ข่าว

NARIT ชวนชม 'ท้องฟ้า' เดือนกันยายน พบ 2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ

NARIT ชวนชม 'ท้องฟ้า' เดือนกันยายน พบ 2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ

04 ก.ย. 2566

NARIT ชวนชม 'ท้องฟ้า' ในช่วงเดือนกันยายน 2566 พบ 2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี และ วันศารทวิษุวัต วัน-เวลาไหนบ้าง เช็กที่นี่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ชวนดู 'ท้องฟ้า' ยามค่ำคืนในช่วงเดือน ก.ย. 2566 โดยได้อัปเดตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในช่วงเดือน ก.ย. 2566 ทางเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อมูลไว้ซึ่งมีหลักๆ ด้วยกัน 2 ปรากฏการณ์ คือ ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี และ วันศารทวิษุวัต โดยมีช่วงวันเวลาดังนี้

 

 

ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี

 

ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี จะมีในวันที่ 18 ก.ย. 2566 ปรากฏเด่นชัด ดูได้ด้วยตาเปล่า เวลาประมาณ 03.25 น. ถึงรุ่งเช้า

 

วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน จะมีขึ้นในวันที่ 23 ก.ย. 2566 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดีในฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างช่วงวันที่ 22 ถึง 24 ของเดือน ก.ย. ของทุกปี โดยประเทศทางซีกโลกเหนือจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ 

 

การที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกัน ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก

 

 

ดาวเคราะห์ ที่น่าติดตาม

 

ช่วงหัวค่ำ (ทิศตะวันออก)

  • ดาวเสาร์ สังเกตได้ตลอดคืน บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

 

ช่วงกลางดึก (ทิศตะวันออก)

  • ดาวพฤหัสบดี เวลาประมาณ 22.00 น. ถึงรุ่งเช้า บริเวณกลุ่มดาวแกะ

 

ช่วงรุ่งเช้า (ทิศตะวันออก)

  • ดาวศุกร์ สังเกตได้ตลอดทั้งเดือน ตั้งแต่ 03.00 น. จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น
  • ดาวพุธ ตั้งแต่ 17 ก.ย. 2566 เป็นต้นไป ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น

* 22 ก.ย. 2566 เหมาะแก่การสังเกตการณ์ ดาวพุธอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด

 

ดาวเคราะห์ที่น่าสนใจ

 

 

เฟส ดวงจันทร์

  • 7 ก.ย. 2566 ดวงจันทร์กึ่งข้างแรม
  • 15 ก.ย. 2566 จันทร์ดับ
  • 23 ก.ย. 2566 ดวงจันทร์กึ่งข้างขึ้น
  • 29 ก.ย. 2566 ดวงจันทร์เต็มดวง

 

เฟส ดวงจันทร์