ข่าว

เครือซีพี หนุนไม่เผาป่า จ.เชียงใหม่ ในโครงการ “ป่าปลอดเผา” ต้นแบบการจัดการใบไม้แห้ง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

เครือซีพี หนุนไม่เผาป่า จ.เชียงใหม่ ในโครงการ “ป่าปลอดเผา” ต้นแบบการจัดการใบไม้แห้ง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

06 ก.พ. 2568

เมื่อถึงฤดูหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่วนกลับมาอีกครั้ง ประเทศไทยยังคงเผชิญปัญหาคุณภาพอากาศแย่ลงอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในภาคเหนือที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่นสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่

โดยสาเหตุหลักๆ เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ อาทิ ขยายพื้นที่ทำเกษตร การเผาเพื่อเก็บของป่า การชิงเผา และเกิดจากธรรมชาติที่เป็นช่วงสภาพอากาศแห้ง ประกอบกับลมพัดแรง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องหาทางแก้ปัญหา และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์อยู่ทุกปี ตั้งแต่วางนโยบาย แผนการรับมือ และที่สำคัญคือความร่วมมือจากพลังประชาชนและชุมชนในพื้นที่ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมเพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ของคนในพื้นที่ ซึ่งนับวันจะส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้น

เครือซีพี หนุนไม่เผาป่า จ.เชียงใหม่ ในโครงการ “ป่าปลอดเผา” ต้นแบบการจัดการใบไม้แห้ง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

ด้านภาคเอกชนอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มีนโยบายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือ และล่าสุดได้ศึกษาปัจจัยที่สามารถลดปริมาณชีวมวลในป่าได้ ซึ่ง“ใบไม้แห้ง” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เรียกได้ว่าเป็น “เชื้อเพลิง” ที่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ของไฟป่า และทำให้ไฟลุกลามไปได้เร็ว ดับได้ยาก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านใช้วิธีการเผา เพื่อกำจัดใบไม้แห้งที่ทับถมกัน บดบังของป่าที่ต้องเก็บไปขายเป็นอาชีพและรายได้ของครัวเรือน จึงเกิดเป็นแนวคิดขับเคลื่อนโครงการ “ป่าปลอดเผา” (Zero Forest Burning) นำร่องที่ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นจุดความร้อน (Hotspot) สูง จากการสนับสนุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยวางโมเดลในรูปแบบสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยทำประชาคม และได้รับความร่วมมือจาก 6 ชุมชน ใน 2 ตำบล ได้แก่ ต.แสนไห และ ต.เมืองแหง ที่มีการดูแล “ป่าชุมชน” กว่า 7,660 ไร่ เข้าร่วมโครงการฯ 

เครือซีพี หนุนไม่เผาป่า จ.เชียงใหม่ ในโครงการ “ป่าปลอดเผา” ต้นแบบการจัดการใบไม้แห้ง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

ภาคการศึกษาที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ โดย ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เล่าว่า แหล่งที่มาขอหมอกควันไฟป่าและฝุ่นควัน แบ่งออกเป็นหลักๆ 3 ส่วน คือ 1. ภาคการเผาป่าชุมชนบ้านเรือน 2.ภาคเกษตรกรรม และ 3.ไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงตามธรรมชาติในป่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ทำการศึกษาวิธีกระบวนการทำปุ๋ยโดยไม่ต้องพลิกกลับกอง โดยใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร หรือใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในป่า มาผสมกับมูลสัตว์ เพื่อหาแนวทางในการจัดการโดยไม้ต้องเผามาเป็นทางเลือกให้แก่ชุมชนและเกษตรกร สำหรับโครงการ “ป่าปลอดเผา” สนับสนุนโดยเครือซีพี ในช่วงที่ผ่านมา มีการรับซื้อใบไม้แห้งจากชุมชนที่เก็บมาจากป่าชุมชนใน อ.เวียงแหง จำนวน 74,925 กิโลกรัม ก็นำมาแปรรูปเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่มีคุณภาพ โดยใช้องค์ความรู้ดังกล่าวฯ จนสามารถลดเชื้อเพลิงในป่าได้

นอกจากนี้ ยังจัดทำงานวิจัยเรื่อง “การลดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองจากเศษใบไม้ในป่าชุมชนพื้นที่ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่” เพื่อประเมินความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกของโครงการ โดยใช้วิธีการคำนวณตามวิธีที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. พบว่า สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ประมาณ 102.97 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เมื่อเทียบกับวิธีการฝังกลบ ซึ่งได้รับรางวัลบทความยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความเป็นเลิศสำหรับชุมชน ในงานประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนเพื่อชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 (TREC-17) ดร.แสนวสันต์ กล่าวฯ

 

เครือซีพี หนุนไม่เผาป่า จ.เชียงใหม่ ในโครงการ “ป่าปลอดเผา” ต้นแบบการจัดการใบไม้แห้ง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

 

ทั้งนี้ทางฝั่งชุมชนเอง ก็เริ่มตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วม โดยนายฐิติกร ใจดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านมหาธาตุ หมู่ 4 เล่าว่า ชุมชนเราพยายามผลักดันที่จะปลูกฝังให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของทรัพยากร ไม่เผาป่า โดยที่ผ่านมาชาวบ้านจึงช่วยกันลาดตระเวนเฝ้าระวังไฟป่า ทำแนวกันไฟ ทำฝายชะลอน้ำตามลำห้วย นำใบตองมาทำเป็นจานข้าว และใบไม้อีกส่วนหนึ่งนำมาทำหลังคาบ้าน แต่ก็ยังไม่ได้ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชน การทำโครงการ “ป่าปลอดเผา” ให้คนในชุมชนร่วมเก็บใบไม้แห้งในป่าชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่มีสัญชาติ ที่ไม่มีงาน ไม่มีรายได้ เข้ามามีส่วนร่วม ก็จะสร้างอาชีพและรายได้  เมื่อนำใบไม้ไปทำปุ๋ย ก็ยังเพิ่มรายได้ ช่วยลดต้นทุนทางการเกษตร โดยจะนำไปขายในสวนสมุนไพร ชาวบ้านก็จะได้ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ด้วย

 

เครือซีพี หนุนไม่เผาป่า จ.เชียงใหม่ ในโครงการ “ป่าปลอดเผา” ต้นแบบการจัดการใบไม้แห้ง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

 

“แต่ความท้าทายที่จะทำให้คนในชุมชนเห็นว่า ถ้าไม่เผาป่า ไม่มีไฟป่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อาจจะมีเห็ดนานาพันธุ์เกิดขึ้นใหม่ จากเดิมมีอยู่ไม่กี่ชนิด หรือมีทรัพยากรอื่นๆเกิดขึ้นภายในป่าชุมชน ใช้เป็นอาหารและใช้ประโยชน์อื่นๆได้ นอกจากนี้ “ป่าชุมชน” ถือว่ามีความสำคัญต่อชาวบ้าน ทั้งสร้างที่อยู่อาศัย เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นต้นน้ำที่ช่วยให้มีความชุ่มชื้นได้ดี ในระยะยาวคิดว่า โครงการนี้ จะทำให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกและหวงแหนทรัพยากร รักในป่าชุมชนของตนเองได้” นายฐิติกร ทิ้งท้าย

 

ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไข โครงการ "ป่าปลอดเผา" เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย โดยหวังว่าโมเดลนี้จะสามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกันได้เช่นกัน