ข่าว

"ฤดูหนาว 2567" จะเริ่มหนาวเหมื่อไหร่ ประกาศเข้า ฤดูหนาว เป็นทางการ ได้วันไหน

"ฤดูหนาว 2567" จะเริ่มหนาวเหมื่อไหร่ ประกาศเข้า ฤดูหนาว เป็นทางการ ได้วันไหน

30 ต.ค. 2567

"ฤดูหนาว 2567" จะเริ่มหนาวเหมื่อไหร่ กรมอุตุนิยมวิทยา จะประกาศเข้าสู้ ฤดูหนาว อย่างเป็นทางการได้วันไหน พื้นที่ไหนสัมผัสความเย็นได้ก่อน

กรมอุตุนิยมวิทยา ทำความเข้าใจการเตรียมเข้าสู่ "ฤดูหนาว 2567" (Pre-winter) ก่อนที่จะประกาศเข้าสู่ ฤดูหนาว อย่างเป็นทางการ โดยในช่วง (29 ต.ค. 2567) เป็นวันแรกที่จะเตรียมเข้าสู่ ฤดูหนาว โดยมีเงื่อนไขที่ใช้ในการพิจารณา คือ พื้นที่และการกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบน เริ่มมีฝนลดลงแล้วชัดเจน แล้วและมวลอากาศเย็นเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือภาคอีสานตอนบนแล้ว แต่กำลังยังไม่แรง ทำให้มีทิศทางลมในระดับล่างที่ไหลเวียนออกจากศูนย์กลางของความกดอากาศสูงเป็นลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงเหนือ  

 

 

ส่วนอีกเงื่อนไข คือการลดลงของ อุณหภูมิต่ำสุด มีบางพื้นที่อุณหภูมิในพื้นราบเริ่มลดลงแล้วแต่ยังลดลงเฉพาะภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน สำหรับยอดภู ยอดดอย อากาศเริ่มหนาว ซึ่งเป็นสัญญาณการเตรียมเข้าสู่ ฤดูหนาว 

 

ในระยะนี้ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม. และปริมณฑล ยังมีฝนรบกวนอยู่บ้างเนื่องจากความชื้นสูง และอีกปัจจัยที่ยังทำให้อุณหภูมิไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากในทะเลจีนใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำ (สลายตัวจาก พายุจ่ามี) และ พายุไต้ฝุ่น "กองเร็ย" (KONG-REY) ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกก่อกวน เลยทำให้ทิศทางลมยังมีความแปรปรวน 

 

 

เงื่อนไขเข้าฤดูหนาว

 

แต่ในช่วงต้นเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป จะมีมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจะแผ่ลงมาปกคลุม ภาคเหนือ ภาคอีสาน จะทำให้มีฝนในระยะแรกๆ (1 พ.ย. 2567) ทาง ภาคอีสาน ภาคกลาง กทม. ปริมณฑล และภาคตะวันออก 

 

หลังจากนั้นอากาศภาคอีสานจะเริ่มเย็นลง 2-4 องศาเซลเซียส เช้าวันที่ 2 พ.ย. 2567 ก่อนภาคอื่นๆ ส่วน ภาคเหนือ ภาคกลาง อากาศจะเย็นลง 1-3 องศาเซลเซียส

 

 

ฤดูหนาว

 

 

สำหรับ กทม. และปริมณฑลจะเย็นลง 1-2 องศาเซลเซียส ยอดดอย ยอดภู จะมีอากาศหนาวจัด ความหนาวเย็นจะแผ่ปกคลุมอยู่ถึงวันที่ 7 พ.ย. 2567 เตรียมตัววางแผนไปสัมผัสอากาศเย็นถึงหนาวได้ และช่วงนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา จะมีประกาศเข้าสู่ ฤดูหนาว อย่างเป็นทางการ

 

สำหรับ ภาคใต้ เมื่อลมหนาวมาเยือน ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. 2567 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร ลงไป) ต้องเตรียมรับมือฝนตกหนัก คลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด