ข่าว

'ธกส.' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ 'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน'

'ธกส.' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ 'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน'

24 พ.ย. 2566

ผู้จัดการ "ธ.ก.ส. " นำทีมลงพื้นที่ สวนผึ้ง ราชบุรี ขับเคลื่อน สร้างโมเดลทางการเกษตรในโรงเรียน เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้บริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัย ผ่านโครงการ "ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน" เผย13 ปี ทำโครงการเข้าถึงสถานศึกษารวม 1,300 แห่ง

ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง ต.สวนผึ้ง   อ.สวนผึ้ง  จ.ราชบุรี 
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร  ได้ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมการสร้างโมเดลทางการเกษตรในโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้บริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัย ปราศจากสารเคมีตกค้าง และเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง โดยเติมหลักสูตรความรู้ด้านการเกษตรและการลงมือปฏิบัติจริง

 

 

 

 

อาทิ การปลูกผักสวนครัวไร้สารพิษ การเลี้ยงปลาและไก่ไข่ การเพาะเห็ด และการหมักปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเกษตรให้กับนักเรียน ในการผลิตและเก็บเกี่ยวผลผลิตไปใช้ในการประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายผลผลิตที่เหลือไปยังตลาดชุมชน เพื่อสร้างรายได้เสริม พร้อมขยายผลองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการ  ไปยังครอบครัวนักเรียนและชุมชนให้สามารถต่อยอดไปเป็นอาชีพได้ในอนาคต  

 

 

 

 

 ในโอกาสนี้  นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร   ได้มอบโรงเรือนปลูกผักและอุปกรณ์ในโรงครัว เพื่อใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน พร้อมร่วมชมกิจกรรมการทำแปลงผัก การเก็บไข่ไก่จากเล้า การทำอาหารจากผลผลิตของโรงเรียน และจัดเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับนักเรียนอีกด้วย


 

 

 

นายฉัตรชัย  ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส. ได้ขับเคลื่อนภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่าน โครงการ ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  ในโรงเรียนมาต่อเนื่องกว่า 13 ปี โดยมีโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 1,300 โรงเรียน เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานด้านการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อนำมาเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน สร้างสุขภาพ พลานามัยที่ดีให้กับเยาวชน และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง

 

 

 

 

กิจกรรมดังกล่าว มุ่งเน้นส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนเองผลิต สามารถพึ่งพาตนเองและนำองค์ความรู้ไปต่อยอดสู่การประกอบอาชีพได้ในอนาคต ได้แก่ การปลูกผัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ไข่ และการทำน้ำหมักชีวภาพ ควบคู่การจัดทำแผนการผลิต  เพื่อให้นักเรียนมีพืชผัก อาหารปลอดภัยมาใช้ในการบริโภคทั้งปี

 

 

 

 

โดยใช้พื้นที่เล็ก ๆ บริเวณโรงเรียนหรือที่อยู่อาศัยให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลาในการผลิตแบบสั้น ๆ ไม่เกิน 45 วัน ตั้งเป้าหมายขยายโครงการปลูกความรู้ตามโมเดลดังกล่าวไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในปีบัญชี 2567 เพิ่มอีกจำนวน 200 แห่ง จำนวนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 9,000 คน   ด้วยแนวทางเพื่อสร้างอาหารปลอดภัย สร้างความรู้และสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

\'ธกส.\' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ \'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน\'

\'ธกส.\' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ \'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน\'

\'ธกส.\' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ \'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน\'

\'ธกส.\' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ \'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน\'

\'ธกส.\' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ \'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน\'

\'ธกส.\' ลงพื้นที่สวนผึ้ง สานต่อ \'ปลูกความรู้ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน\'

ฉัตรชัย  ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นำคณะลงพื้นที่  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง ต.สวนผึ้ง   อ.สวนผึ้ง  จ.ราชบุรี  ร่วมกิจกรรมการสร้างโมเดลทางการเกษตรในโรงเรียน  สนับสนุนให้นักเรียนได้บริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัย ปราศจากสารเคมีตกค้าง และเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง โดยเติมหลักสูตรความรู้ด้านการเกษตรและการลงมือปฏิบัติจริง