยืนยันตัวตนในการดำเนินอนุมัติสินเชื่อเพื่อขอกู้เงินได้
- การย้ายที่อยู่ปลายทางเป็นใบหลักฐานประกอบสำหรับการยื่นเปลี่ยนชื่อใหม่
- การย้ายเข้าทะเบียนบ้านปลายทาง ช่วยระบุตัวตนในการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
เตรียมเอกสาร "ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2566"
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง จะใช้เอกสารคล้ายๆ กับการย้ายทะเบียนบ้านทั่วไป ซึ่งต้องเตรียมสำหรับยื่นให้นายทะเบียนสำหรับการทะเบียนบ้านปลายทางเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย
- สำเนาทะเบียนบ้านหลังใหม่ ที่จะย้ายเข้า โดยต้องเป็นสำเนาฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประชาชนผู้แจ้งย้าย (กรณีไม่มี ใช้ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทางได้)
- เอกสารของเจ้าบ้าน ได้แก่ บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน และหนังสือยินยอมให้เข้ามาอยู่บ้านของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้แจ้งย้าย มาด้วยตัวเองไม่ได้ แต่เอกสารต้องมีครบทั้งของผู้แจ้งย้าย และเจ้าบ้าน โดยให้ผู้แทนซึ่งได้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ดำเนินการ)
ขั้นตอนการ "ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 2566"
- ยื่นเอกสารต่อนายทะเบียนเขต
- นายทะเบียน ตรวจสอบหลักฐาน และลงรายการการขอย้ายที่อยู่ โดยผู้แจ้งย้าย จะต้องลงลายมือชื่อทั้งช่องย้ายออก และย้ายเข้า
- ระบบเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน หลังจากที่นายทะเบียนได้รับใบตอบรับการย้ายออกจากท้องที่ต้นทาง ก็จะสามารถเพิ่มชื่อผู้แจ้งย้ายเข้า ทะเบียนบ้านหลังใหม่ได้เลย
- ชำระค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อการยื่นเรื่อง 1 ครั้ง
กรณีอื่นๆ ในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
- การย้ายทะเบียนบ้าน เข้ามาอยู่บ้านที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ โดยยังไม่มีเจ้าบ้าน ผู้แจ้งย้าย จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินอย่างถูกต้อง
- การย้ายทะเบียนบ้าน โดยที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตั้งแต่แรก จะถือว่าย้ายเข้ามาเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น
*สำหรับคนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เป็นเรื่องที่ง่ายมาก ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเตรียมเอกสารไปครบ เพราะแจ้งย้ายเข้า ย้ายออกทีเดียว และยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน มีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนแต่เพียงผู้เดียวด้วย หรือ จะเป็นการย้ายเพื่อเข้าไปอยู่บ้านของเจ้าบ้าน ก็แค่เตรียมเอกสารของผู้แจ้งย้ายและของเจ้าบ้านให้ครบ