ข่าว

สภาพอากาศ-ชุดแข่ง ปัจจัยคร่าชีวิต 'ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม' 

สภาพอากาศ-ชุดแข่ง ปัจจัยคร่าชีวิต 'ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม' 

31 มี.ค. 2566

ถึงนาทีนี้แล้วปัจจัยการเสียชีวิตของประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ และผู้บริหารทีมแข่งวัฒนามอเตอร์สปอร์ต "ชนม์สวัสดิ์  อัศวเหม" เชื่อมโยงเข้ากับการเกิดภาวะ"โรคลมแดด" หรือ" โรคฮีทสโตรก"และปัจจัยแวดล้อมต่อจากนี้ นี่อาจจะเป็นความเสี่ยงของนักแข่งที่ต้องเผชิญ  

"ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม" หรือ  "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์"ทายาทแห่งตระกูลอัศวเหม วัย 55 ปี  ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการเสียชีวิตภายในเวลาไม่ถึง 24  ชั่วโมง นับจากการถูกส่งตัวไปรักษา  หลังจากมีอาการหมดสติ ขณะซ้อมแข่งขันรถยนต์ที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต 
อ.เมือง จ.บุรีรัมย์  ชนม์สวัสดิ์  นอกจากเป็นผู้ก่อตั้งทีมแข่งรถยนต์"วัฒนามอเตอร์สปอร์ต"แล้ว  บทบาทของเขาอีกด้านก็คือนักแข่งรถยนต์ เช่นเดียวกับ สนธยา คุณปลื้ม  นักการเมืองจากตระกูลคุณปลื้ม และ ปิติ ภิรมย์ภักดี  "ต๊อด" นักธุรกิจ และผู้บริหารจากกลุ่มบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

 

 


ข้อมูลที่"คมชัดลึก" ได้รับจากผู้ที่อยู่ในวงการมอเตอร์สปอร์ต   ในกลุ่มกีฬาแข่งขันรถยนต์  ระบุสภาพอากาศในวันเกิดเหตุ , ชุดแข่งขันที่ "ชนม์สวัสดิ์  อัศวเหม" สวมใส่ หรือแม้แต่สภาพรถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน  ล้วนแต่เป็นวงจรของการเชื่อมโยง ที่มีส่วนทำให้นักกีฬาหรือนักแข่ง ได้รับอันตรายถึงชีวิต  ทั้งนี้  "ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม"อยู่ระหว่างการฝึกซ้อม เพื่อเข้าแข่งขันรถยนต์ในรายการ ในรายการ บี-ควิก ไทยแลนด์ซูเปอร์ซีรีส์ 2023  B-Quik Thailand Super Series  2023  หรือ "ไทยแลนด์ซูเปอร์ซีรีส์ 2023"  ซึ่งจะแข่งขันรวม 5  สนามทั้งในไทยและต่างประเทศ 

 

 

 

สนามแรกของฤดูกาลแข่งขัน 20 - 23 เม.ย.  ที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ อันเป็นสนามเดียวที่ใช้ในการฝึกซ้อม เท่ากับว่าก่อนเกิดเหตุมีเวลาอีกเพียง 20  วัน ก็จะเข้าสู่ฤดูกาลแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ ซึ่ง"เอ๋ ชนม์สวัสดิ์" จะนำทีมลงแข่งขัน  ขณะที่ในส่วนของการใช้สนาม ตัวสนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต เพิ่งจะผ่านการใช้งานจากการเป็นเจ้าภาพแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์เอเชียโร้ดเรซซิ่ง ในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา  และสัปดาห์ถัดไปก็จะถูกใช้งานอย่างเต็มรูปแบบกับการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์ประเทศไทย "โออาร์ บีอาร์ไอซี ซูเปอร์ไบค์ 2023"  7 - 9 เม.ย.

 

 

 

ด้วยความถี่ของการใช้งานสนาม ทำให้ในฝั่งของรถยนต์เมื่อสะดวกกับการวางโปรแกรมการฝึกซ้อม   จึงเป็นการใช้รอยต่อในช่วงเข้าสู่สุดสัปดาห์ จากนั้นจึงคืนสนามเพราะจะเป็นคิวซึ่งทีมแข่งจักรยานยนต์จะมาใช้ฝึกซ้อมบ้างก่อนแข่งขันจริง  ดังนั้นการฝึกซ้อมท่ามกลางสภาพของฤดูร้อนจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  ขณะเดียวกันในโครงสร้างของชุดแข่งขันก็ถือว่ามีส่วน ที่จะทำให้นักแข่งรู้สึกได้ถึง การสูญเสียเหงื่อ หรือร้อนอบอ้าวมากกว่าปกติ  กล่าวคือนักแข่งจะสวมใส่ชุดในแบบบอดี้สูททั้งท่อนบนและท่อนล่าง    ซึ่งจุดบอดี้สูทก็จะมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การเลือกใช้เนื้อผ้า  

 

 

 

 แต่สิ่งที่ทุกคนจะใช้เหมือนกันก็คือ ก็คือชุดแข่งที่มีมาตรฐานสูง   ใช้วัสดุที่จะมีระยะเวลา ต่อการลุกไหม้  กรณีรถยนต์เกิดอุบัติเหตุและไฟลุกไหม้ภายในห้องผู้โดยสาร  ซึ่งชุดที่นักแข่งใส่จะต้านทานเปลวไฟได้ในระดับหนึ่ง    ในหมวดเครื่องแต่งกายนักแข่งยังรวมไปถึงการสวมหมวกไหมพรม และสวมหมวกนิรภัย อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนเป็นตัวเร่งให้ร่างกายเผชิญกับความร้อน และเมื่อเข้าสู่การซ้อมรถยนต์ ภายในห้องผู้โดยสารจะมีเพียงระบบหมุนเวียนของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ภายในเท่านั้น ในรถแข่งหรือรถซ้อมในห้องผู้โดยสารจะไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ  จึงทำให้ความร้อนระหว่างการแข่งขันหรือการซ้อมสะสมอยู่ที่รถระหว่างอยู่สนามแข่ง เกิดขึ้นกับนักแข่งอย่างเลี่ยงไม่ได้  กระทั่งกลายเป็นที่มาของภาวะโรคลมแดด ที่เกิดขึ้นกับนักแข่ง  
สภาพอากาศ-ชุดแข่ง ปัจจัยคร่าชีวิต \'ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม\'  ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม  นักแข่งและผู้บริหารทีมแข่งรถวัฒนามอเตอร์สปอร์ต

.