ข่าว

"กกท."ปาดเหงื่อ เจรจาถ่ายทอดสด"ฟุตบอลโลก" -"บิ๊กป้อม"ส่งสัญญาณงบสูงไป 

"กกท."ปาดเหงื่อ เจรจาถ่ายทอดสด"ฟุตบอลโลก" -"บิ๊กป้อม"ส่งสัญญาณงบสูงไป 

14 พ.ย. 2565

ผู้ว่าการ กกท.  ยอมรับเจรจาเรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด" ฟุตบอลโลก" เจอขวากหนาม ทั้งการยืนเพดาน ของตัวแทนฟีฟ่า  ยืนกรานที่ 1,600 ล้านบาท   ส่วนการเจรจากับเอกชน ดึงมาร่วมลงทุน งานนี้ไม่ง่ายทั้ง ยอมรับรองนายกรัฐมนตรี  ห่วงใย ราคาที่ประเทศไทย ต้องจ่ายไป เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ 

ดร.ก้องศักด  ยอดมณี  ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย  ( กกท. )   เปิดเผยว่า    การเจรจาเพื่อซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายสด "ฟุตบอลโลก"  หรือ  "ฟุตบอลโลก 2022"  ที่ประเทศกาตาร์ เป็นเจ้าภาพ  จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร  แม้ว่าก่อนหน้านี้  กกท.  จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 600  ล้านบาท  จาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ "กสทช."  แต่ทุกอย่างก็ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร   ถือเป็นภารกิจของ กกท.  ต่อการที่จะต้องผลักดันเรื่องนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ตามที่ได้รับมอบหมาย 

 

 

ปัจจัยที่ทำให้  การเจรจาเพื่อซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด "ฟุตบอลโลก"   ประสบกับอุปสรรค  ประกอบด้วย  ราคาของลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทย  ได้รับจาก  "อินฟรอนต์"  ตัวแทนของฟีฟ่า ในการบริหารลิขสิทธิ์แพร่ภาพ "ฟุตบอลโลก 2022"  ยังคงยืนยันวงเงินในการซื้อลิขสิทธิ์ในราคาของประเทศไทย ที่ 1,600  ล้านบาท  ในขณะที่เวลานี้งบประมาณที่จะใช้เพื่อ หรือเป็นทุนเบื้องต้น    ที่กกท. มีอยู่ มีเพียง 600  ล้านบาท  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กสทช.  เท่ากับว่ายังขาดเงินอยู่อีกจำนวนมาก   ทั้งนี้ กกท. พยายามที่จะเจรจา  กับทางเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อขอให้ลดราคาลงมา แต่การเจรจาดังกล่าว ยังไม่ประสบความสำเร็จ

 

 

 

 

ส่วนที่มีการระบุกันว่า  มีภาคเอกชนตอบรับต่อการเข้ามาสนับสนุนถึงกับมีการประกาศรายชื่อออกไปนั้น   ทาง กกท.ยังไม่ยืนยันรายชื่อตามที่ปรากฏ  เพราะว่าทุกอย่างยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา  สถานการณ์ตอนนี้ กกท.  ทำงานแข่งกับเวลา กับ 2   ภารกิจ คือ การหารือ  กับทางผู้ถือลิขสิทธิ์ให้ปรับลดราคา แพคเกจของประเทศไทย  คือ จาก 1,600  ล้านบาท ปรับลงลงมา  เพื่อให้การแสวงหาแหล่งเงิน ที่จะเข้ามาสนับสนุนในเรื่องนี้  ทำได้ง่ายขึ้น  ส่วนการเจรจากับภาคเอกชน ที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุน แม้ว่า กกท.ในฐานะหน่วยงานรัฐ จะทำหน้าที่หลักในการประสานงาน กับ องค์กรภาคธุรกิจ ที่มีความพร้อม  แต่การเจรจาภายใต้ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อเช่นนี้ ก็ไม่ใช่งานง่าย ที่จะจูงใจ เอกชนให้เข้ามา

 

 

" กกท.  ยังคงเดินหน้ากับภารกิจ  ด้วยความต้องการที่จะให้คนไทย       ได้รับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก  แต่เรื่องนี้  ทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่กกท.  เพราะต้องประสานงานกับหลายฝ่าย บางเรื่องไม่สามารถเร่งรัด  เพราะละเอียดอ่อนมาก   และได้รายงานความคืบหน้า ให้  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี  ทราบเรื่องแล้ว   ซึ่ง  พล.อ. ประวิตร  ก็แสดงความห่วงใย หากประเทศไทย จะต้องใช้เงินจำนวนมากขนาดนั้น เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ส่วนความเป็นไปได้  ที่จะเอาเงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ  หน่วยงานในกำกับของกกท. มาสำรองจ่าย เพื่อถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก โดยระเบียบแล้วไม่สามารถทำได้    เพราะเงินจากกองทุนฯ เอง   มีภารกิจที่จะรองรับการใช้จ่ายอยู่แล้ว  ซึ่งถึงขณะนี้ยังไม่สามรถตอบคำถามได้ว่า  ประเทศไทยมีโอกาสกี่เปอร์เซ็น กับการถ่ายสดฟุตบอลโลก ทั้ง 64  นัด  เพราะทุกอย่างยังอยู่ในกระบวนการเจรจา   สิ่งที่กกท. ทำในขณะนี้คือหาทางออกเรื่องนี้ให้ได้ โดยเร็วที่สุด "     ผู้ว่า กกท.  กล่าว  

 

 

 

ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ    และ  ดร.ก้องศักด ยอดมณี  ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย)

ดร.ก้องศักด ยอดมณี  ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย