ข่าว

5 "โรคฤดูร้อน" มีโรคอะไรบ้าง หากป่วยสามารถ บริจาคโลหิต ได้หรือไม่

5 "โรคฤดูร้อน" มีโรคอะไรบ้าง หากป่วยสามารถ บริจาคโลหิต ได้หรือไม่

11 มี.ค. 2567

เปิดข้อมูล 5 "โรคฤดูร้อน" โรคที่มากับ ฤดูร้อน มีโรคอะไรบ้าง หากป่วยจะสามารถ บริจาคโลหิต ได้หรือไม่ ต้องทำยังไงถึงจะบริจาคได้

ภายหลังที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา อีกทั้งยังคาดการณ์ว่า ฤดูร้อน ปีนี้จะร้อนกว่าปีก่อนๆ ทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการป่วยด้วย "โรคฤดูร้อน" โรคที่มาพร้อมกับฤดูกาล ซึ่งโรคเหล่านี้มีอะไรบ้าง และหากเป็นแล้วจะ บริจาคโลหิต ได้หรือไม่

 

 

  • โรคอาหารเป็นพิษ

 

มักมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ หรือถ่านปนมูกเลือดอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง และบางรายอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

 

ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิต จะต้องไม่มีอาการท้องเสีย 7 วัน จึงจะสามารถบริจาคโลหิตได้ และหากรับประทานยาฆ่าเชื้อต้องเว้นระยะ 7 วันหลังจากรับประทานยาฆ่าเชื้อเม็ดสุดท้าย จึงจะสามารถบริจาคโลหิตได้

 

 

  • โรคอุจจาระร่วง

 

ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง มักมีอาการสำคัญคือ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำจำนวนมาก หรือถ่ายปนมูกเลือด ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจมีไข้ รวมทั้งอาการอาเจียนร่วมด้วย ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง ถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตได้

 

ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิต สามารถบริจาคโลหิตได้ หลังจากไม่มีอาการท้องเสียแล้ว 7 วัน

 

 

  • โรคความดันโลหิตสูง

 

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด จะมีอาการเหนื่อยหอบ ใจสั่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้

 

ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิต หากความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และไม่มีการปรับยาในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนวันบริจาค สามารถบริจาคโลหิตได้

 

 

บริจาคโลหิต

 

 

  • โรคไวรัสตับอักเสบเอ

 

ติดต่อจากการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค รวมทั้งสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง มีไข้ และถ่ายเหลว

 

ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิต หลังจากรักษาจนหายขาดแล้ว 12 เดือน สามารถบริจาคได้ และผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบเอ งดบริจาคโลหิต 6 เดือน

 

 

  • โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ

 

เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในน้ำลายของสัตว์ สามารถติดต่อได้จากการโดนสุนัขหรือแมวกัด หรือถูกเลียร่างกายบริเวณที่มีแผล โดยทั่วไปการรักษาผู้ที่ถูกสุนัขกัด แม้จะไม่ชัดเจนว่าสุนัขที่กัดมีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าหรือไม่ แพทย์มักจะฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้แก่ผู้ป่วย

 

ผู้ที่ได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้า หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว 24 ชั่วโมง หากไม่มีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนสามารถบริจาคโลหิตได้

 

 

นอกจากนี้ โรคที่มาพร้อม "ฤดูร้อน" สามารถป้องกันได้ ด้วยการเลือกทานอาหารที่ปรุงสุก สด ใหม่ และดื่มน้ำสะอาด หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้การบริจาคโลหิตเป็นกระจำทุก 3 เดือนอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยระบบการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง

 

บริจาคโลหิต

 

 

80 แสน ซีซี 80 ปี ธนาคารกรุงเทพ โครงการที่เชิญชวนลูกค้า ประชาชน และพนักงานธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ ร่วมกัน บริจาคโลหิต โดยมีเป้าหมาย 80 แสน ซีซี (8 ล้าน ซีซี) ในโอกาสครบรอบการก่อตั้งธนาคารครบ 80 ปี

 

 

ข้อมูล : กรมควบคุมโรค / ธนาคารกรุงเทพ