NARIT เปิดภาพหลอนบน 'ดาวพฤหัสบดี' รับ 'เทศกาลฮาโลวีน' ก่อนโคจรใกล้โลกที่สุด
NARIT เปิดภาพหลอนบน 'ดาวพฤหัสบดี' รับ 'เทศกาลฮาโลวีน' ก่อนโคจรใกล้โลกที่สุดในรอบปี 3 พ.ย. 2566 เริ่มเห็นได้เมื่อไหร่ เช็กเวลาที่นี่
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT ชวนชม 'ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี' ชวนคนไทยส่อง 'ดาวพฤหัสบดี' ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวทั้ง 5 แห่งของ NARIT ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา และขอนแก่น ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในวันที่ 3 พ.ย. 2566 'ดาวพฤหัสบดี' จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่ง ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 595 ล้านกิโลเมตร ซึ่งก่อนที่จะถึงวันนั้น ในช่วง เทศกาลฮาโลวีน NARIT ได้เปิดเผยภาพใบหน้าสุดหลอนมองแล้วชวนขนหัวลุกบน 'ดาวพฤหัสบดี'
นี่คือภาพพื้นที่ "Jet N7" เป็นพื้นที่ชั้นบรรยากาศที่ปั่นป่วนบริเวณขั้วเหนือของดาวพฤหัสบดี (ละติจูดประมาณ 69 องศาเหนือ) มองดูแล้วมีลักษณะคล้ายใบหน้าที่ชวนขนหัวลุก แท้จริงแล้วเป็นอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลพวงจาก "แพริโดเลีย" (pareidolia) ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่สมองเราพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวแล้วจินตนาการออกมาลักษณะคล้ายใบหน้าหรือรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ภาพนี้เป็นเพียงเส้นแบ่งระหว่างซีกกลางวันและกลางคืนบนดาวพฤหัสบดี อีกทั้งมุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ที่เผยให้เห็นกลุ่มเมฆและพายุที่ปั่นป่วน ช่วยให้ นักดาราศาสตร์ สามารถศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ภาพนี้ถ่ายโดยกล้อง JunoCam ของยานอวกาศจูโน (Juno) ขณะที่โคจรรอบดาวพฤหัสบดีรอบที่ 54 ที่ระดับความสูงประมาณ 7,700 กิโลเมตร เหนือชั้นบรรยากาศ เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2566 ประมวลผลโดย Vladimir Tarasov นักวิทยาศาสตร์พลเมือง ที่ใช้ไฟล์ raw ซึ่งเป็นข้อมูลต้นฉบับจากกล้อง JunoCam ที่เปิดให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้
สำหรับ 'ดาวพฤหัสบดี' กำลังจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี วันที่ 3 พ.ย. 2566 ที่จะถึงนี้ เป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่อยากจะสังเกตการณ์หรือถ่ายภาพ ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์กาลิเลียนทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต รวมถึงแถบเมฆที่สวยงามของดาวพฤหัสบดี และหากใช้กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถเห็นจุดแดงใหญ่ พายุหมุนยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า ได้อย่างชัดเจน
ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็น ดวงจันทร์กาลิเลียน ทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต รวมถึง แถบเมฆ ที่สวยงามของดาวพฤหัสบดี และหากใช้กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถเห็น #จุดแดงใหญ่ พายุหมุนยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า ได้อย่างชัดเจน
ข้อมูล-ภาพ : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ