อัปเดต สภาพอากาศ 10 วัน ฤดูหนาว 2567 เริ่มชัดเจน เฝ้าระวัง อากาศเย็นปนฝน
อัปเดต สภาพอากาศ 10 วัน ฤดูหนาว 2567 เริ่มชัดเจน กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 4 จังหวัด เฝ้าระวัง อากาศเย็นปนฝน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
อัปเดต กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 2 - 11 พ.ย. 2567 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย : ยังเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู ปลายฝนต้นหนาว สัญญาณ ฤดูหนาว 2567 เริ่มชัดเจนขึ้น ต้องระวังรักษาสุขภาพ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
ช่วงวันที่ 2 - 11 พ.ย. 2567
สัญญาณ ฤดูหนาว จะเริ่มชัดเจนขึ้น คาดว่าจะมีมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ต่อเนื่อง ทำให้ ลมหนาว (ลมตะวันออกเฉียงเหนือ) พัดแรงขึ้น ส่วนลมในระดับกลาง ยังมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ (ลมค้า (trade wind) จากปรากฎการณ์ลานีญา)พัดเข้ามาแทรก การเข้าสู่ฤดูหนาวปีนี้ อาจจะมีฝนปะปนอยู่บ้าง มีลมแรงและมีฝน/ฝนฟ้าคะนองในระยะแรกๆ ในวันนี้ (2 พ.ย. 2567) ทางภาคกลางด้านตะวันตก กทม. ปริมณฑล และภาคตะวันออก พี่น้องเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันผลผลิตทางเกษตรที่อาจจะเกิดขึ้นจากฝนที่ตกในระยะแรกนี้
หลังจากนั้นอากาศจะเริ่มเย็นลงโดยเริ่มทางภาคอีสานก่อน อุณหภูมิจะเริ่ม 2 - 4 องศาเซลเซียส ในเช้าวันนี้ (2 พ.ย. 2567) ส่วนภาคเหนือ ลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ภาคกลาง อากาศจะเย็นลง 1 - 3 องศาเซลเซียส สำหรับ กทม. และปริมณฑลจะเย็นลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ยอดดอย ยอดภู จะมี อากาศหนาวจัด ความหนาวเย็นจะแผ่ปกคลุมอยู่ถึงวันที่ 11 พ.ย. 2567
ช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. 2567
ภาคเหนือ ตอนบน (จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน) อาจจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น (อากาศเย็นปนฝน) เนื่องจากมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมต้องเฝ้าระวัง ฝนฟ้าคะนอง สำหรับ อากาศเย็นถึงหนาว จะได้สัมผัสกันยาวๆ บางวันอาจจะมีฝนปนหนาวบ้าง เตรียมตัววางแผนไปสัมผัสอากาศเย็นถึงหนาวได้และติดตามประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการจากกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้ง ระวังรักษาสุขภาพช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง
สำหรับภาคใต้ เมื่อลมหนาวมาเยือน (ลมเปลี่ยนทิศทาง) ตั้งแต่วันที่ 3 - 6 พ.ย. 2567 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร ลงไป) ต้องเตรียมรับมือ ฝนตกหนัก ฝนตกสะสม คลื่นลมแรงขึ้น อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลควรใช้ข้อมูลผลการตรวจวัดจริงมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ไม่ควรวิเคราะห์เฉพาะจากแบบจำลองฯ)