ประชาสัมพันธ์

"สถ.-กรมอนามัย"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19

"สถ.-กรมอนามัย"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19

24 เม.ย. 2563

"อธิบดี สถ.-อธิบดีกรมอนามัย" ประชุมเว็บคอนเฟอเรนซ์ ขอความร่วมมือท้องถิ่นจังหวัด-นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด-นายก อปท. ผนึกกำลังดำเนินงานป้องกันโควิด-19

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานการประชุมหารือข้อราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประจำเดือนเมษายน 2563 โดยระบบประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Web Conference) โดยมีแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย นายทวี เสริมภักดีกุล นายขจร ศรีชวโนทัย รองอธิบดี สถ. นายธวัชชัย เลี้ยงประเสริฐ หัวหน้าผู้ตรวจ สถ. พร้อมด้วย ท้องถิ่นจังหวัดทุกจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง

อ่านข่าว :  สถ.แจ้งแนวทางการใช้งบประมาณ "กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่"

 

\"สถ.-กรมอนามัย\"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19

 

\"สถ.-กรมอนามัย\"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19

 นายประยูร รัตนเสนีย์

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ย้ำว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้ได้เห็นภาพของการร่วมมือ ร่วมใจ ความรัก ความเอื้ออาทรของทั้งภาคราชการ ภาคประชาชน ได้ที่ร่วมกันแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ให้ผ่านไป ที่ผ่านมาพี่น้อง อปท. ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ถือเป็นแนวหน้าและเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ที่สนับสนุนการทำงานแก้ไขวิกฤตของรัฐบาล ได้ร่วมกันสร้างทีมครู ก. ผนึกกำลังกับ อสม. จิตอาสา และพี่น้องประชาชนกว่า 3.7 แสนคน จัดทำหน้ากากอนามัยชนิดผ้าตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ส่งมอบสู่พี่น้องประชาชนในทุกหมู่บ้าน - ชุมชนแล้วมากกว่า 52 ล้านชิ้น

 

\"สถ.-กรมอนามัย\"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19

ทั้งยังร่วมกระบวนการคัดกรองตามด่านตรวจ/จุดสกัดของจังหวัด อำเภอ และภายในหมู่บ้าน - ชุมชน สนับสนุนการดำเนินการในมาตรการกักกันและควบคุมโรคอย่างใกล้ชิด ไปจนถึงดำเนินมาตรการเยียวยา และบรรเทาทุกข์ของพี่น้องประชาชนไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่ง อปท. สามารถดำเนินการตามระเบียบ มท. ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยที่กรณีนี้ถือเป็นเรื่องฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วน สามารถให้การช่วยเหลือได้ทันที และอปท.ไม่ต้องจัดทำเป็นแผนพัฒนาท้องถิ่น

อปท. อาจพิจารณาช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การงดหรือลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุง อบจ. จากผู้พักในโรงแรม การลดค่าเช่าและการยกเว้นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ของ อปท.

 

\"สถ.-กรมอนามัย\"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19

นอกจากนั้น ยังขอความร่วมมือไปยัง อปท. ทุกแห่ง ให้ความช่วยเหลือจ้างงานและส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน รวมถึงพิจารณาใช้เงินอุดหนุนเฉพาะกิจปี 2563 ที่เป็นรายจ่ายลงทุน เช่น การก่อสร้าง/ปรับปรุงแหล่งกักเก็บน้ำ ระบบประปาหมู่บ้าน ถนน อาคารเรียน/อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยว โดยขอความร่วมมือกับผู้รับจ้างให้จ้างแรงงานในพื้นที่สำหรับดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย

 

\"สถ.-กรมอนามัย\"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19 แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร

ด้านแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้ให้คำแนะนำและขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสถานประกอบการ สถานบริการ สถานที่สาธารณะในชุมชน การจัดการน้ำบริโภค ส้วมสาธารณะ และการจัดการมูลฝอยที่จะมีปริมาณมากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้และการดูแลประชาชนในพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 และสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน
 

โดยดำเนินการดังนี้ (1) ดำเนินการควบคุม กำกับ การดูแลรักษาความสะอาด ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคอย่างเคร่งครัด ภายในสถานประกอบการและกิจการ (2) ควบคุม กำกับ ดูแลสถานที่สาธารณะในชุมชน สถานที่แออัด อาทิ ศาสนาสถาน สถานีขนส่งโดยสาร ตลาดนัด เป็นต้น โดยผู้ประกอบการต้องจัดจุดล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และทำความสะอาดพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยง การสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร และส่งเสริมการใช้โปรแกรม Application THAI STOP COVID

(3) การจัดบริการด้านสุขาภิบาล ในตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ (ซุปเปอร์มาร์เก็ต/มินิฮาร์ท/ร้านขายของชำ) การบริการอาหาร Delivery และรถเร่จำหน่ายอาหาร ให้มีการดำเนินการตามคำแนะนำของกรมอนามัย (4) การจัดการมูลฝอยอย่างปลอดภัยสำหรับชุมชน ประชาชน และผู้ปฏิบัติงานเก็บขน โดยรณรงค์ถึงคำแนะนำในการจัดการมูลฝอยสำหรับ อปท. ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขน หรือกำจัดมูลฝอยของ อปท. การแยกทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว

(5) การจัดการมลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพก่อให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอดอักเสบ หากมีการติดเชื้อโรคโควิด-19 ร่วมด้วย จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น บทบาทของ อปท. ควรควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 จากกิจกรรม/กิจการในพื้นที่ (สถานประกอบการ การจัดการขยะ) อย่างเข้มงวด (6) สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสะอาด และสุขอนามัยส่วนบุคคลให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการส่งเสริมและการป้องกันการแพร่ระบาดโรคในกลุ่มเสี่ยง เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง

 

\"สถ.-กรมอนามัย\"ประชุมคอนเฟอเรนซ์ ผนึกกำลังป้องกันโควิด-19

ในช่วงสุดท้ายของการประชุม อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกล่าว “ขอขอบคุณอธิบดีกรมอนามัย และทีมงาน หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ อปท. สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และลดความรุนแรงของผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”