ประชาสัมพันธ์

ก.แรงงาน จูนสัญญาณหัวเว่ย เปิดหลักสูตรคนละครึ่งสร้างบุคลากร 5G

ก.แรงงาน จูนสัญญาณหัวเว่ย เปิดหลักสูตรคนละครึ่งสร้างบุคลากร 5G

05 ก.พ. 2564

ก.แรงงาน เชื่อมสัญญาณหัวเว่ย ผลิตบุคลากรติดตั้งระบบ 4G และ 5G เทรนคนละครึ่งทั้งออนไลน์และภาคสนาม

5 ก.พ.64 นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันทั้งการติดต่อสื่อสาร การทำงาน การเรียน และการพักผ่อน โดยระบบส่งสัญญาณโทรคมนาคมในระบบ 4G และ 5G เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตมีความสะดวกรวดเร็ว ลื่นไหล ไม่ติดขัด แต่อย่างไรก็ตามช่างฝีมือในการติดตั้งระบบส่งสัญญาณยังคงขาดแคลนอยู่มาก นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และศาสตราจารย์ นฤมล  ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรี      ช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน จึงมอบหมายให้กพร. ใช้แนวทางประชารัฐร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในการพัฒนากำลังคนผลิตช่างฝีมือรองรับการเข้าสู่ยุคสังคมดิจิทัล

 

           ก.แรงงาน จูนสัญญาณหัวเว่ย เปิดหลักสูตรคนละครึ่งสร้างบุคลากร 5G

               ก.แรงงาน จูนสัญญาณหัวเว่ย เปิดหลักสูตรคนละครึ่งสร้างบุคลากร 5G

 

นายธวัช กล่าวต่อไปว่า ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมหลักสูตร การติดตั้งระบบส่งสัญญาณโทรคมนาคมในระบบ 4G และ 5G ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติภายใต้หัวข้อการใช้เครื่องมือติดตั้งตามข้อกำหนดการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนอกสถานที่ การติดตั้งสถานีฐานไร้สายและการตรวจสอบหลังการติดตั้งตามข้อกำหนดความปลอดภัยทางไซเบอร์ และปฏิบัติการภาคสนาม ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง ซึ่งได้เริ่มจัดการฝึกอบรมไปแล้วจำนวน 1 รุ่น แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ จึงชะลอการฝึกอบรม และจะกลับมาเริ่มฝึกอีกครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564 กำหนดฝึกอบรมจำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 20 คน โดยสั่งการให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร ประสานความร่วมมือกับหัวเว่ยดำเนินการฝึกอบรมในกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่แรก และตั้งเป้าหมายขยาย     การฝึกอบรมทั่วประเทศในปี 2564 นี้

 

                  ก.แรงงาน จูนสัญญาณหัวเว่ย เปิดหลักสูตรคนละครึ่งสร้างบุคลากร 5G

“เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 กพร.และหัวเว่ย จึงพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมให้เหมาะสม โดยภาคทฤษฎีจะใช้การฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์แบบถ่ายทอดสด ส่วนภาคปฏิบัติจะเน้นการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม การฝึกอบรมทั้งแบบออนไลน์ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติภาคสนามแบบคนละครึ่งนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับทั้งความรู้และทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการปฏิบัติงานดูแลระบบส่งสัญญาณ 4G และ 5G ที่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรดีๆ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ต้องการพัฒนากำลังคนให้มีความพร้อมสู่สังคมดิจิทัลที่ต้องการการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว โดยคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีอายุตั้งแต่ 18-54 ปี มีทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน ผู้สนใจสามารถสอบรายละเอียดเพิ่มได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร เบอร์โทรติดต่อ 0 2390 0265 หรือ www.facebook.com/dsdbangkok” อธิบดีกพร. กล่าว