ข่าว

เตือนฝุ่น "3 พื้นที่เสี่ยง กทม." PM2.5 ยังทำสุขภาพแย่ง โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย

เตือนฝุ่น "3 พื้นที่เสี่ยง กทม." PM2.5 ยังทำสุขภาพแย่ง โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย

15 ก.พ. 2568

เช็กค่าฝุ่น PM2.5 กรุงเทพมหานานครวันนี้ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เตือนฝุ่น "3 พื้นที่เสี่ยง กทม." PM2.5 ยังทำสุขภาพแย่ง โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย

อัปเดตสถานการฝุ่น กทม. "กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานค" ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลจาก "ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร"ทางเฟซบุ๊กว่า  

"รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07:00 น. "ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 41.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)"

 

เตือนฝุ่น \"3 พื้นที่เสี่ยง กทม.\" PM2.5 ยังทำสุขภาพแย่ง โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย

  • กรุงเทพเหนือ 41 - 45 มคก./ลบ.ม. | ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • กรุงเทพตะวันออก 36.5 - 58.3 มคก./ลบ.ม. | ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • กรุงเทพกลาง 33.8 - 47.9 มคก./ลบ.ม. | ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • กรุงเทพใต้ 36.2 - 52.4 มคก./ลบ.ม. | ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • กรุงธนเหนือ 37.1 - 48.6 มคก./ลบ.ม. | ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • กรุงธนใต้ 33.7 - 48 มคก./ลบ.ม. | ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง

 

เตือนฝุ่น \"3 พื้นที่เสี่ยง กทม.\" PM2.5 ยังทำสุขภาพแย่ง โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย  

12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

  • 1 เขตบึงกุ่ม 58.3 มคก./ลบ.ม.
  • 2 เขตหนองจอก 58 มคก./ลบ.ม.
  • 3 เขตบางนา 52.4 มคก./ลบ.ม.
  • 4 เขตลาดกระบัง 52.2 มคก./ลบ.ม.
  • 5 เขตมีนบุรี 50.2 มคก./ลบ.ม.
  • 6 เขตคลองสามวา 49.3 มคก./ลบ.ม.
  • 7 เขตบางกอกน้อย 48.6 มคก./ลบ.ม.
  • 8 เขตบางขุนเทียน 48 มคก./ลบ.ม.
  • 9 เขตวังทองหลาง 47.9 มคก./ลบ.ม.
  • 10 เขตสาทร 47.5 มคก./ลบ.ม.
  • 11 เขตหนองแขม 46.6 มคก./ลบ.ม.
  • 12 เขตบางพลัด 45.9 มคก./ลบ.ม.

 

  • ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ข้อแนะนำสุขภาพ : คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารจำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมากควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

     
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

 

เตือนฝุ่น \"3 พื้นที่เสี่ยง กทม.\" PM2.5 ยังทำสุขภาพแย่ง โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัย