ข่าว

23 มีนาคม "วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ร่วมขับเคลื่อน ต่อสู้กับ สภาพภูมิอากาศ

23 มีนาคม "วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ร่วมขับเคลื่อน ต่อสู้กับ สภาพภูมิอากาศ

23 มี.ค. 2567

23 มีนาคม "วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ร่วมขับเคลื่อน เป็นแนวหน้าของภารกิจต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และ ร่วมมือจากทุกภาคส่วน สร้างโลกที่ปลอดภัย

"วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี โดยเริ่มมาจากการที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อสำรวจ สภาพอากาศ ทั่วโลก และทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ ตลอดจนพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้หากสภาพอากาศของโลกเกิดการแปรปรวน โดยใช้ชื่อว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION (WMO)

 

 

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization - WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ ค.ศ. 1950 สืบต่อจากองค์การอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศ (International Meteorological Organization) ที่จัดตั้งเมื่อ ค.ศ. 1873 มีหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาเชิงปฏิบัติการ และภูมิศาสตร์กายภาพแขนงที่เกี่ยวข้อง มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Group) ด้วย

 

"วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ปี 2567 นี้จัดขึ้นภายใต้ประเด็นที่ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) กำหนดให้เป็นวาระที่ต้องการผลักดันให้สังคมโลกได้รับรู้และตระหนักถึงภารกิจของ WMO และประเทศสมาชิกที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและเป็นแนวหน้าของภารกิจต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ปลอดภัย

 

 

การ พยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต การที่จะพยากรณ์อากาศได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ประการแรกคือความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประการที่ สองคือสภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองข้างต้น เข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการ เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

ระยะเวลาของการ พยากรณ์อากาศ

 

การ พยากรณ์อากาศ อาจเป็นการคาดหมายสำหรับช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า จนถึงการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายปีจากปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของการพยากรณ์อากาศตามระยะเวลาที่คาดหมายได้ดังนี้

 

1. การพยากรณ์ปัจจุบัน (nowcast) หมายถึงการรายงานสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศสำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง

 

2. การพยากรณ์ระยะสั้นมาก คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง

 

3. การพยากรณ์ระยะสั้น หมายถึง การพยากรณ์สำหรับระยะเวลาเกินกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 3 วัน

 

4. การพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง คือ การพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่เกินกว่า 3 วันขึ้นไปจนถึง 10 วัน

 

5. การพยากรณ์ระยะยาว คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 30 วัน โดยปกติมักเป็นการพยากรณ์ว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลานั้นจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร

 

6. การพยากรณ์ระยะนาน คือการพยากรณ์ตั้งแต่ 30 วัน จนถึง 2 ปี ซึ่งยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ

  • การคาดหมายรายเดือน คือการคาดหมายว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิกาศอย่างไร
  • การคาดหมายรายสามเดือน คือการคาดหมายค่าว่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยม วิทยาในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
  • การคาดหมายรายฤดู คือการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยของฤดูนั้นว่าจะแตกต่างไปจากค่า เฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร

 

7. การพยากรณ์ภูมิอากาศ คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลามากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น

  • การพยากรณ์การผันแปรของภูมิอากาศ คือการพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผันแปร ไปจากค่าปกติเป็นรายปีจนถึงหลายสิบปี
  • การพยากรณ์ภูมิอากาศคือการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคตโดยพิจารณาทั้ง สาเหตุจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์

 

 

ข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา