ข่าว

เดือนนี้ห้ามพลาด 'ฝนดาวตกลีโอนิดส์' และ 'ดาวพฤหัสบดี' ใกล้โลกมากสุดในรอบปี

เดือนนี้ห้ามพลาด 'ฝนดาวตกลีโอนิดส์' และ 'ดาวพฤหัสบดี' ใกล้โลกมากสุดในรอบปี

03 พ.ย. 2566

NARIT ชวนชม 'ท้องฟ้า' ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 'ดาวพฤหัสบดี' ใกล้โลกที่สุดในรอบปี และ 'ฝนดาวตกลีโอนิดส์' วันเวลาใดบ้าง เช็กที่นี่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ชวนดู 'ท้องฟ้า' ยามค่ำคืนในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยได้อัปเดตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในช่วงเดือน พ.ย. 2566 ทางเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยมี 2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี และ 'ฝนดาวตกลีโอนิดส์'

 

 

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 'ดาวพฤหัสบดี' กำลังจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี วันที่ 3 พ.ย. 2566 ที่จะถึงนี้ เป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่อยากจะสังเกตการณ์หรือถ่ายภาพ ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์กาลิเลียนทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต รวมถึงแถบเมฆที่สวยงามของดาวพฤหัสบดี และหากใช้กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถเห็นจุดแดงใหญ่ พายุหมุนยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า ได้อย่างชัดเจน 

 

 

ในวันดังกล่าว เมื่อ ดวงอาทิตย์ ลับขอบฟ้า 'ดาวพฤหัสบดี' จะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็น ดวงจันทร์กาลิเลียน ทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต รวมถึง แถบเมฆ ที่สวยงามของดาวพฤหัสบดี และหากใช้กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถเห็น #จุดแดงใหญ่ พายุหมุนยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า ได้อย่างชัดเจน

 

 

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี

 

'ฝนดาวตกลีโอนิดส์' (คืนวันที่ 17 พ.ย. - เช้า 18 พ.ย. 2566) อัตราการตก 15 ดวง/ชั่วโมง หากไร้แสงจันทร์รบกวน สังเกตได้เวลาประมาณ 01.00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พ.ย. 2566 ทางทิศตะวันออก ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวสิงโต 

 

 

ฝนดาวตก เกิดจากโลกเคลื่อนตัดผ่านทางโคจรของ ดาวเคราะห์น้อย หรือ ดาวหาง ที่หลงเหลือเศษฝุ่น และวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ ขณะที่โลกเคลื่อนผ่านสายธารของเศษหินเศษฝุ่น แรงโน้มถ่วงของโลกดึงเศษฝุ่นและหินเหล่านั้นเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก และเกิดการลุกไหม้ กลายเป็นฝนดาวตกหลากสีสันตามองค์ประกอบทางเคมีของดาวตกนั้นๆ