ข่าว

เปิดตัว ทายาท (ขนมไทย) 'ท้าวทองกีบม้า' ยังมีชีวิตอยู่

เปิดตัว ทายาท (ขนมไทย) 'ท้าวทองกีบม้า' ยังมีชีวิตอยู่

19 ต.ค. 2566

เปิดภาพล่าสุด ทายาท 'ท้าวทองกีบม้า' ผู้สืบสาน ต้นตำรับ 'ขนมไทย' สูตร ท้าวทองกีบม้า จนถึงปัจจุบัน ยังมีชีวิตอยู่

เรียกได้ว่าเปิดตัววันแรก ก็กระแสแรงทันที สำหรับละครเรื่อง “พรหมลิขิต” จนขึ้นเทรนด์ X (ทวิตเตอร์) พาเรตติ้งทะยาน โดยเฉพาะตัวละคร “ท้าวทองกีบม้า” หรือ ตองกีมาร์ หรือ มารี กีมาร์ ที่กลับมาพูดถึงอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่อง “ขนมไทย” ที่ปัจจุบันเรียกได้ว่า หากินในสูตรต้นตำรับยากมาก แต่ใครจะรู้ว่า เรายังมีทายาทขนมไทย ต้นตำรับท้าวทองกีบม้า ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ยังสืบสานอยู่จนถึงปัจจุบัน

           หุ่นขี้ผึ้งท้าวทองกีบม้า

ประวัติท้าวทองกีบม้า

 

 

“ท้าวทองกีบม้า”  มีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ตำแหน่ง “ท้าวทองกีบม้า” ว่ากันว่า นางได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน, หม้อแกง, ขนมไข่เต่า, ขนมสำปันนี โดยเป็นผู้ที่นำไข่เข้ามาเป็นส่วนประกอบหลัก และมีการใช้น้ำตาลทรายมาเป็นส่วนประกอบในการทำขนมไทย ซึ่งนอกเหนือไปจากแป้งและน้ำตาลมะพร้าวที่มีอยู่แต่เดิม ถือว่าเป็นจุดพลิกเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งสำคัญของขนมไทย จนได้สมญาว่าเป็น “ราชินีแห่งขนมไทย”

 

 

ซึ่งในปัจจุบัน หนึ่งในบรรดาต้นตำรับขนมท้าวทองกีบม้า คือ ขนมไทยของ “ป้ามะลิ” นางมะลิ ภาคาภร อายุ 80 ปี ที่ยังยึดการทำขนมไทยแบบดั้งเดิม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อยู่ที่ ต.เกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา ห่างจากหมู่บ้านญี่ปุ่นและโปรตุเกส ประมาณ 1 กิโลเมตร

ป้ามะลิ ผู้สืบสานตำนานขนมไทยสูตรท้าวทองกีบม้า

ป้ามะลิ ถือเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดชุมชนเครือญาติ “ท้าวทองกีบม้า” ปัจจุบันได้ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขนมไทย ต้นตำรับท้าวทองกีบม้า มีสมาชิกที่เป็นเครือญาติช่วยกันทำขนมทั้งหมด 12 คน

ป้ามะลิ- ชุมชนทำขนมไทย

เมื่อเดือน ส.ค. 2566 ป้ามะลิ เพิ่งเข้ารับปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563-2564 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ป้ามะลิรับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

 

ปัจจุบัน สามารถสั่งขนมไทย ป้ามะลิ ได้จากเพจ ขนมไทย ป้ามะลิ ขนมไทยกรุงเก่า เกาะเรียน สามารถสั่งขนม และเข้าศึกษาเรียนรู้ วิถีการทำ ขนมไทย ต้นตำรับ ท้าวทองกีบม้า ได้

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณภาพจากเพจ : ขนมไทย ป้ามะลิ ขนมไทย กรุงเก่า เกาะเรียน,ข้อมูลประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุทธยา